ประเภทของไฟล์ภาพในโลกนี้มีมากมาย แล้วเราจะรู้ความต่างระหว่าง PNG vs PDF vs JPG (และอื่น ๆ )ได้ยังไง วันนี้เราจะมาช่วยคลายข้อสงสัยให้คุณเอง
รูปภาพมีหลากหลายขนาดและรูปทรง และทุกประเภทไฟล์ภาพล้วนมีจุดเด่นและจุดด้อย ไม่มีประเภทไฟล์ใดที่ถูกออกแบบมาให้ใช้เหมือนกัน และสิ่งที่หลาย ๆ คนชอบสับสนเหมือนกันก็คือไฟล์ประเภท JPG vs PNG
ข้อมูลต่อไปนี้เราจะมาพูดคุยและเปรียบเทียบว่า PNG vs JPG คืออะไร และนอกจากนั้นยังมีไฟล์ประเภท PDF และ TIFF ที่เป็นประเภทไฟล์ภาพที่ไม่เหมือนกับที่เราเคยรู้จัก แต่ก็สามารถนำไปใช้ได้เหมือนกันในบางกรณี
นอกจากนั้นเราจะมาสอนคุณแปลงไฟล์ภาพไปเป็นไฟล์อีกประเภทด้วย
ยิ่งถ้าคุณทำงานใน Shutterstock Create คุณสามารถเลือกประเภทไฟล์ของงานได้ทันที
วิธีแปลงไฟล์ภาพออนไลน์
ในที่สุดก็มาถึงยุคที่เราสามารถแปลงไฟล์ภาพฟรี ๆ ได้เกือบทุกที่แล้ว ยิ่งถ้าคุณทำงานบน Create คุณแทบไม่ต้องเป็นกังวลเลย
เพราะไฟล์ภาพส่วนใหญ่จะใช้กันอยู่แค่ JPG, PNG, PDF ซึ่งมีอยู่บน Create ทั้งหมด แต่อาจจะต้องใช้โปรแกรมแปลงไฟล์เพิ่มในกรณีที่คุณทำงานอยู่กับไฟล์ TIFF (หรืออื่น ๆ)
สิ่งที่คุณต้องทำก็เพียงแค่กดปุ่มดาวน์โหลด จากนั้นเลือกประเภทไฟล์ภาพที่คุณต้องการ จากนั้นกดปุ่มก็เสร็จแล้ว
นามสกุลไฟล์รูปภาพ คือ
นามสกุลไฟล์รูปภาพ (Image file extension) คือ ตัวอักษรที่ต่อท้ายชื่อไฟล์รูปภาพ เพื่อบอกชนิดหรือรูปแบบของไฟล์นั้น ๆ เช่น .jpg, .png, .gif เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบปฏิบัติการหรือแอปพลิเคชันรู้ว่าไฟล์นั้นควรเปิดด้วยโปรแกรมใด และมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลภาพแบบใด

คุณไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสร้างไฟล์ PDF (หรือถ้าอยากก็ได้) แต่ไม่ต้องกังวลมากมายเพราะเรามีให้ใช้ใน Create หลังจากที่คุณเลือกนามสกุลไฟล์รูปภาพเสร็จแล้ว ระบบจะทำการแปลงไฟล์ภาพโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะมีให้เลือกขนาดของภาพในเมนู เราสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาในคุณภาพสูงสุดได้ทันที แล้วแต่ประเภทงานของคุณ
แม้ว่าไฟล์ต้นฉบับของคุณจะเป็น PNG แต่คุณก็ยังดาวน์โหลดออกมาเป็น JPEG ได้ เจ๋งดีใช่ไหม่?
เพียงแค่คลิก Images ในแถบเครื่องมือ จากนั้นอัพโหลดไฟล์ PNG เข้าไป แล้วก็กดดาวน์โหลดโดยเลือก JPEG
หลังจากคุณได้ไฟล์ JPEG ไปแล้วคุณก็สามารถปรับเปลี่ยนกลับมาเป็น PNG ได้ทันทีด้วย (ทำใน Mac ยิ่งง่ายกว่าเพียงแค่เปลี่ยนนามสกุลหลังภาพเป็น .PNG)
ทุก ๆ ประเภทไฟล์ภาพมีหน้าที่ของตัวเอง เราจะมาเรียนรู้ข้อดีข้อเสียของแต่ละไฟล์กัน

ประเภทนามสกุลไฟล์รูปภาพ
นามสกุลไฟล์รูปภาพ JPG หรือ JPEG
นามสกุลไฟล์รูปภาพ JPG ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Joint Photographics Export Group นี่เป็นที่มาของชื่อย่อ ซึ่งประเภทไฟล์ JPG หรือ JPEG นั้นเหมือนกัน
คอมพิวเตอร์ในยุคเก่าจำกัดตัวย่อของชื่อไฟล์ได้แค่ 3 ตัวเท่านั้น (JPG) แต่ JPEG คือชื่อไฟล์ในยุคใหม่ที่ถูกเรียกใช้กัน
อ่านว่า “Jay-peg” JPGs ถูกออกแบบมาเพื่อย่อขนาดไฟล์ภาพถ่ายให้เล็กลง เหมาะสำหรับการแชร์และใช้งานบนเว็บไซต์มากขึ้น ทำให้ภาพส่วนใหญ่บนโลกออนไลน์ทุกวันนี้มีแต่ไฟล์ประเภท JPG ดังนั้นการแปลงไฟล์จาก JPG เป็น PDF ทำได้ง่ายมาก
อะไรคือนามสกุลไฟล์รูปภาพ JPG-Large?
ประเภทไฟล์ล่าสุดที่ออกมาก็คือ JPG-Large เป็นเวอร์ชั่นที่ทำให้ไฟล์ภาพใหญ่กว่า JPG แต่ไม่ได้ถูกใช้ทั่วไปมากนัก ซึ่งบางครั้งเราจะเห็นการใช้งานในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook หรือ Twitter
บางแพลตฟอร์มอาจเปลี่ยนประเภทไฟล์ระหว่างอัปโหลดอัตโนมัติเป็น JPG-Large เพื่อให้ภาพแสดงคุณภาพสูงสุดบนเว็บไซต์
ถ้าคุณไปเจอไฟล์ JPG-Large แล้วไม่สามารถเปิดได้ ให้แก้ไขโดยเปลี่ยนชื่อประเภทไฟล์ข้างหลังชื่อเป็น .jpg หรือ .jpeg แทน .jpg-large
ข้อดีของ JPG/JPEGs
ขนาดไฟล์เล็ก
นี่คือข้อดีอย่างมากของไฟล์ JPG หากคุณกำลังออกแบบเว็บไซต์ ไฟล์ JPG จะทำให้คุณโหลดหน้าเว็บได้เร็วขึ้น เนื่องจากขนาดไฟล์ที่พวกเขาต้องดาวน์โหลดเล็กลง
ตัวอย่าง ก่อนที่คุณจะแปลงไฟล์รูปภาพเป็น JPEG ขนาดไฟล์จะใหญ่เป็นสิบเท่าประมาณ 20 MB แต่เมื่อถูกแปลงเป็น JPEG แล้วขนาดไฟล์จะเหลือแค่ 2MB
คุณสามารถปรับขนาดภาพได้ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้ free image resizing tools
ถูกใช้อย่างกว้างขวางในพื้นที่ออนไลน์
ไฟล์ JPG เป็นไฟล์สามัญที่ใช้ได้ทั่วไป จึงสามารถแชร์หรือดูในออนไลน์ได้ง่าย ช่วยลดความจำเป็นในการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ออกไป
ข้อเสีย JPG/JPEGs
การบีบอัดอาจทำให้สูญเสียคุณภาพ
ข้อดีคือไฟล์เล็กแต่นั่นก็อาจเป็นข้อเสียเช่นกัน เพราะการบีบอัดไฟล์ภาพทำให้พิกเซลถูกหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง ทำให้ไฟล์เล็กลงแต่ก็สูญเสียข้อมูลในภาพไปด้วยเช่นกัน คุณภาพไฟล์ภาพเลยต่ำลง และไม่มีวันที่คุณจะกู้ขนาดไฟล์ดั้งเดิมกลับมาได้
ไม่เหมาะกับงานสื่อสิ่งพิมพ์
เนื่องจากไฟล์ JPEG เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง จึงเป็นไฟล์ที่เหมาะกับการดูมากกว่านำไปใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์ ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ภาพที่ออกมาจะแตกอย่างแน่นอน
แทนที่จะใช้ไฟล์ JPEG เราแนะนำให้คุณแปลงไฟล์มาเป็น PDF ก่อนจะนำไปพิมพ์ดีกว่า

นามสกุลไฟล์รูปภาพ PNG
นามสกุลไฟล์รูปภาพ PNG ย่อมาจาก “Portable Network Graphics” เป็นประเภทไฟล์ภาพที่เหมาะกับงานกราฟิก เช่น กราฟ โลโก้ และข้อความ คุณสามารถบันทึกไฟล์ภาพถ่ายเป็น PNG ได้ด้วย
PNGs ส่วนใหญ่มีคุณภาพไฟล์ดีกว่า JPG เพราะว่าไฟล์ PNG ไม่ได้ถูกบีบอัดแต่แรก ยังคงคุณภาพของไฟล์ สี และข้อมูลทั้งหมดไว้ได้อย่างดี
ไฟล์นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายแพลตฟอร์ม ทุกครั้งที่คุณต้องหาไฟล์ภาพ Icon ในเว็บบราวเซอร์ เกือบทุกภาพจะเป็นไฟล์ .png เสมอ
ข้อดี PNGs
คุณภาพไม่มีทางลดลง
การบีบอัดไฟล์ PNG ไม่ส่งผลให้คุณภาพลดเลย ดังนั้นการบันทึกซ้ำ แก้ไข หรือเปิดรูปภาพในโปรแกรมใด ๆ ไม่มีทางลดทอนคุณภาพไฟล์ภาพลงได้
ซึ่งดีกว่าไฟล์ JPG อย่างเห็นได้ชัด ที่จะสูญเสียคุณภาพไปทุกครั้งที่มีการบีบอัด
พื้นหลังโปร่งใส
อีกหนึ่งข้อดีที่สุดของ PNG ก็คือสามารถบันทึกไฟล์ภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้ เหมาะกับไฟล์ ไอค่อน โลโก้ และกราฟิกขนาดเล็ก ที่ต้องการพื้นหลังโปร่งใส
พื้นหลังตารางหมากรุกสีเทาที่คุณเคยเห็นนั่นแหละ คือสิ่งที่ไฟล์ PNG เก็บไว้ และจะกลายเป็นพื้นโปร่งใสในโปรแกรมที่รองรับ
ข้อเสีย PNGs
ไฟล์ขนาดใหญ่
สาเหตุที่ไฟล์ JPG ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายก็เพราะใช้งานง่ายบนเว็บไซต์ และมีขนาดไฟล์ที่เล็ก แต่ไฟล์ PNG แม้จะมีคุณภาพดีกว่าแต่ขนาดไฟล์ใหญ่มาก
ไม่เหมาะกับสื่อสิ่งพิมพ์
แม้ไฟล์ PNGs จะไม่เสียคุณภาพจากการบีบอัด แต่ไฟล์ประเภทนี้จำกัดเม็ดสีในภาพได้น้อย ทำให้งานสื่อสิ่งพิมพ์ไม่เหมาะเท่าไหร่ ถ้าจะทำเราแนะนำไฟล์ JPG หรือ PDF มากกว่าเสียอีก

นามสกุลไฟล์รูปภาพ PDF
นามสกุลไฟล์รูปภาพ PDF โดยทั่วไปไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงเวลาพูดถึงไฟล์ภาพ เพราะคุณต้องแปลงไฟล์ PDF เป็น PNG หรือ JPG ก่อนนำไปใช้งานเสมอ
ชื่อไฟล์ย่อมาจาก Portable Document Format (PDF) เป็นไฟล์มาตรฐานในอุตสาหกรรมงานออกแบบ ใช้ในการแชร์ส่งงานต่าง ๆ ทั้งงานกราฟิกและรูปภาพ
