กฎการถ่ายภาพคือสิ่งที่ช่างภาพได้รับการฝึกสอนมาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้ภาพสวยงามได้ แต่บางครั้งกฎก็มีไว้ฉีก ซึ่งเราจะมาบอกให้คุณทราบเองว่ากฎไหนที่ควรฉีกบ้าง
ช่างภาพทุกคนคุ้ยเคยกับสิ่งที่เรียกว่า “กฎการถ่ายภาพ” ซึ่งเป็นแนวทางให้ช่างภาพได้ภาพที่สวยงาม มีองค์ประกอบภาพที่ดี แต่การไปเรียกสิ่งนี้ว่ากฎอาจสร้างกรอบบางอย่างขึ้นมา เราควรเรียกสิ่งนี้ว่าแนวทางเสียมากกว่าจะเป็นกฎ เพราะกฎเกณฑ์สามารถถูกฉีกได้ เช่นเดียวกับสิ่งต่าง ๆ บนโลก
แม้ว่าการออกนอกลู่นอกทางในเชิงครีเอทีฟอาจเป็นเรื่องน่ากังวล แต่เราจะมาช่วยคุณในเรื่องการฝ่าฝืนกฎว่าความเป็นจริงแล้วการฉีกกฎก็ไม่ได้แย่เสมอไป ตั้งแต่การจัดวางเฟรมไปจนถึงการโฟกัสภาพ
1.กฎสามส่วน (The Rule of Thirds)
กฎสามส่วน คือแนวทางการวางองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน โดยให้วัตถุอยู่ในจุดตัดของตารางเก้าช่อง คุณสามารถปล่อยให้พื้นที่ 2 ใน 3 ของเฟรมไม่มีอะไรก็ได้ วิธีนี้สามารถพลิกแพลงได้มากมาย แต่กฎสามส่วนก็มีข้อเสียนั่นก็คือปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ในการลององค์ประกอบใหม่ ๆ
แต่อย่างไรก็ตาม กฎมีไว้ฉีกซึ่งมีวิธีการมากมายให้คุณฉีกกฎสามส่วนนี้ได้
วิธีหนึ่งก็คือการเติมเฟรม (หรือกรอบภาพ) ซึ่งเป็นเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อเพิ่มพื้นที่เชิงบวก (Positive space) โดยมักประกอบด้วยวัตถุเพียงชิ้นเดียว จัดให้อยู่ตรงกลางของภาพและให้ใหญ่เกือบเต็มเฟรม
ทำได้โดยเข้าไปใกล้วัตถุหรือใช้เลนส์ซูม เลนส์มาโคร หรือครอปภาพตอนแต่งก็ได้
แต่ถ้าวัตถุในภาพมีขนาดเล็ก ให้ถอยกล้องออกมาจากวัตถุดังกล่าวโดยที่ยังคงให้อยู่ตรงกลางภาพ การวางจุดศูนย์กลางของวัตถุก่อนนั้นจะทำให้เกิดความสมมาตรขึ้น ซึ่งจะทำให้ทั้งภาพมีความกลมกลืนและสร้างความรู้สึกสมบูรณ์แบบ
คุณสามารถทำได้โดยวางวัตถุไว้ตรงกลางภาพ ระหว่าง 2 แกนหลักซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ หรือจินตนาการว่าตัวเองกำลังเดินตรงไปหาจุดกลางภาพ แล้วทั้งสองข้างทางเหมือนกัน
2.กฎพื้นที่เฮดรูมเหลือน้อย
ในการถ่ายภาพ พื้นที่เหนือหัววัตถุจะสร้างความรู้สึกโล่งใจ ให้ความรู้สึกไม่ถูกติดอยู่ในกรอบ
ซึ่งเรามักถูกสอนให้หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพแบบนี้ แต่คุณสามารถใช้เทคนิคนี้ได้หากคุณต้องการให้วัตถุในนั้นรู้สึกติดอยู่ในกรอบอะไรบางอย่าง
คุณสามารถทำได้โดยวางวัตถุไว้ที่บริเวณริมขอบของเฟรมภาพ แล้วถ่ายให้ไม่เหลือพื้นที่เหนือหัว
3.กฎการเติมส่วนเชื่อมต่อวัตถุ
เวลาถ่ายภาพวัตถุเรามักถูกบอกว่าให้หลีกเลี่ยงการถ่ายติดข้อต่อของวัตถุใด ๆ ก็ตาม เพราะมันสร้างความรู้สึกไม่ต่อเนื่องในภาพ เพราะถ้าเรามองเห็นข้อต่อ ในหัวเราจะนึกถึงส่วนที่ติดอยู่กับข้อต่อไปด้วยเสมอ
ซึ่งก็ถูกเพราะถ้าเราไม่ตัดออกไป ภาพจะสร้างความรู้สึกอึดอัด ในสมองจะนึกถึงส่วนที่เกินออกไปเหล่านั้นเสมอโดยไม่รู้ตัว แต่คุณก็สามารถละเว้นกฎนี้ได้ถ้ามีเหตุผลที่ดี
ถ้าความอึดอัดคือสิ่งที่คุณอยากให้รู้สึก ให้ตัดข้อต่อของตัวแบบออกเพื่อกระตุ้นความรู้สึกตึงเครียดในภาพได้
คุณสามารถทำได้โดยวางวัตถุของคุณให้เลยขอบรูปภาพออกไปเลย ทำได้ทั้งบริเวณด้านข้างและด้านล่าง
4.กฎการถ่ายภาพให้ชัด
การถ่ายภาพเราจะค่อนข้างให้ความสำคัญกับความชัดและความคมของภาพ สำหรับช่างภาพหลายคนการถ่ายภาพหลุดโฟกัสคือสิ่งที่ทำให้ภาพไม่สวย
มีคนกล่าวว่า ภาพหลุดโฟกัสสามารถกระตุ้นอารมณ์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ความสูญเสีย โศกเศร้า สับสน ไปจนถึงความไร้กังวล
เพียงแค่ลดความเร็วชัตเตอร์ลงแล้วก็ลากแสงไปมา ซึ่งอาจสร้างบรรยากาศสนุกสนานหรือความรู้สึกของเวลาที่ผิดเปลี่ยนไปก็ได้
5.กฎพื้นหลังต้องโล่งเสมอ
อีกกฎข้อสำคัญในการถ่ายภาพก็คือพื้นหลังจะต้องโล่งสะอาดตา ทำให้วัตถุไม่ถูกรบกวนจากฉากหลัง
แต่ว่าก็ยังมีวิธีในการเล่าเรื่องทั้งหมดโดยใช้ฉากหลังเป็นองค์ประกอบภาพได้
ฉากหลังสามารถทำให้ขัดแย้งกับวัตถุหลัก จนเกิดความหมายที่แปลกใหม่ได้ บิดเบือนการรับรู้ของผู้ชมให้คิดไปอีกทาง
6.กฎถ่ายภาพบุคคลพื้นหลังต้องเบลอ
การเบลอภาพพื้นหลังในภาพบุคคลเพื่อสร้างระยะชัดตื้นเป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้ภาพบุคคลแยกตัวออกจากสภาพแวดล้อม
แต่นั่นก็ไม่ใช่กฎที่เราต้องยึดติดตลอดไป
สมมติว่าคุณกำลังถ่ายภาพบุคคลโดยมีฉากหลังเป็นสภาพแวดล้อมที่สวยงาม การทำฉากหลังเบลอ มีโบเก้สวย ๆ อาจไม่ช่วยถ่ายทอดความรู้สึกของสถานที่เท่าที่ควร
สภาพแวดล้อมในภาพบุคคลช่วยให้ภาพถ่ายมีเรื่องราวมากกว่าที่คิด ดีกว่าถ่ายแต่ภาพบุคคลยืนตรง ๆ ในภาพคนเดียว
การถ่ายภาพมุมกว้างที่มีความชัดลึกน้อย สามารถทำให้วัตถุกับฉากหลังเชื่อมโยงกันได้ดี มีบริบทให้เล่ามากขึ้น และบอกเล่าเรื่องราวได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อย่าปล่อยให้ความคิดสร้างสรรค์ของคุณโดนกฎเกณฑ์บางอย่างครอบงำไป หากสัญชาตญาณสร้างสรรค์ของคุณบอกว่าใช่ ฉีกกฎออกไปเลย!
บทความโดย : 6 Photography Rules That Can Be Broken
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24