มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่เก่งมาตั้งแต่ยุคหินที่เราขูดหินจนเกิดไฟ ไปจนถึงยุคที่เราใช้มือถือสั่งอาหารมาเสิร์ฟถึงประตู ทุกสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาล้วนเริ่มต้นจากไอเดียเล็ก ๆ ที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ บางครั้งไอเดียเหล่านี้ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ เช่น มองดูนกบินแล้วสร้างเครื่องบิน หรือเห็นปลาโลมาว่ายน้ำแล้วคิดค้นเรือดำน้ำ และบางครั้งก็เป็นการหยิบจับสิ่งที่คนอื่นเคยทำไว้มาต่อยอดอีกที จนกลายเป็นสิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
แต่เมื่อพูดถึงการต่อยอดหรือการนำไอเดียของคนอื่นมาใช้ เรื่อง “ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา” ก็เริ่มโผล่เข้ามาเป็นหัวข้อสำคัญ! เพราะในโลกที่อินเทอร์เน็ตครองเมืองอย่างทุกวันนี้ ไอเดียและผลงานต่าง ๆ ย่อมถูกส่งต่อและแชร์กันว่องไวอย่างกับรถไฟความเร็วสูง ถ้าเป็นแค่การแชร์เฉย ๆ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเพราะ “ความสะดวกเกินไป” ทำให้หลายคนเผลอไปใช้ของคนอื่นแบบไม่รู้ตัว หรือไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นผิดกฎหมาย มนุษย์ทำงาน จึงต้องระวังไว้ให้ดี
สิ่งที่คิดกับสิ่งที่ลงมือทำบางครั้งก็ขัดใจ มนุษย์ทำงาน
ในหัวของมนุษย์ทำงานแบบเรา ๆ ย่อมมีไอเดียวิ่งไปมาตลอดเวลา แต่พอถึงเวลาต้องลงมือทำจริงก็เหมือนจราจรติดขัด ที่ทำให้ทุกอย่างดูช้าลง แถมบางครั้งยังต้องยูเทิร์นกลับไปคิดใหม่อีกต่างหากเพราะขายงานไม่ผ่าน! และการนำเสนองานเหล่านั้นต้องใช้รูปภาพจำนวนมาก แต่ปัญหาคือเราจะไปหารูปจากไหน? แน่นอนว่าหลายคนก็จะคิดว่า “Google สิ ง่ายจะตาย!” แต่เดี๋ยวก่อน! นี่แหละคือหลุมพรางของมนุษย์ทำงาน
การค้นหารูปใน Google มันง่ายจนเราอาจลืมไปว่ารูปสวย ๆ เหล่านั้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งนั้น! รูปที่เราคิดว่าคลิกขวา เซฟมาใช้ได้เลย จริง ๆ แล้วอาจทำให้เราโดนฟ้องแบบงง ๆ เพราะดันไปละเมิดสิทธิ์ของเจ้าของภาพเข้า
หลายคนอาจมองว่าแค่การใช้รูปจากอินเทอร์เน็ตเพียงภาพเดียวไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ความจริงก็คือ โลกแห่งลิขสิทธิ์นั้นเคร่งครัดและจริงจังกว่าที่เราคิด เจ้าของผลงานหรือบริษัทที่ถือสิทธิ์มักจำผลงานของตัวเองได้อย่างแม่นยำ และพวกเขาไม่ได้มองว่า “แค่รูปเดียว” เป็นเรื่องเล็ก เพราะสำหรับพวกเขานี่คือทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้เวลา แรงกาย และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างขึ้นมา จะปล่อยให้นำไปใช้ฟรี ๆ ไม่ได้
ก่อนจะนำภาพไปใช้งานต้องตรวจสอบให้ดีก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์ นั่นก็เพราะ Google ไม่ใช่เจ้าของภาพ แต่เป็นแค่แพลตฟอร์มที่ใช้ค้นหาเท่านั้น หากนำไปใช้งานโดยไม่ตรวจสอบ อาจก่อให้เกิดปัญหาลิขสิทธิ์ที่สร้างความยุ่งยากและความเสียหายในภายหลัง สิทธิ์การใช้งานขึ้นอยู่กับผู้สร้างหรือผู้เผยแพร่ภาพบนเว็บไซต์ต้นทางเท่านั้น
วิธีตรวจสอบลิขสิทธิ์ภาพอย่างถูกต้อง
- ตรวจสอบเว็บไซต์ต้นทาง
เมื่อเจอภาพที่ต้องการ ให้คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ต้นทาง ดูว่ามีการระบุลิขสิทธิ์หรือข้อกำหนดการใช้งานหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลชัดเจน แนะนำให้งดนำภาพไปใช้ เพื่อความปลอดภัยทั้งองค์กรและลูกค้า - ใช้ฟีเจอร์ตัวกรองของ Google
Google มีตัวเลือก “สิทธิ์การใช้งาน” (Usage Rights) ที่ช่วยค้นหาภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน คุณสามารถเลือกค้นหารูปภาพที่อนุญาตให้ใช้งานได้ฟรี หรือใช้เพื่อการพาณิชย์เป็นต้น - เลือกใช้แพลตฟอร์มภาพที่เชื่อถือได้
หากไม่มั่นใจในแหล่งที่มาของภาพใน Google ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่ให้บริการรูปภาพแบบถูกลิขสิทธิ์ เช่น Shutterstock ที่มีรูปภาพ วิดีโอ เพลง โมเดล 3D และ AI ให้เลือกใช้กว่า 750 ล้านชิ้น
การนำภาพจาก Google ไปใช้งานโดยไม่ตรวจสอบให้ดีก่อน อาจสร้างปัญหาที่คุณไม่ทันตั้งตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ แต่เป็นประเด็นทางกฎหมายที่อาจนำมาซึ่งค่าปรับและผลกระทบต่อชื่อเสียง การตรวจสอบแหล่งที่มาของภาพและการใช้งานที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันปัญหา แต่ยังสะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพและการเคารพสิทธิ์ของผู้อื่นในยุคดิจิทัลอีกด้วย
ปวดหัวเรื่องลิขสิทธิ์ให้ติดต่อนัมเบอร์ 24
พูดถึงลิขสิทธิ์ทีไร หลายคนคงอยากจะถอนหายใจยาว ๆ เพราะมันดูเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อน ไหนจะต้องตรวจสอบว่าสิทธิ์ของภาพนั้นเป็นของใคร ใช้ได้ในกรณีไหน และต้องใส่เครดิตหรือไม่ แล้วถ้าเกิดเผลอใช้ผิดขึ้นมาล่ะ? อาจโดนค่าปรับจนหัวหมุน
แต่เดี๋ยวก่อน! ความจริงมันไม่ต้องปวดหัวขนาดนั้น เพราะการจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ในยุคนี้ง่ายนิดเดียว แค่ยกโทรศัพท์หาผู้เชี่ยวชาญอย่าง Number 24 คุณจะได้รับคำแนะนำแบบครบวงจร ทั้งข้อมูลลิขสิทธิ์การใช้งาน การแนะนำแพ็กเกจต่าง ๆ และเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ Shutterstock มีให้ใช้ตลอดการใช้งาน
สอบถามข้อมูลการใช้งานภาพเพิ่มเติมได้ที่
Inbox : https://bit.ly/3RtAnGn
LINE Official Account : https://bit.ly/3Rz00FU
Instagram : https://bit.ly/3qi0VOR
Website : https://number24.co.th