ซึ่งคุณจะไม่ใช้ไฟล์ประเภทนี้ในการอัปโหลดในโลกออนไลน์อย่างแน่นอน เพราะไฟล์นี้มีไว้สำหรับจัดเก็บภาพและข้อความต่าง ๆ
ข้อดี PDFs
คุณภาพสูงและน่าเชื่อถือ
ไฟล์ PDF คือไฟล์ที่เก็บงานต้นฉบับไว้อย่างครบถ้วนเหมือนสำเนา เหมาะกับการแชร์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องกังวลว่าไฟล์จะเสียหายหรือไม่
คุณภาพที่ดีแบบนี้จึงเหมาะกับสื่อสิ่งพิมพิมพ์ เช่น โบรชัวร์ โปสเตอร์ อีกทั้งยังสามารถปรับขนาดไฟล์ให้เหมาะสมตามแต่ละขนาดพื้นที่ได้ด้วย โดยที่ไม่สูญเสียคุณภาพ
ข้อเสีย PDFs
ไม่เหมาะกับงานโลโก้และไอค่อน
แม้ว่าไฟล์ PDFs จะมีข้อดีหลายอย่าง แต่ไฟล์ประเภทนี้เหมาะกับงานเอกสารและการส่งต่อไฟล์ภาพเท่านั้น ไม่เหมาะกับงานโลโก้หรือไอค่อน
ซึ่งไฟล์โลโก้หรือไอค่อน ควรใช้ประเภทไฟล์ .png หรือ .jpg เสียมากกว่า
แก้ไขยาก
เนื่องจากไฟล์ PDF เป็นไฟล์ที่ไม่มีมีติอะไร ทำให้การแก้ไขเป็นเรื่องยาก นี่จึงเป็นไฟล์ที่เหมาะกับการส่งออกไปรีบ feedback หรือเพื่อใช้ตีพิมพ์ออกมาเป็นชิ้นงานเลยเท่านั้น

นามสกุลไฟล์รูปภาพ TIFF
นามสกุลไฟล์รูปภาพ TIFF เหมือนกับ PNGs นั่นก็คือการไม่สูญเสียคุณภาพ ย่อมาจาก “Tagged Image File Format,”
เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพสูงสุดและนิยมใช้ในวงการถ่ายภาพ
นอกจากไฟล์ภาพจะมีคุณภาพสูงแล้ว ยังมีสเปกตรัมที่ใหญ่กว่าไฟล์อื่น ๆ ดังนั้นการนำไปใช้งานจึงต้องเลือกเฉพาะบางงานเท่านั้น
แม้ว่าจะไม่ใช่ประเภทไฟล์ยอดนิยม ส่วนใหญ่ช่างภาพระดับมืออาชีพจะใช้กัน ในงานประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สแกนความละเอียดสูง และอื่น ๆ ที่ต้องการความละเอียดที่สูงเป็นพิเศษ
ข้อดี TIFFs
เหมาะกับงานสแกนและสื่อสิ่งพิมพ์กราฟิกคุณภาพสูง
หากคุณต้องการภาพที่คมชัด คุณภาพเนียนกริบ การใช้ไฟล์ TIFF ตอบโจทย์ที่สุด เพราะนี่คือไฟล์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเก็บรักษาคุณภาพของรูปภาพ อีกทั้งยังสามารถใส่ metadata หรือทำพื้นหลังโปร่งใสก็ได้ แต่ไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายเหมือน PNG, JPG และ PDF
ข้อเสีย TIFFs
ไม่เหมาะกับงานเว็บไซต์
เนื่องจากไฟล์ TIFF มีคุณภาพสูงมาก ทำให้มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินจำเป็นในงานเว็บไซต์ การใช้ภาพไฟล์ TIFF ส่วนใหญ่จะใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดที่สูงมาก เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์หรืองานสแกนความละเอียดสูงเป็นต้น
PNG vs PDF vs JPG vs TIFF ไฟล์ประเภทใดดีที่สุด?
