รูปภาพ

แรงบันดาลใจ

การสร้าง “ความสนใจ” ให้กับรูปภาพและวิธีใช้งานอย่างมืออาชีพ

การสร้างความสนใจหรือ “Emphasis” เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้รูปภาพมีจุดเด่นสะดุดตา เป็นจุดที่ทำให้ภาพน่าสนใจและน่ามองได้นานยิ่งขึ้น เป็นอีกเทคนิคที่งานศิลปะใช้กันมานานหลายยุคสมัยเพียงแต่พอในมาใช้ในการถ่ายภาพ หลาย ๆ คนอาจไม่รู้จัก มาดูกันดีกว่าว่าเทคนิคนี้สามารถใช้งานได้อย่างไรบ้าง?

การสร้างความสนใจคือการนำสายตาผู้ชมไปยังจุดที่ต้องการในรูป เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีอะไรที่สำคัญปรากฎอยู่บนภาพ ทำให้ภาพมีความน่าสนใจแม้จะไม่ได้ตั้งใจสังเกตเห็นก็ตาม

การสร้างความสนใจได้นั้นสามารถทำได้ภายในกล้องดิจิทัล จากการตั้งค่าหรือการเลือกโหมดถ่ายภาพ และก็สามารถทำได้หลังกล้องในโปรแกรม เช่น Photoshop

ก่อนการมาถึงของกล้องดิจิทัล ช่างภาพหลายคนมักใช้ห้องมืดล้างฟิลม์ในการตัดแต่งรูปภาพให้สวยงาม เช่น ตัดขอบส่วนเกิน ทำให้ภาพมืดหรือสว่างขึ้นตามใจชอบ แต่ถ้าพูดถึงในขั้นตอนถ่ายภาพ สามารถใช้เทคนิคใช้การจัดองค์ประกอบเข้าช่วยได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ความสนใจเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายรูปภาพ

“ความสนใจทำให้ภาพน่าจดจำ” เป็นเครื่องมือบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วม ภาพในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างใช้วิธีนี้ในการถ่ายทอดเรื่องราวทั้งสิ้น เช่น ภาพ “Migrant Mother” หนึ่งในภาพสุด Iconic ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของการใช้เทคนิคความสนใจ

รูปภาพ
ภาพโดย Everett/Shutterstock

การจัดองค์ประกอบที่ให้ผู้ชมมองไปยังหน้าของผู้หญิงตรงกลางเฟรม ที่แสดงสีหน้าอันเจ็บปวด โดยมีเด็กทั้งสามคนเป็นเหมือนกรอบภาพ โดยศรีษะของผู้หญิงคนนี้เอียงไปยังมือของตน ทำหน้าที่เป็นจุดนำสายตาอีกจุด และมีบริเวณมือบางส่วนไม่ปรากฎบนรูปภาพ อาจถูกนำออกหรือ Crop ทิ้งเพื่อให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

อีกภาพหนึ่งก็คือผู้หญิงและลูก ๆ ของเธอ อาศัยอยู่ในเต็นท์ท่ามกลางพื้นดิน เสริมองค์ประกอบของเรื่องราวผ่านฉากหลังไปพร้อมกับองค์ประกอบหลัก แต่ความสนใจไม่เด่นเท่าภาพแรกเพราะมีพื้นที่เหลือรอบ ๆ เยอะเกินไป สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกฝนได้จากการดูและปฏิบัติซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน

รูปภาพ
ภาพโดย Glasshouse Images/Shutterstock

เทคนิคการสร้างความสนใจให้ภาพ

ให้มองว่าการสร้างความสนใจคือสิ่งที่ต้องมี ซึ่งสามารถขัดเกลาได้ผ่านการฝึกฝน โดยองค์ประกอบที่จะใช้ฝึกฝนมีดังนี้

แสง/เงา

หนึ่งในเบสิคที่ทุกคนต้องมีก็คือการใช้แสงและเงาอย่างเชี่ยวชาญ ช่างภาพสมัยก่อนมีการใช้เทคนิคนี้ในการปรับแสงและเงาในห้องล้างฟิล์ม แต่ถ้าเป็นกล้องดิจิทัลสามารถสังเกตที่ Histogram ในการปรับภาพได้ เช่นกัน

รูปภาพ
ภาพโดย Marcus Paladino

พื้นผิว (Texture)

การถ่ายภาพที่แสดงให้เห็นถึงพื้นผิวเป็นอีกวิธีที่ช่างภาพหลายคนชอบใช้เวลาหาจุดสนใจของภาพไม่เจอ

รูปภาพ
ภาพโดย ArmanO

มุมกล้อง

การนำเสนอมุมกล้องผิดปกติจากภาพทั่วไป สามารถสร้างความสนใจได้ง่าย ๆ เพียงแค่ตั้งกล้องเอียวเล็กน้อยไปยังวัตถุที่ต้องการนำเสนอ สร้างความรู้สึกที่เหมือนเหตุการณ์ในภาพนั้นถูกสั่นสะเทือน

