เชื่อว่าทุกครั้งที่ต้องเตรียมงานพรีเซนต์เราจะต้องเผชิญกับความวุ่นวายและกดดัน รวมถึงไม่รู้จะทำอย่างไรให้งานพรีเซนต์นี้ออกมาสวยงามและสามารถมัดใจผู้ชมให้อยู่หมัด
“Glossophobia” หรืออีกชื่อหนึ่งว่าโรคกลัวการผู้ในที่สาธารณะ ซึ่งกว่า 75% ของประชากรโลกเป็นแบบนั้น แล้วถ้าคุณได้รับโอกาสให้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าผู้คนนับหมื่น คุณจะรับไว้หรือจะปฏิเสธไป? ไม่กดดันเลยใช่ไหมล่ะ
แต่ทุกความสำเร็จต้องมีก้าวแรกเสมอ และเพื่อการนั้นด้วย 6 เทคนิคง่ายๆต่อไปนี้จะช่วยให้งานพรีเซนต์ของคุณโดดเด่นมัดใจผู้ชมได้อย่างแน่นอน
เริ่มต้นก่อนเข้าสู่เทคนิคคุณต้องกำหนดให้ได้ก่อนว่าวัตถุประสงค์ของการพรีเซนต์นี้คืออะไร ต้องการโน้มน้าวให้คนดูรู้สึกอย่างไร หลังจากนั้นค่อยไปนั่งคิดว่าควรพรีเซนด์อย่างไรให้แตกต่างจากคนอื่น เพราะหน้าที่ของผู้ทำการพรีเซนต์คือนำแนวคิดของทุกคนมารวมกันให้ได้
1.ทำความเข้าใจความต้องการของผู้ชม
เว็บไซต์ Inc.com เคยวิเคราะห์รายการ TED เพื่อค้นหาว่านักพูดที่ดีมีอะไรเหมือนกัน พวกเขาพบว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เสียงหัวเราะหรือคำคมใดๆ สิ่งที่ทำให้นักพูดที่ดีแตกต่างจากคนอื่นก็คือพวกเขาเป็นนักฟังที่ดีต่างหาก
นี่คือเทคนิคที่ทำให้ผู้ชมให้กลายเป็นผู้พูดที่กระตือรือร้น จุดเริ่มต้นที่จะสร้างเรื่องราวต่างๆต่อไปตลอดรายการ คุณก็จะได้มุมมองใหม่ๆที่คาดไม่ถึงเช่นกัน
2.มัดใจคนด้วยเรื่องราว
ผู้คนต่างเชื่อมโยงเรื่องราวโดยผู้คน ไม่ใช่แค่ชื่อของเรื่องราวเพียงเท่านั้น ไม่ว่าข้อมูลที่คุณเตรียมมาพูดจะเป็นแบบใดก็ตาม แต่เป้าหมายคุณจะต้องมัดใจคนและเชื่อมโยงพวกเขาให้เข้ากับเรื่องราวของคุณให้ได้ในระดับบุคคล สำหรับบางคนการเล่นมุกตลกอาจตอบโจทย์ แต่บางคนอาจจะอึดอัด ให้โฟกัสที่เรื่องราวแทนที่จะเป็นอารมณ์ที่ใช้สื่อจะดีกว่า
เรื่องราวที่สื่อออกไปจะต้อง
2.1 เป็นเรื่องจริง – อย่าสร้างเรื่องปลอมมามัดใจคน เพราะพวกเขาจะต้องเชื่อใจผู้พูด ถ้าพวกเขารู้ว่านี่คือเรื่องโกหก ความเชื่อใจจะถูกพังทลาย
2.2 เรื่องของคุณเอง – อย่านำเรื่องคนอื่นมาเล่า ถ้าอยากให้ผู้ชมเชื่อมต่อกับคุณเรื่องราวนั้นต้องเกิดขึ้นกับคุณเอง
2.3 รวมเป็นหนึ่ง – ถ้างานพรีเซนต์นั้นทำให้มีคนทั้งรักทั้งเกลียดคุณ แสดงว่าคุณยังทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ หน้าที่ของคุณคือพยายามนำข้อมูลมาเชื่อมต่อกันแล้วทำให้ทุกคนที่ฟังรวมกันเป็นหนึ่ง
3.สไลด์พรีเซนต์ขั้นพื้นฐาน
สไดล์พรีเซนต์คืออีกหนึ่งอาวุธคู่กายของทุกคนในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะฉายบนจอใหญ่ๆหลังผู้พูดบนเวที โปรแกรมที่หลายคนชอบใช้ก็คือ PowerPoint, Google Slides, และ Keynote ถ้าคุณต้องนำสไลด์ไปพรีเซนต์ที่งานประชุมใดๆก็ตาม ให้คุณถามหน้างานก่อนว่าสามารถเปิดโปรแกรมที่คุณเตรียมมาได้หรือไม่
ถ้าคุณกำลังสร้างสไลด์ของตัวเอง คุณต้องทำให้ข้อความอ่านง่ายและไม่บดบังสายตาขณะพูด เพื่อมั่นใจได้ว่าสไลด์ของคุณจะรู้เรื่องถึงแม้คนดูจะไม่ได้ฟังคุณพูดก็ตาม
4.ใส่เพลงเติมอารมณ์ให้งาน
ลองคิดถึงโชว์ที่เราชอบสมัยเด็กมักจะมีเพลงประกอบเสมอ เพลงจะเป็นตัวปรับโทนของทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของหนัง โฆษณา การแสดงโชว์ใดๆ การพรีเซนต์ของคุณก็เช่นกัน
ถ้าคุณยังนึกไม่ออกว่าควรใช้เพลงแบบใดดี ให้ลองเข้ามาดูได้ที่ Shutterstock.com/Music ที่นี่มีเพลงหลากหลายชนิดให้คุณได้เลือกใช้งานตามความต้องการ
5.โชว์ภาพหรือกราฟสถิติที่เด่นๆ
พวกภาพที่แสดงโชว์ค่าสถิติหรืออินโฟกราฟิกมักจะส่งผลต่อสไลด์พรีเซนต์อย่างมาก แต่ไม่จำเป็นต้องทำให้น่าเบื่อก็ได้ คุณควรโชว์ค่าสถิติโดยรวมในช่วงแรกแล้วค่อยโฟกัสไปยังจุดที่คนดูสนใจมากที่สุด พิจารณาดูว่าข้อมูลใดที่ควรค่าแก่การเสียเวลาดูมากที่สุด
ถ้าคุณอยากจะทราบว่าควรใช้อินโฟกราฟิกในหน้าไหนถึงจะเหมาะ ให้ลองหาเพื่อนที่ไม่รู้เรื่องราวของการพรีเซนต์นี้มาก่อนแล้วลองพรีเซนต์ให้เขาดู แล้วลองถามคำถามพวกเขา ถ้าพบว่าคำถามพวกเขาสามารถตอบด้วยภาพแทนข้อความได้เสียส่วนใหญ่ ให้ลองสร้างอินโฟกราฟิกประกอบทันที
เป้าหมายของคุณคือทำให้ผู้ชมเข้าใจที่สุด ลองจินตนาการว่าผู้ชมกำลังมึนงงกับสิ่งที่คุณพูด แต่คุณทำให้พวกเขาเข้าใจได้ในที่สุดด้วยอินโฟกราฟิกดูสิ มันได้อารมณ์แบบ “อ่าห๊า! เข้าใจแล้ว”
6.ฝึกพรีเซนต์เยอะๆ
การเป็นผู้พูดหรือผู้พรีเซนต์ที่ดีนั้นใช้เวลาในการฝึกฝน ใช่ว่าผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วจะไม่เหงื่อออกมือก่อนขึ้นพรีเซนต์เสมอไป แต่สิ่งนี้จะช่วยให้คุณแตกต่างจากคู่แข่งอย่างเด่นชัด
การเตรียมตัวที่ดีช่วยบรรเทาความกลัวและการฝึกฝนช่วยให้คุณก้าวไปอีกขั้น ยิ่งคุณเติบโตขึ้นไปเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งต้องพูดต่อหน้าคนที่เยอะขึ้นเรื่อยๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า
อย่าปล่อยให้โพเดียมเวทีชนะคุณ ด้วย 6 เทคนิคง่ายๆนี้จะทำให้พรีเซนต์ของคุณโดดเด่นและมัดใจคนดูไปได้อีกนาน