นี่คือสิ่งที่ยังตัดสินไม่ได้ว่าไฟล์ประเภทใดดีที่สุดระหว่าง PNG vs JPG หรือไฟล์ใดที่ Export ออกจาก PDF แล้วจะดีที่สุด
มาดูกันดีกว่าว่านามสกุลไฟล์รูปภาพที่เหมาะสมกับคุณคืออะไร?
- นามสกุลไฟล์รูปภาพ JPG เหมาะสำหรับงานภาพออนไลน์ เนื่องจากขนาดไฟล์เล็กและไม่เสียคุณภาพหลังบีบอัดมากมาย อีกทั้งยังเหมาะกับการส่งภาพเป็นตัวอย่างให้ลูกค้า หรือจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์คุณภาพสูงก็ย่อมทำได้
- นามสกุลไฟล์รูปภาพ PNG เหมาะกับงานกราฟิกบนเว็บไซต์ โดยเฉพาะโลโก้ ภาพประกอบ และงานกราฟต่าง ๆ สามารถย่อขยายขนาดไฟล์ได้โดยที่ไม่เสียรายละเอียด แต่มีข้อจำกัดด้านสีที่ใช้ในงาน มีพื้นหลังที่โปร่งใส สามารถนำมาวางได้เลยโดยที่ไม่ต้องไดคัทภาพ นี่จึงเป็นตัวเลือกภาพอันดับแรก ๆ ของสายกราฟิก
- นามสกุลไฟล์รูปภาพ PDF เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะการออกแบบกราฟิก โปสเตอร์ และใบปลิว อีกทั้งยังสามารถจัดเก็บรูปภาพในโลกออนไลน์ได้ในที่เดียว เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานต่อได้อย่างง่ายดาย
- นามสกุลไฟล์รูปภาพ TIFF เหมาะกับงานพิมพ์คุณภาพสูง เช่น รูปภาพ นิตยสาร หนังสือ และอื่น ๆ ที่มีหลากหลายหน้า เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลคุณภาพสูงได้อย่างไม่ถูกลดทอน
นามสกุลไฟล์รูปภาพ GIF
นามสกุลไฟล์รูปภาพ GIF (อ่านว่า “จิฟ” หรือ “กิฟ” ก็ได้) ย่อมาจาก Graphics Interchange Format
เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในการแสดงภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหวแบบสั้น ๆ ทำอีโมจิหรือสติกเกอร์บนแชท เน้นใช้งานบนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก และยังสามารถรวมรูปภาพเพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวได้อีกด้วย เหมาะสำหรับงานกราฟิกและออกแบบโลโก้ที่มีสีน้อย และมีมเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดีย
ข้อดี GIF
- รองรับภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ เช่น meme, sticker หรือภาพแอนิเมชันสั้น ๆ ได้ง่ายบนโซเชียล
- ขนาดไฟล์เล็ก
มีการบีบอัดข้อมูลแบบไม่สูญเสียคุณภาพ (lossless) ทำให้ประหยัดพื้นที่และโหลดเร็ว เหมาะกับการใช้งานบนเว็บไซต์หรือโซเชียล
ข้อเสีย GIF
- จำกัดจำนวนสี
ใช้ได้แค่ 256 สี ทำให้ไม่เหมาะกับภาพถ่ายหรือภาพที่มีสีสันซับซ้อน
- คุณภาพต่ำกว่ารูปแบบอื่น (เช่น PNG, JPEG)
เพราะใช้สีได้น้อย ภาพอาจดูหยาบหรือแตกเมื่อเทียบกับไฟล์อื่น
นามสกุลไฟล์รูปภาพ BMP
นามสกุลไฟล์รูปภาพ BMP ย่อมาจาก Bitmap ไฟล์ BMP เป็นรูปแบบภาพแบบ ไม่บีบอัด (uncompressed) หรือบีบอัดน้อยมาก ทำให้ภาพมีคุณภาพสูงสุดตามต้นฉบับ แต่ขนาดไฟล์จะ “ใหญ่มาก” เมื่อเทียบกับไฟล์ชนิดอื่น ๆ จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำของพิกเซล เช่น งานตัดต่อภาพหรือออกแบบภาพที่ต้องไม่สูญเสียรายละเอียด ยังคงต้นฉบับภาพที่ต้องเก็บรายละเอียดได้ครบ
ข้อดี BMP
- คุณภาพสูง
เพราะไม่มีการบีบอัด ทำให้ภาพคมชัด ไม่มีข้อมูลสูญหาย
- อ่านง่ายสำหรับโปรแกรม
มีโครงสร้างไฟล์ที่ตรงไปตรงมา เหมาะสำหรับการประมวลผลภาพในโปรแกรมพื้นฐาน
ข้อเสีย BMP
- ไม่รองรับการบีบอัด (หรือบีบอัดได้น้อย)
ทำให้ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลเยอะ
- เข้ากันได้น้อยกับแพลตฟอร์มเว็บหรือมือถือ
เว็บเบราว์เซอร์และบางแอปไม่รองรับ BMP เท่ากับ JPG/PNG นั่นเอง
นามสกุลไฟล์รูปภาพ EPS
นามสกุลไฟล์รูปภาพ EPS ย่อมาจาก Encapsulated PostScript ซึ่ง EPS เป็นไฟล์ภาพแบบเวกเตอร์ที่นิยมใช้ในงานออกแบบกราฟิกมืออาชีพ โดยเฉพาะในงานสิ่งพิมพ์ เช่น โลโก้ แผ่นพับ ป้ายโฆษณา เพราะสามารถ ขยายหรือย่อภาพโดยไม่แตก (ไม่มีพิกเซลให้แตกเหมือนไฟล์ภาพทั่วไป) จึงนิยมใช้ส่งไฟล์โลโก้ไปให้โรงพิมพ์
ข้อดี EPS
- เป็นไฟล์เวกเตอร์ (Vector)
ขยายภาพได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพ เหมาะกับงานพิมพ์ขนาดใหญ่
- ใส่ภาพและข้อความพร้อมกันได้
มีโครงสร้างคล้ายไฟล์เอกสารภาพกราฟิก
ข้อเสีย EPS
- เปิดไม่ได้กับโปรแกรมทั่วไป
การแก้ไขทำได้ยากหากไม่มีโปรแกรมที่รองรับ จึงต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น Adobe Illustrator, Photoshop, หรือโปรแกรมดู EPS
- ไม่เหมาะกับภาพถ่าย
ใช้กับกราฟิก เวกเตอร์ โลโก้ มากกว่าภาพถ่าย
นามสกุลไฟล์รูปภาพ SVG
นามสกุลไฟล์รูปภาพ SVG ย่อมาจาก Scalable Vector Graphics เป็นไฟล์ภาพชนิด เวกเตอร์ (Vector) ที่ใช้โค้ดภาษา XML ในการอธิบายรูปร่าง สี ขนาด และตำแหน่งของกราฟิก ข้อดีหลักของ SVG คือสามารถขยายหรือย่อเท่าไรก็ไม่แตก! จึงเหมาะมากกับ ไอคอน โลโก้ และภาพกราฟิกบนเว็บไซต์
ข้อดี SVG
- เหมาะกับเว็บไซต์
โหลดไว, ขนาดไฟล์เล็ก, รองรับบนเบราว์เซอร์ทุกตัว
- สามารถแก้ไขด้วยโปรแกรมหรือโค้ด
แก้ไขได้ทั้งในโปรแกรมออกแบบ (เช่น Illustrator, Inkscape) หรือจะใช้ text editor ก็ได้
ข้อเสีย SVG
- ไม่เหมาะกับภาพถ่ายจริง
เช่น รูปคน วิวธรรมชาติ เพราะรายละเอียดเยอะเกินไปสำหรับเวกเตอร์
- ต้องรู้การเขียนหรือใช้งาน XML ถ้าจะแก้ไขด้วยโค้ด
ถ้าไม่ใช้โปรแกรมช่วย จะดูยากนิดนึง
นามสกุลไฟล์รูปภาพ RAW
นามสกุลไฟล์รูปภาพ RAW คือ ไฟล์ภาพที่ได้จากกล้องถ่ายรูปดิจิทัลระดับมืออาชีพ RAW เป็นไฟล์ภาพที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลเหมือนภาพ JPG หรือ PNG คล้าย “ฟิล์มดิบ” ที่เก็บข้อมูลแสง สี และรายละเอียดจากเซนเซอร์กล้องโดยตรง ซึ่งมีหลายนามสกุลขึ้นอยู่กับยี่ห้อกล้อง เช่น
- .CR2 / .CR3 – Canon
- .NEF – Nikon
- .ARW – Sony
ข้อดี RAW
- คุณภาพสูงสุด
เก็บรายละเอียดได้ครบ ทั้งแสง เงา สี และช่วงไดนามิก
- ปรับแต่งภายหลังได้ยืดหยุ่นมาก
เช่น ปรับแสง ขาว-ดำ คอนทราสต์ โดยไม่ทำให้ภาพเสื่อม
ข้อเสีย RAW
- ขนาดไฟล์ใหญ่มาก
ใหญ่กว่า JPG หลายเท่า กินพื้นที่การ์ดและฮาร์ดดิสก์
- ต้องใช้โปรแกรมพิเศษเปิด
เช่น Adobe Lightroom, Photoshop, Capture One, หรือโปรแกรมแปลงไฟล์
- ต้องผ่านการแปลงก่อนใช้งานจริง
ต้อง Export เป็น JPG, PNG ก่อนถึงจะเอาไปใช้ในเว็บหรือพิมพ์ได้
- โหลดหรือประมวลผลช้ากว่าไฟล์ทั่วไป
นามสกุลไฟล์รูปภาพ PSD
นามสกุลไฟล์รูปภาพ PSD ย่อมาจาก Photoshop Document เป็นไฟล์เอกลักษณ์ของโปรแกรม Adobe Photoshop เป็นไฟล์ที่ใช้เก็บโปรเจกต์งานออกแบบจาก Photoshop โดยเฉพาะ จุดเด่นคือสามารถเก็บข้อมูลครบทุกอย่างของงาน จึงรองรับไฟล์ความละเอียดสูง ทำให้เหมาะกับทั้งงานพิมพ์และงานดิจิทัล
ข้อดี PSD
- แก้ไขได้ทุกส่วนในงานออกแบบ
แต่ละเลเยอร์แยกอิสระกัน ทำให้กลับมาแก้ไขภายหลังได้ง่ายมาก
- ทำงานร่วมกับโปรแกรม Adobe อื่น ๆ ได้ดี
เช่น Illustrator, After Effects, Premiere Pro
ข้อเสีย PSD
- เปิดได้เฉพาะโปรแกรมเฉพาะทาง
เช่น Photoshop หรือโปรแกรมอื่นที่รองรับ PSD (แต่บางโปรแกรมเปิดได้แค่บางส่วน)
- ขนาดไฟล์ใหญ่
เพราะเก็บข้อมูลทุกเลเยอร์และองค์ประกอบแบบละเอียด
- ไม่เหมาะกับการแชร์หรือใช้งานทั่วไป
ต้องแปลงเป็น JPG / PNG / PDF ก่อนนำไปใช้จริง เช่นบนเว็บหรือสื่อโซเชียล
สรุป
จากบทความข้างต้นคงทำให้ทุกคนรู้จักกับนามสกุลไฟล์รูปภาพอื่น ๆ อีกหลายประเภท ไม่ใช่เพียงแค่ไฟล์ภาพ JPEG เท่านั้น ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของการใช้งาน การรู้ว่าไฟล์แต่ละประเภทมีความพิเศษอย่างไรบ้างจะช่วยให้ผู้ใช้งานเลือกรูปแบบไฟล์ที่เหมาะสมมากที่สุดได้ ทำให้งานของคุณออกมาสวยงามและสมบูรณ์แบบมากที่สุดนั่นเอง
บทความโดย : PNG vs PDF vs JPG: Which File Format Should You Use?
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24