รูปภาพ
ภาพโดย Dmitry Abezgauz

ความชัดตื้นและชัดลึก

เทคนิคที่ต้องพึ่งความสามาถของกล้องเป็นหลัก เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับภาพ เพียงแค่ใช้เลนส์ที่มีค่า F ต่ำและโฟกัสไปยังวัตถุที่ต้องการ ก็จะทำให้ฉากหลังหรือฉากหน้าละลายอย่างง่ายดาย

รูปภาพ
ภาพโดย Kellie Bieser

โฟกัส

ระยะชัดลึกจะเกิดขึ้นได้เกี่ยวข้องกับการโฟกัสเช่นกัน ว่าเราต้องการให้สายตาผู้ชมไปอยู่บริเวณตำแหน่งใดของภาพ

รูปภาพ
ภาพโดย Dizfoto

กฎสามส่วน

พื้นฐานการจัดวางเฟรมรูปภาพที่ศิลปินทุกคนต้องรู้จัก เพียงแค่วางองค์ประกอบไปยังจุดตัดทั้ง 9 ช่องก็จะทำให้ภาพมีความน่าสนใจขึ้นทันที ปัจจุบันกล้องดิจิทัลมีระบบสร้างจุดตัดเก้าช่องขึ้นมาให้ใช้ระหว่างถ่ายภาพได้ด้วย

รูปภาพ
ภาพโดย Monstar Studio

ระยะห่าง

การทิ้งระยะห่างในทีนี้ไม่ได้เหมือนถึงวัตถุในภาพ แต่หมายถึงช่างภาพและตัวแบบ การสร้างระยะห่างแล้วซูมถ่ายจะทำให้ตัวแบบผ่อนคลายและแสดงความเป็นธรรมชาติออกมา

รูปภาพ
ภาพโดย A.sm
รูปภาพ
ภาพโดย Cristina Conti

พื้นที่ว่าง (White space)

หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ Negative space เป็นพื้นที่ ๆ ไว้พักสายตา ช่วยทำให้จุดความสนใจเด่นขึ้น

รูปภาพ
ภาพโดย Jovan Barajevac

การ Cropping

เป็นขั้นตอนหลังการถ่ายภาพเสร็จแล้ว นำมาตัดส่วนเกินออกเพื่อเน้นความสนใจ

รูปภาพ
ภาพโดย Maryna Zhukova

การเล่นสี

เล่นกับสีคอนทราสต์ให้รูปภาพเกิดการจดจำ

รูปภาพ
ภาพโดย Addictive Creative

วางเฟรมหรือสร้างกรอบ

ให้ลองมองหากรอบภาพในธรรมชาติ เช่น ถ่ายทะลุแผ่นไม้ หน้าต่าง หรือรั้ว เป็นต้น

รูปภาพ
ภาพโดย Lysenko Andrii

เส้นนำสายตา

เส้นแนวตั้งหรือแนวนอนสามารถนำสายตาคนดูได้ทั้งสิ้น เป็นอีกหนึ่งวิธียอดนิยมที่นำสายตาคนให้จดจ่อกับวัตถุในภาพ

รูปภาพ
ภาพโดย Ruslan Sitarchuk

รูปทรง

การสร้างรูปทรงให้เกิดในภาพช่วยสร้างความสนใจได้ เช่น รูปทรงสามเหลี่ยม วงกลม หรือสี่เหลี่ยม

รูปภาพ
ภาพโดย pacfoto

น้ำหนักของภาพ

สิ่งนี้ก็คือการวางวัตถุจากใหญ่ไปเล็กหรือเล็กไปใหญ่ วางลำดับของภาพให้สวยงาม

รูปภาพ
ภาพโดย Studio Wout

ซึ่งวิธีการฝึกฝนที่เราแนะนำก็คือการดูภาพในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง แล้วคุณจะรู้ว่าภาพเหล่านั้นสามารถสร้างความรู้สึกบางอย่างให้เกิดขึ้นในใจคุณได้ ทั้งการจัดวางทุกองค์ประกอบลงตัวอย่างเหลือเชื่อ อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กับงานถ่ายรูปภาพของคุณ ไม่แน่ว่าภาพของคุณอาจกลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ก็ได้ในสักวัน

บทความโดย : Emphasis in Photography: What It Is and How to Master It

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Related Blog

 
รูปภาพ 1

ทำไมรูปภาพสวย ๆ กับการตลาดเป็นของคู่กัน!

 
 
ปรับขนาดรูปภาพ ปก

มาดู! วิธีปรับขนาดรูปภาพแบบไม่สูญเสียคุณภาพ

 
 
กราฟิก 10

กราฟิกและช่างภาพต้องมี คู่มือการใช้สีในภาพถ่าย​ (ฉบับสมบูรณ์)

 
 
เรื่องราวเบื้องหลังของช่างภาพสายสัตว์ป่า Jane Rix

เรื่องราวเบื้องหลังของช่างภาพสายสัตว์ป่า: Jane Rix

 

กรุณากรอกข้อมูลสำหรับการติดต่อ





    Type: