ลูกศร Cover

Business

ออกแบบภาพลูกศรอย่างไรให้มีเอกลักษณ์ คู่มือนี้คือคำตอบ!

เมื่อคุณต้องการใช้อะไรบางอย่างนำสายตา ลูกศรคือสิ่งที่ช่วยทำหน้าที่นั้นได้ มาเรียนรู้วิธีการสร้างกราฟิกลูกศร และวิธีการใช้งานพร้อมเทคนิคอื่น ๆ อีกมากมายในนี้กัน

ถ้าเป้าหมายของงานออกแบบของคุณคือการสื่อสารด้วยภาพ องค์ประกอบที่สวยงามเพียงใดก็อาจสื่อสารไม่ได้ดีเท่าลูกศรธรรมดา ๆ ก็เป็นได้ เพราะทุกคนเข้าใจง่ายและใช้ได้ในระดับสากล

มาทำความรู้จักสัญลักษณ์สุดคลาสสิกนี้กัน ทั้งในทางทฤษฏีและในทางปฏิบัติ ว่าเราจะใช้ลูกศรอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นอย่างไร

ลูกศรกับงานออกแบบคืออะไร?

เราเข้าใจโดยสัญชาตญาณว่าลูกศรคืออะไร แม้จะมีขนาด รูปร่าง และรูปแบบแตกต่างกันเกินร้อยแบบก็ตาม

Hand,Drawn,Arrows.,Abstract,Doodle,Arrows,Thin,Line,Black,In
ภาพโดย Vivit Vitryana

โดนทั่วไปลูกศรจะถูกพบบ่อยในสไตล์เส้นทึบ มีหัวสามเหลี่ยมอยู่ปลายด้านหนึ่ง แต่ลูกศรมีหลากหลายรูปแบบยิ่งกว่านั้น

สิ่งที่น่าสนใจคือลูกศรไม่จำเป็นต้องเหมือนลูกศรไปเสียทั้งหมดก็ได้ ในแง่ของการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ เราสามารถใช้อะไรแทนลูกศรก็ได้ ถ้ามันตอบโจทย์วัตถุประสงค์หลักในการดึงดูดความสนใจผู้ชม

เช่น การใส่ตัวละครที่ถึอดินสอที่เห็นอยู่ข้างล่าง ในงานพรีเซนต์หรือใบปลิว ใช้ดินสอแทนลูกศร เป็นต้น

Various,People,With,A,Large,Pencil.,Young,Person,Holding,Pencil.
ภาพโดย Bibadash
ลูกศร

ลูกศรคือสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารอะไร?

กราฟิกลูกศรคือสิ่งที่ทุกวัฒนธรรมเข้าใจ ไม่เพียงแค่วาดง่ายแต่ยังใช้สื่อสารได้ทุกที่ในโลก เพราะมนุษย์ทุกคนเข้าใจ เช่น

  • การเคลื่อนไหว
  • พลังงาน
  • การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
  • กระบวนการ
  • เวลา
  • ต้นเหตุและผลกระทบ
  • ทิศทาง
  • ตัวเลือก
  • การเติบโต

ใช้ได้กับการตีความตรงตัว (เช่น “ไปทางนี้” หรือ ”ย้ายไปที่นี่”) หรือจะใช้ตีความแบบนามธรรมหรือจิตวิญญาณก็ได้ เพื่อสื่อสารว่าถึงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

ด้วยความที่ลูกศรคือสัญลักษณ์สากลที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ทำให้มันกลายเป็นรากฐานที่ยอดเยี่ยมในการออกแบบโลโก้ เช่น FedEx (มีลูกศรสีขาวอยู่ระหว่างตัว E และ X) และ Amazon (มีลูกศรสีเหลืองคล้ายรอยยิ้มชี้จาก A ไป Z)

Fun fact: รูปลูกศรที่เราทราบกันดีนั้นมาจากลูกศรของนักธนู โดยที่ต้นฉบับที่ใช้ครั้งแรกนั้นใช้เพื่อชี้ทางไปซ่องสมัยโบราณ แถมมันยังไม่ใช่สัญลักษณ์รูปลูกศรเหมือนปัจจุบันด้วย

5 วิธีใช้ลูกศรให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

ลูกศรสามารถให้ข้อมูลกับคุณได้มากมายในสัญลักษณ์เดียว ซึ่งมีวิธีใช้มากมายเพื่อยกระดับงานภาพให้สวยงาม 

1.ใช้ลูกศรนำสายตา

นี่คือเทคนิคการใช้ลูกศรขึ้นพื้นฐานที่สุด เพื่อเรียกความสนใจของผู้ชมไปยังบริเวณเฉพาะของงานออกแบบ ใช้เพื่อเน้นย้ำหัวข้อที่สำคัญเป็นพิเศษ หรือส่วนที่อาจถูกมองข้าม

Men,Being,Produced,On,Assembly,Line
ภาพโดย simone golob

เทคนิคมืออาชีพ: อย่าใช้ลูกศรเยอะเกินไป ยิ่งใช้น้อยยิ่งมีประสิทธิภาพ ไม่อย่างนั้นผู้ชมจะหลงทิศหลงทางในงานออกแบบของคุณจนเลิกดูไปกลางคัน

2.แทนที่ข้อความด้วยลูกศร

เพราะลูกศรแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่ง ลูกศรจึงเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมในการลดความซับซ้อนของข้อความในงานกราฟิกของคุณ

แทนที่คุณจะเขียนทั้งย่อหน้าภายในบริเวณเดียว ให้ลองใช้ลูกศรเชื่อมโยงหัวข้อต่าง ๆ ด้วยคำหรือภาพประกอบภาพเดียว หรือข้ามเนื้อหาบางส่วนไปเลยเพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายและเข้าใจอย่างทั่วถึงทั้ง Infographic หรือ Flowchart

Flowchart.,Hand,Drawn,Design,Elements.
ภาพโดย Alex Gorka

เทคนิคมืออาชีพ: ถ้าการจัดวางย่ำแย่ ต่อให้มีลูกศรก็ไม่ช่วยให้สวยขึ้น ลูกศรจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อคุณมีการจัดวาง การจัดตำแหน่ง และการวางข้อความที่ดีอยู่แล้ว

3.ใช้ลูกศรเป็นเครื่องตกแต่ง

แม้ลูกศรเดี่ยว ๆ จะมีความหมายเจาะจง (เช่น ชี้นำสายตา หรือแสดงการเปลี่ยนแปลงของเวลา) แต่ถ้าลูกศรหลายลูกรวมกันสามารถสร้างความสวยงามได้อย่างน่าประหลาด

แพทเทิร์นลูกศรโดยบ่อยครั้งมักสื่อสารได้ถึงความมีชีวิตชีวา คึกคัก และการเคลื่อนไหว สามารถใช้ร่วมกับเส้นองค์ประกอบอื่น ๆ เพื่อสร้างความสนุกสนานได้

Various,Doodle,Grunge,Shapes,Seamless,Pattern.,Brush,Drawn,Bold,Curly
ภาพโดย Anastasiia Gevko

เทคนิคมืออาชีพ: เพราะมนุษย์มักจะทำตามที่ลูกศรบอกโดยอัตโนมัติด้วยการมอง ทำให้เกิดความสับสนได้ คุณต้องมั่นใจว่าลูกศรที่คุณใส่เข้าไปนั้นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์หรือไม่ เพื่อให้ไม่รบกวนกับการออกแบบอื่น ๆ 

4.ใช้ลูกศรอย่างสร้างสรรค์

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ใช่ลูกศรทุกประเภทจะใช้สื่อความหมายเหมือนกันทั้งหมด สามารถนำลูกศรมาต่อกันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม หรือรูปทรงเลขาคณิตต่าง ๆ เพื่อนำสายตาได้เช่นกัน

Right,Hand,Pointing,Finger,In,Orange,Circle
ภาพโดย M.Girr

หรือจะใช้ให้เกิดเอฟเฟกต์ต่าง ๆ เช่น ใช้พู่กันปาดให้เกิดลูกศรเพิ่มความเท่และดุดัน สำหรับใครที่ไม่ต้องการงานมินิมอล เป็นต้น

เทคนิคมืออาชีพ: อย่าลืมเลือกใช้ลักษณะลูกศรให้สอดคล้องกับตัวตนของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นสี ลักษณะ หรือความกลมกลืน ถ้านึกไม่ออกสามารถดาวน์โหลดลูกศรเจ๋ง ๆ ได้ที่ Shutterstock เรามีลูกศรเป็นล้านแบบให้คุณเลือกใช้

5.ใช้ลูกศรกับ Call to action

ทุกวันนี้โลกทั้งใบคือโลกแห่งดิจิทัล การออกแบบลูกศรควรทำให้เกิดการโต้ตอบได้ด้วย

ในแง่มุมของ UI ลูกศรมักใช้ในรูปแบบธรรมดา หัวแหลมหนาไม่ซับซ้อน สามเหลี่ยมแบบง่าย ๆ หรือยศบั้ง เพื่อนำสายตาผู้ชายไปในที่ต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ เช่น

  • คลิกที่ลิ้งก์
  • รีเฟรชหน้าเว็บ
  • เกิดหน้าต่างใหม่
  • สไลด์ดูหน้าถัดไป
  • ขยายหน้าต่าง
  • ไป-กลับ หน้าถัดไป
  • เลื่อนขึ้น – เลื่อนลง
  • ขยายเข้า-ออก
Set,Arrow,Direction,Back,Website,Icon,Vector,Illustration.,Lock,And
ภาพโดย Yudha_Aditya

เทคนิคมืออาชีพ: ถ้าคุณต้องใช้ลูกศรกับการออกแบบหน้าเว็บ อย่าทำให้รูปทรงซับซ้อนและดูยากเกินไป เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ไม่สับสน และไปไม่ถูกหน้าการใช้งาน

ตัวอย่างกราฟิกลูกศรน่าใช้

ลูกศรธนู

Cute,Arrows,,Hand,Drawn,Doodles,Set.,Tribal,,Ethnic,,Hipster,Arrows
ภาพโดย Ivan Feoktistov

ลูกศรเขียนมือ

Hand,Draw,Arrows,Set,Vector,With,Brush
ภาพโดย Lil Shimaru

ลูกศรภาพวาด

A,Sad,Man,With,Arrow,Pointers,Stabbed,In,His,Back
ภาพโดย Bjorn Oberg

ลูกศรมินิมอล

Line,Minimalist,Geometric,Arrow,Set.,Vector,Collection,Abstract,Thin,Lines
ภาพโดย sini4ka

ลูกศรริบบิ้น

Various,Cartoon,Colorful,Playful,Arrow,Pointers,Set,Or,Collection,In
ภาพโดย KatePilko

ลูกศร Infographics

Vector,Circle,Arrows,For,Infographic,Template,,Pie,Charts,Blue,With
ภาพโดย  Tevarit

ลูกศรภาพถ่าย

Green,Leaves,Texture,In,The,Form,Of,An,Arrow.,Mockup
ภาพโดย Lusi_mila

ลูกศรแบบป้ายแบนเนอร์

Arrow,Set,Icons.,Colorful,Collection,Vintage,Sign,,Symbols,And,Graphic
ภาพโดย Foxys Graphic

ลูกศรแพทเทิร์น

Modern,Arrow,Symbol,Vector,Stipple,Effect,Seamless,Pattern,Business,Abstract
ภาพโดย Alex Gontar

ลูกศร Doodly

Various,Sketchy,Doodle,Arrows,,Direction,Pointers,Shapes,And,Objects.,Freehand
ภาพโดย Bibadash

เพิ่มทิศทางและสไตล์ให้กับงานออกแบบของคุณ

ลูกศรคือหนึ่งในองค์ประกอบที่ใช้ได้อย่างหลากหลาย สามารถใช้กับแบรนด์ในรูปแบบใดก็ได้ อย่าลืมนำสิ่งนี้ไปใช้อย่างเหมาะสม แล้วงานของคุณมีคุณภาพขึ้นอย่างแน่นอน

บทความโดย : A Guide to Designing with Arrows

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Related Blog

 
องค์ประกอบภาพ

สุดยอดคู่มือการค้นหาองค์ประกอบภาพ ที่คุณห้ามพลาด!

 
 
B2B 1

สุดยอดคู่มือการตลาดแบบ B2B ล่าสุด

 
 
ค่าสีกล้อง Cover

อุณหภูมิสีเคลวิน (Kevin Scale)ในการถ่ายภาพคืออะไร? สุดยอดคู่มือสำหรับผู้ที่อยากทราบเรื่องโทนของภาพ

 
 
อัตราส่วน

คู่มือเปลี่ยนภาพสเก็ตช์ให้เป็นดิจิทัลอาร์ต! ทำยังไงมาดูกัน

 

Tell us about yourself





    Type: