“ภาพ กราฟฟิก” องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกลยุทธ์การตลาด เพราะไม่ว่าจะแคมเปญโฆษณาใด ๆ ล้วนใช้ภาพกราฟฟิกเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่าเรื่องทั้งสิ้น การใช้งานภาพกราฟฟิกเป็นทักษะที่มีความสำคัญในยุคนี้อย่างสูง ที่ทุกองค์กรขาดไม่ได้
ครั้งนี้เราจะพาทุกท่านที่ไม่เคยสนใจงานกราฟฟิกมาก่อน แล้วอยากเริ่มต้นเป็นกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ มารู้จักกับเคล็ดลับสำหรับผู้เริ่มต้นหรือผู้มีประสบการณ์น้อย ให้สามารถเริ่มต้นทำงานกราฟฟิกได้อย่างมั่นใจและต่อยอดงานออกไปได้หลายรูปแบบ
มาเริ่มกันเลย
ภาพกราฟิก คือ
ภาพกราฟิก คือ ภาพที่ถูกสร้างหรือดีไซน์ขึ้นด้วยการใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมออกแบบกราฟิก หรือซอฟแวร์กราฟิกต่าง ๆ ภาพกราฟิกเหล่านี้สามารถเป็นภาพที่สร้างจากการวาด หรือภาพที่คำนวณจากพิกเซล (Pixel-based) หรือเวกเตอร์ (Vector-based) ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคต่าง ๆ ของนักออกแบบ ทำให้เราเห็นภาพกราฟิกถูกนำไปใช้ในหลากหลายวงการ เช่น การออกแบบเว็บไซต์, โฆษณา, โลโก้ หรือแม้แต่การสร้างภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ทั้งนี้ ภาพกราฟิก ไม่ได้จำกัดแค่แค่ในแง่ของภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ แต่ยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารข้อมูล การออกแบบ และการถ่ายทอดความคิดผ่านสื่อภาพได้อีกด้วย
ประเภทของภาพกราฟิก
ประเภทของภาพกราฟิก สามารถแบ่งออกตามลักษณะและเทคนิคที่ใช้ในการสร้างภาพ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
- ภาพกราฟิกบิตแมป (Bitmap หรือ Raster Image)
เป็นภาพกราฟิกที่ใช้พิกเซล (Pixel) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งแต่ละพิกเซลจะมีสีและความละเอียดเฉพาะตัว ภาพกราฟิกประเภทนี้มีข้อดี คือ การแสดงรายละเอียดและความเป็นธรรมชาติ ส่วนข้อเสีย คือ คุณภาพของภาพกราฟิกจะต่ำลงหากมีการขยายตัวที่มากเกินไป ยกตัวอย่างภาพกราฟิกประเภทนี้ เช่น ภาพถ่าย, ภาพจากกล้องดิจิทัล, ภาพในไฟล์ .jpg, .png, .gif เป็นต้น
- ภาพกราฟิกเวกเตอร์ (Vector Image)
ภาพกราฟิก แบบเวกเตอร์จะถูกสร้างขึ้นจากรูปทรงทางคณิตศาสตร์และเส้นตรง ข้อดีของภาพกราฟิกประเภทนี้คือเมื่อขยายหรือย่อขนาดของภาพจะไม่สูญเสียคุณภาพ เนื่องจากไม่ได้พึ่งพาพิกเซล อย่างไรก็ตามภาพกราฟิกประเภทนี้จึงไม่เหมาะสำหรับการแสดงภาพที่มีรายละเอียดซับซ้อน เช่น ภาพถ่าย ยกตัวอย่างภาพกราฟิกประเภทนี้ เช่น โลโก้, ไอคอน, การ์ตูน, ไฟล์ .ai, .svg, .eps เป็นต้น
ความสำคัญของภาพกราฟิก
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลและการสื่อสารผ่านภาพต่าง ๆ นั้นมีบทบาทที่สำคัญต่อการเชื่อมต่อของผู้คน ทำให้ภาพกราฟิกมีความสำคัญในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารข้อมูล, การดึงดูดความสนใจ, การสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์, การสร้างความน่าเชื่อถือ และอื่น ๆ ที่ภาพกราฟิกจะช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ชมในหลากหลายสื่อและการตลาด
องค์ประกอบสำคัญของภาพกราฟิก
ภาพกราฟิกมีองค์ประกอบสำคัญหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้ภาพที่สร้างขึ้นมีความสวยงาม มีประสิทธิภาพ และสามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการเข้าใจและใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้การออกแบบภาพกราฟิกได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น องค์ประกอบสำคัญของภาพกราฟิก มีดังนี้
- เส้น (Line)
- รูปทรง (Shape)
- สี (Color)
- พื้นที่ (Space)
- ขนาด (Size)
- พื้นผิว (Texture)
- การจัดเรียง (Alignment)
- ลำดับ (Hierarchy)
- ความสมดุล (Balance)
- การเคลื่อนไหว (Movement)
- คอนทราสต์ (Contrast)
- ความสอดคล้อง (Consistency)
คำแนะนำสำหรับการเริ่มต้นใช้ภาพกราฟิก
1.แรงจูงใจต้องมาก่อน
ทำไมเราต้องพูดถึงเรื่องนี้ก่อนเรื่องโปรแกรม? เพราะว่างานภาพกราฟฟิกคืองานศิลปะอย่างหนึ่ง และงานศิลปะส่วนใหญ่บนโลกใบนี้เกิดจากแรงผลักดันจากบางสิ่งทั้งสิ้น ไม่ว่าเหตุผลนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม เช่น
- อยากออกแบบโลโก้เอง
- อยากระบายอารมณ์ใส่งานศิลปะ
- อยากเรียนรู้ทักษะใหม่
- อยากรู้เรื่องโปรแกรมต่าง ๆ ให้ลึกขึ้น
- อยากเปลี่ยนอาชีพ
- อยากหาเงินเพิ่ม

เหตุผลสามารถมีได้ไม่สิ้นสุด แต่วัตถุประสงค์มักไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ “แรงจูงใจของคุณต้องแรงมากพอที่จะทำให้คุณโฟกัสกับการเรียนรู้ได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย”
2.ชอบสังเกตทุกสิ่งที่เป็นวิชวล (Visual)
ผู้ที่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ดีกว่าคนอื่น คือคนที่ชอบสังเกตและนำมาปรับใช้ในงานจริง ยิ่งคุณอยากเป็นกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ยิ่งต้องสังเกตได้ดีกว่าคนอื่น เริ่มต้นจากการศึกษาสิ่งที่คุณสนใจมากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก เช่น
- การสร้างรูปทรงพื้นฐาน
- การจัดวางเลย์เอาท์
- การใช้สี
- การจัดองค์ประกอบ
- การเลือกใช้ภาพ
- การเลือกใช้ฟอนต์
ถ้าให้พูดรวม ๆ ก็คือทุกสิ่งที่จะช่วยให้งานกราฟฟิกสวยขึ้นและมีความหมายขึ้นกว่าเดิม คุณควรศึกษาไว้ทั้งหมด เพื่อในอนาคตคุณจะสามารถนำสิ่งเหล่านี้ออกมาใช้งานได้ตลอดเวลา



3.เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับตัวเอง
ไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาแล้วจะเหมาะกับทุกโปรแกรม คุณสามารถทดลองแล้วใช้โปรแกรมที่คุณรู้สึกว่าเข้ามือที่สุด ไม่จำเป็นต้องตามคนอื่นก็ได้ โดยโปรแกรมที่เห็นอยู่ทั่วไปก็คือ
- Photoshop
- Illustration
- Procreate
- Canvas
- Figma
ทั้งนี้เป็นเป็นแค่ตัวอย่างที่เราหยิบยกมาเท่านั้น เพราะในอุตสาหกรรมยังมีอีกหลากหลายโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานภาพกราฟิกที่แตกต่างกัน ทดลองให้หมดแล้วคุณจะค้นพบโปรแกรมที่คุณถนัดที่สุดเอง

4.ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
“อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว” สุภาษิตยอดฮิตตลอดการที่ใช้ได้กับทุกยุคสมัย อย่าอายที่จะขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะข้อผิดพลาดของตัวเองคุณจะไม่สามารถรู้ได้ ต้องให้คนอื่นที่ผ่านประสบการณ์เดียวกันมาแนะนำคุณ เพื่อที่ในอนาคตคุณจะได้ไม่พลาดจุดเดิม ๆ อีก

5.หาแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพ
งานภาพกราฟฟิกใช้เวลาในการทำค่อนข้างมาก มือใหม่ที่พึ่งเริ่มงานสายนี้อาจทำไม่ทันในระยะเวลาที่จำกัด ทำให้หลายบริษัทต้องหาเครื่องมือมาทุ่นแรงกราฟฟิกให้ทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ยังมีประสิทธิภาพเท่าเดิมนั่นก็คือภาพสต็อก โดยเฉพา Shutterstock มี ภาพ กราฟฟิก และอื่น ๆ อีกมากมายรวมถึง 760 ล้านชิ้นให้คุณเลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิกมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นก็สามารถสร้างงานคุณภาพสูงได้

แถมยังมีระบบ Generative AI ที่ไม่ว่าอะไรก็สามารถสร้างให้เป็นจริงได้ สร้างภาพจากไอเดียด้วยความเร็วเท่าจินตนาการได้ทันที แถมใช้งานเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย
หวังว่าทุกคำแนะนำและเคล็ดลับที่เรากล่าวไปจะช่วยให้ทุกคน สามารถเริ่มงานสายกราฟฟิกได้อย่างแข็งแรงและสร้างภาพกราฟฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าสนใจใช้งานแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของ Shutterstock สามารถติดต่อได้ที่เรา Number 24 x Shutterstock
สรุป
การเริ่มต้นเป็นกราฟิกดีไซน์เนอร์ โดยเน้นไปที่การเข้าใจภาพกราฟิกและองค์ประกอบสำคัญ เช่น เส้น, สี, ขนาด และความสมดุล พร้อมแนะนำให้มีแรงจูงใจที่แข็งแรงในการเรียนรู้ สังเกตสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิชวล เลือกโปรแกรมที่เหมาะสม ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และหาแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพ เช่น Shutterstock เพื่อช่วยในการสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24