การใช้งานระบบ Augment Reality (AR) ในกิจการร้านค้าปลีกมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการไว้ว่าในปี 2025 คนจำนวน 4.3 พันล้านคนจะต้องใช้ระบบ AR ในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างแน่นอน
ภาคการค้าปลีกมีการนำ AR มาใช้ในระบบการค้าขายออนไลน์มากขึ้น แม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่การเดินเข้าไปซื้อของในร้านค้าก็สำคัญเช่นกัน เพราะผู้บริโภคต้องการสัมผัสและทดสอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง ซึ่งไม่มีวิธีใดที่เหมาะกับการให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าได้ดีกว่าระบบ AR อีกแล้ว
การใช้ระบบ AR ในร้านค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุการณ์โรคระบาดทำให้ลูกค้าไม่กล้าออกจากบ้าน แต่ก็ยังอยากสัมผัสกับสินค้าและเห็นด้วยตาจริง ๆ อยู่วันยังค่ำ ซึ่งผู้ค้าปลีกจำนวนมากไม่มีบริการเสนอตัวอย่างให้ทดลองสินค้า เพราะถ้าเกิดการสัมผัสเยอะอาจทำให้มีปัญหาตามมาภายหลัง
จากรายงานของ Deloitte ระบุว่าผู้บริโภค 100 ล้านคนที่ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์และใช้ระบบ AR ซื้อของที่ร้านจริง และพบว่าผู้บริโภคกว่า 41% ชอบซื้อสินค้าในร้านที่มีระบบ AR ด้วยเหตุนี้ทำให้เครื่องมือ AR ถูกนำมาใช้ในร้านค้าปลีกจำนวนมาก และคาดการณ์ว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ
ผลกระทบของการขายออนไลน์และหน้าร้าน
หนึ่งในกำแพงสำคัญของการขายออนไลน์ก็คือ ผลิตภัณฑ์จะต้องเหมือนกับหน้าร้านเมื่อถึงมือลูกค้า ซึ่งผู้บริโภคกว่า 40% จากทั่วโลกไม่ชอบซื้อของออนไลน์ด้วยสาเหตุที่ว่า
- ไม่เห็นผลิตภัณฑ์ของจริง
- ไม่สามารถทดลองใช้ได้ก่อนจะซื้อจริง
- สัมผัสกับตัวผลิตภัณฑ์ไม่ได้
ระบบ AR และ VR (Virtual Reality) มีศักยภาพในการช่วยเหลือข้อกังวลเหล่านี้ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ผู้ซื้อเห็นลักษณะของตัวสินค้าและจินตนาการถึงบริบทการใช้งานจริงได้ เช่น สามารถใช้ AR สำรวจผลิตภัณฑ์จริง ช่วยให้คลายข้อสงสัยในใจได้อีกระดับ
ผลสำรวจพบว่าถ้าร้านค้าใดมีระบบ AR จะช่วยเพิ่มการตัดสินใจซื้อสินค้าถึง 61% และถ้าผู้บริโภคได้ทดลองใช้ระบบ AR ก่อนซื้อจริงจะช่วยเพิ่มโอกาสการซื้อขายถึง 40% อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือผู้บริโภค 16% ในใช้ระบบ AR ในการซื้อของในชีวิตจริง
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงคือ Shopify ในปี 2018 บริษัทอีคอมเมิร์ซของแคนาดาได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ 3D ในตลาดแพลตฟอร์มออนไลน์ของตน ตั้งแต่นั้นมาหน้าโชว์แสดงสินค้าเริ่มมีการใช้โมเดล 3D ด้วยระบบ AR ผลที่เกิดขึ้นก็ตามมาก็คือมียอดการเข้าถึงสินค้าเพิ่ม 250%
ร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่น Rebecca Minkoff พบว่ามีลูกค้าที่เข้ามาใช้งานระบบ 3D เพิ่มขึ้น 44% และมากกว่า 65% ของผู้ใช้งานกดเพิ่มสินค้าลงตะกร้า นอกจากนี้ยังมีร้านค้าอีกมากมายที่พบกับการเข้าถึงที่มากขึ้นในแบบเดียวกัน เช่น ร้านขายเครื่องสำอาง เป็นต้น
การแพร่ระบาดของไวรัสส่งผลให้พฤติกรรมของลูกค้าในร้านเปลี่ยนไป ผู้ซื้อเริ่มใส่ใจสุขภาพและระมัดระวังกับการสัมผัสสินค้าที่ผ่านการสัมผัสมาแล้วมากขึ้น ทำให้ระบบ AR เป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้การซื้อขายสินค้าหน้าร้านปลอดภัยขึ้น
ยิ่งเป็นร้านค้าที่ขายของเสริมความงามที่ต้องทดลองสินค้าให้เห็นผลลัพธ์จริง การใช้ AR เข้าช่วยยิ่งสำคัญ อย่าปล่อยให้ลูกค้าที่เข้าร้านต้องเสียอารมณ์จากการไม่ได้มีโอกาสทดลองสินค้า
บทความจาก Harvard Business Review ผลทดลองพบว่าเมื่อยืนลิปสติกของจริง กับการให้ทดลองใช้ลิปสติกในระบบ AR ผู้ซื้อส่วนมากชอบใช้ AR มากกว่าทดลองลิปสติกจริง พวกเขาใช้เวลาการหาซื้อลิปสติกในระบบ AR นานกว่าปกติถึง 50% และใช้งานลิปสติกสีต่าง ๆ มากกว่าเดิม 7.5 เท่า
เหตุผลสำคัญก็คือเนื่องจาก AR สามารถสร้างการเปรียบเทียบสินค้าได้ทันทีหลายรูปแบบ ให้คุณไม่ต้องคอยทดลองลิปสติกในร้านทุกชิ้นไป หมายความว่าผู้บริโภคจะได้ค้นหาสินค้าที่เขาต้องการในพื้นที่แคบลง ทำให้พวกเขาเจาะจงสินค้าที่ต้องการได้ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้ามากขึ้นและการซื้อขายที่มากขึ้นจะตามมา
นอกจากนั้นระบบนำทางในร้านยังสามารถนำ AR ไปใช้ได้ด้วย ให้ลูกค้าสามารถหาสินค้าในร้านจากการดูในแอปพลิเคชั่นได้ทันทีว่าสินค้าตั้งอยู่บริเวณใด พร้อมนำเส้นทางที่สั้นที่สุดและโปรโมชั่นปรากฎขึ้นมาระหว่างเดินไปดูสินค้า และยังสามารถเปรียบเทียบราคาระหว่างสินค้าใกล้เคียงได้ด้วย
ผลกระทบต่อต้นทุน
การคืนสินค้าหรือการ Refund เป็นผลกระทบที่หนักหน่วงสำหรับผู้ค้าปลีก เพราะจากผลสำรวจพบว่าเสื้อผ้าที่ซื้อทางออนไลน์ถูก Refund สาเหตุหลักเกิดจากไม่สามารถสวมใส่เสื้อผ้าได้หรือไซส์ไม่ถูกต้องกว่า 38% ผู้บริโภคหลายคนชอบซื้อสินค้าหลายชิ้นเพื่อหาตัวที่ดีที่สุด ที่เหลือค่อยคืนกลับไปยังร้านค้า ซึ่งเป็นสิทธิ์ของผู้บริโภคที่ร้านค้าปลีกหลีกเลี่ยงไม่ได้ ระบบ AR จึงพยายามเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ช่วยลดต้นทุนในการที่สินค้าถูกคืนให้น้อยลง จากการวิจับพบว่าร้านค้าปลีกทั่วโลกสามารถประหยัดเงินไปได้ถึง 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการใช้ระบบ AR เข้าช่วยแก้ปัญหา
ปัญหาเรื่องแฟชั่นยังเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสินค้าขนาดใหญ่ เช่น สินค้าจาก IKEA ที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ถูกส่งคืนทำให้มีค่าจัดส่งที่สูงมาก ทำให้ IKEA จัดทำระบบ AR ที่เรียกว่า IKEA Plsace ช่วยให้ผู้ใช้งานเห็นว่าผลิตภัณฑ์ของ IKEA เหมาะกับบ้าลูกค้าอย่างไร
ค่าขนส่งพุ่งสูงขึ้นทุก ๆ ปี โดยไม่มีสัญญาณใด ๆ ว่าจะลดลง ทำให้ผู้ค้าปลีกจะต้องใช้วิธีการที่เป็นไปได้ทั้งหมดในการลดต้นทุนการถูกส่งสินค้าคืน และเครื่องมือ AR เป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างมาก เพราะช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจและเข้าใจตัวสินค้าอย่างสมบูรณ์ได้
เทคโนโลยี AR ผู้ช่วยผู้ค้าปลีกให้เติบโตอนาคต
การใช้เทคโนโลยี AR กำลังขยายอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมค้าปลีก ไม่ว่าจะเป็นทางออนไลน์หรือหน้าร้าน แอปพลิเคชั่น AR ช่วยให้ผู้ซื้อได้ทดลองใช้สินค้าก่อนซื้อขายจริง ด้วยระบบ 3D ทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ลดจำนวนสินค้าที่ถูกตีคืนได้ ต้นทุนที่ใช้ดำเนินการก็ถูกลง สร้างกำไรให้เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งทาง BytePlus มีระบบ AR Try-On ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย โดยออกแบบมาให้รองรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ เช่น เครื่องประดับ นาฬิกา รองเท้า กระเป๋าเดินทาง ฯลฯ ช่วยให้เจ้าของร้านค้าปลีกสร้างโมเดล 3D ได้ง่าย ๆ โดยคลิกเพียงปุ่มเดียว
ผู้ค้าปลีกที่ใช้ AR สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับร้านค้า ส่งผลให้ยอดขายสูงขึ้นและต้นทุนลดลง ยิ่งการมาถึงของเทคโนโลยี 5G ยิ่งทำให้การโหลดข้อมูล AR/VR มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งคาดการว่าธุรกิจที่ใช้ AR โดยรวมจะทำเงินได้ถึง 12 พันล้านดอลลาร์ทั่วโลกภายในปี 2568
บทความโดย : Augmented Reality in Retail: A Business Perspective
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24
Date: 12/06/2567