สี

แรงบันดาลใจ

เลือกสีให้แบรนด์อย่างไรให้ใช่และถูกใจทุกคน!

สีคือตัวแทนและภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างมากในแง่ของจิตวิทยาและภาพจำ มาเรียนรู้การเลือกชุดสีให้กับแบรนด์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใช่และถูกใจทุกคน!

การจัดวางองค์ประกอบ สี และแสงคือส่วนหนึ่งในการออกแบบและมีบทบาทต่อสมองในการประเมินความรู้สึก ทุกรายละเอียดมีอิทธิพลต่องานออกแบบ ศิลปะ และจินตนาการของเรา ขึ้นอยู่กับวิธีการสื่อสารออกไป

สีก็คือหนึ่งในบทบาทสำคัญของการประมวลผลในสมองของเรา ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญอย่างมากในการเลือกชุดสีที่เหมาะสมกับตัวแบรนด์ให้มากที่สุด

ไม่ว่าคุณจะพึ่งสร้างแบรนด์หรือกำลังรีแบรนด์อยู่ ก็สามารถนำเทคนิคของเราไปใช้ได้เช่นกัน แต่ก่อนจะทำแบบนั้นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคนที่เห็นสีเหล่านี้รู้สึกอย่างไร

จิตวิทยาการเลือกใช้สีให้กับแบรนด์

คุณเลือกซื้อสินค้าจากสีตลอดเวลาโดยที่คุณไม่รู้ตัว สิ่งนี้มักเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณแต่จริง ๆ แล้ววิทยาศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่าทฤษฎีการใช้สี

ทฤษฎีสี Vs. จิตวิทยาสี

ทฤษฎีสีจะเป็นตัวอธิบายว่าสีต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีลักษณะอย่างไรเมื่อนำไปรวมกับโทนสีต่าง ๆ และถูกพัฒนาจนกลายเป็นจิตวิทยาสี ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

ทั้งสองสิ่งคือความรู้ที่แบรนด์จะต้องใช้ในการพัฒนาและเลือกชุดสีที่เหมาะสมในการทำการตลาดต่อไป

จิตวิทยาสีจะมุ่งเน้นไปที่สัญลักษณ์และความหมายของสีแต่ละประเภท รวมถึงผลกระทบของสีและการผสมผสานเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจมนุษย์อย่างไรได้บ้าง เป็นเครื่องมือที่นักการตลาดใช้ในการสร้างแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละเฉดสีกระตุ้นความรู้สึกไม่เหมือนกัน เป็นการกำหนดอารมณ์ของผู้ชมให้แสดงออกต่อชิ้นงานนั้น ๆ อย่างตั้งใจ

สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องเข้าใจมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ว่าพวกเขามีอารมณ์ร่วมกับสีที่คุณจะใช้อย่างไร เพราะผลกระทบของจิตวิทยาสีไม่ใช่สากล ต่างคนต่างวัฒนธรรมมีความเข้าใจสีที่ไม่เหมือนกัน ทำให้คุณต้องศึกษาก่อนทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ

การเลือกใช้สีที่ถูกต้องนั้นหมายถึงมูลค่าของแบรนด์และจำนวนการซื้อขายสินค้าจะเพิ่มขึ้นด้วย

สีโทนอุ่น

สีโทนอุ่นอย่างเช่น สีแดง สีส้มและสีเหลือง สร้างความรู้สึกในสมองเราทันทีว่านี่คือสีที่อบอุ่น สดใสและมีชีวิตชีวา สีเหล่านี้สามารถสื่อสารได้มากมาย แต่ถ้าใช้ไม่เป็นก็อาจตีกันจนความหมายหายไปได้ เพราะสีโทนอุ่นส่วนใหญ่เป็นสีที่เด่นชัดจนเกินไป เป็นสีที่คอยช่วยยกระดับสีรอบข้างขึ้นมาให้โดดเด่น และไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากสีอื่น ๆ เท่าไหร่นัก

ควรใช้สีโทนอุ่นพอประมาณ โดยเน้นที่วัตถุหลักของแบรนด์ หรือจับคู่กับสีโทนเย็นเพื่อสร้างความสมดุล

สีโทนเย็น

ขั้วตรงข้ามของสีโทนอุ่น ที่มีความเย็นยะเยือกและให้ความสงบที่มากกว่า เช่น สีฟ้า สีเขียว และสีม่วง หรือแม้แต่สีชมพูที่เป็นได้ทั้งสีโทนอุ่นและโทนเย็น เข้ากันได้ดีกับแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารเรื่องความเรียบง่าย

มาดูกันดีกว่าว่าชุดสีแบบใดที่เหมาะสมกับงานของคุณ

แดงสุดฤทธิ์พิชิตใจ

ชุดสี
ภาพโดย Kobby Dagansaisnapscarlos castillaNEGOVURA31Nuchylee, และ luca amedei

ทุกประเทศล้วนมีความรู้สึกต่อสีแดงที่ต่างกันในบางครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือความรู้สึกสดชื่น กระตือรือร้น ทรงพลัง ความแข็งแรง และความว่องไว เป็นสีที่สั่งให้ผู้ชมต้องหยุดดูทันทีเพื่อครุ่นคิดกับบางสิ่ง

สิ่งที่น่าสนใจก็คือสีนี้เราจะเห็นบ่อยมากในงานออกแบบโลโก้ เช่น CNN, Coca Cola และ Pinterest ต่างใช้สีแดงในงานโลโก้ของบริษัท ซึ่งทั้งสามแบรนด์นี้สื่อสารไว้ประมาณว่า 

  • CNN ให้พลังแห่งการเรียนรู้
  • Coca-Cola ให้พลังแห่งความสนุกสนาน
  • Pinterest ให้พลังแห่งความสร้างสรรค์

แบรนด์เหล่านี้ล้วนถ่ายทอดอารมณ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ เพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ

สีส้มอบอุ่นสายตา

ชุดสี
ภาพโดย David CarilletBanana Republic imagesJoshua DavenportvvvitaGerardo Borbolla, และ Rapeepat Mantanarat

สีส้มเป็นอีกสีที่ให้ความสว่างและความสดใส มอบความสมดุลให้กับทุกชิ้นงานเหมือนกับสีแดง แต่มีความจืดกว่าเล็กน้อย จึงทำให้สีส้มไม่ดูดุดันจนเกินไป

เนื่องจากสีส้มมีชื่อมาจากผลไม้ ทำไมให้บ่อยครั้งที่ถูกใช้ในโลโก้เครื่องดื่ม เช่น Fanta และ Crush เพราะสีส้มให้ความรู้สึกสนุสนานโดยธรรมชาติ

แต่ถึงอย่างนั้นสีส้มก็ยังถูกใช้ในโลโก้ Amazon ซึ่งเป็นสีดำและสีขาว ยกเว้นแต่ลูกศรที่เชื่อมต่อบริเวณตัว A ถึง Z ทำให้เกิดการดึงดูดสายตาที่ยอดเยี่ยมและอบอุ่น

สีเหลืองแสนสดใส

ชุดสี 1 1
ภาพโดย KamiraDuet PandGWonnakorn ThongjamKucher SerhiiNataliya Peregudova, และ Roberto Binetti.

ทุกสีล้วนมีความหมายที่ขัดแย้งกันเอง โดยเฉพาะสีเหลืองที่มีสีสว่างสดใสและเป็นเชิงบวกสูง สื่อสารถึงเรื่องความสุข แสงอาทิตย์ ฤดูร้อน และความสุข แต่ก็ยังคงสื่อสารในเรื่องเชิงลบได้ด้วย เช่น อาการป่วย ความขี้อิจฉา และความอันตราย

ซึ่งมีหลายองค์กรใช้สีเหลืองสื่อสารด้านดี ๆ ออกมา เช่น McDonals, Nikon และ National Geographic ถึงแม้แต่ละบริษัทจะค้าขายผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน แต่เป้าหมายที่เหมือนกันคือทำให้ผู้บริโภคมีความสุขในชีวิต

สีเขียวเฟรนลี่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

ชุดสี 1 2
ภาพโดย Oliver HoffmannArie v.d. WoldeReinhold LeitnerB BrownAsier Villafranca, และ Johnny Lye

บางพื้นที่ “สีเขียว” สื่อสารได้ถึงความหมายว่า “ไป” โดยเฉพาะสัญญาณไฟจราจร แต่ในระดับสากลนั้นสีเขียวหมายถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความยั่งยืน

หลายองค์กรล้วนใช้สีเขียวในแบรนด์ตนเอง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม เช่น Whole Foods และ John Deere

สีน้ำเงินแสนสงบ

ชุดสี 1 3
ภาพโดย Johnny LyesolarsevenyurokNiyazzTomatito, และ PHOTOCREO Michal Bednarek

ถ้าคุณอยากไ้ด้สีที่เห็นแล้วรู้สึกสงบเงียบ ให้นึกถึงสีน้ำเงินที่ส่วนใหญ่จะนึกถึงมหาสมุทรและการทำสมาธิ ทำให้สีน้ำเงินเหมาะสมกับแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารเรื่องสินค้าและบริการที่แสนเงียบสงบ ทำให้เราเห็นธนาคารและบริษัทให้บริการเรื่องการเงินหลายแห่งใช้สีน้ำเงินในงานออกแบบ

หากลูกค้าทำธุรกรรมเรื่องการเงิน อย่างน้อยสีที่ใช้ควรสื่อสารได้ว่าถ้าพวกเขาทำธุรกรรมกับเรา จะได้รับบริการที่เงียบสงบและไร้กังวล แม้ว่าธุรกรรมหลายอย่างจะตึงเครียดก็ตาม

สีม่วงสูงศักดิ์ 

ชุดสี 1 4
ภาพโดย emin kuliyevPopov Nikolayzhang kanMongProMaria Vonotna, และ Vasilev Evgenii

หากคุณต้องการทำให้งานมีกลิ่นอายของความหรูหราและสูงศักดิ์ สีม่วงคือวิธีที่ดีในการบรรลุเป้าหมาย และยังสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการอีกด้วย

แบรนด์ต่าง ๆ เช่น Yahoo และ Cadbury ใช้สีม่วงเป็นพื้นหลังสำหรับโลโก้บริษัท ทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ทันที 

โดยที่ Yahoo สื่อสารถึงปัญญาและความรู้ ในส่วนของ Cadbury ผู้ก่อตั้งเคยถวายผลิตภัณฑ์ของตนให้กับสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ จึงทำให้แบรนด์มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหรูหรา

สีขาว-ดำสุดล้ำลึก

ชุดสี 1 5
ภาพโดย Unique Visiondimitris_kkaravaiJumnian PeltMikhail hoboton Popov, และ PhilipYb Studio

บ่อยครั้งที่สีขาว-ดำ ถูกใช้คู่กัน เพราะสีดำให้ความรู้สึกลึกลับและสีขาวให้ความรู้สึกสะอาดบริสุทธิ์ เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดความรู้สึกสมดุล

Cartoon Network ใช้สีดำและสีขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างโลโก้ที่มีสมดุลที่ดี คล้ายกับยินหยางที่สื่อสารถึงแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

ในเรื่องของอารมณ์และความหมายเบื้องหลัง สีทุกอย่างบนโลกสามารถสื่อสารและสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้เกิดขึ้นได้มากมาย และบ่อยครั้งที่เราเห็นว่าสีที่เรียบง่ายจะสร้างผลกระทบได้ดีกว่าสีที่ฉูดฉาดเยอะเกินไป ถ้าถูกใช้อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แบรนด์ได้รับการจดจำได้เป็นอย่างดี

อย่าลืม “Simple is the key” หรือความเรียบง่ายคือสิ่งสำคัญ (ไม่มีใครสามารถจำโลโก้ที่อัดแน่นไปด้วยสีและความซับซ้อนได้) ถ้าให้ดีเลือกชุดสีแค่ 1-2 สีก็เพียงพอแล้ว

บทความโดย : Brand Colors: The How and Why of Picking the Right Colors

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Date: 10/06/2567

Related Blog

 
Stock photo 11

เติมสีสันให้กับเดือน Pride Month ด้วย 10 สี Neon จาก stock photo

 
 
กราฟิก 10

กราฟิกและช่างภาพต้องมี คู่มือการใช้สีในภาพถ่าย​ (ฉบับสมบูรณ์)

 
 
ปกชุดสี

คู่มือสร้างชุดสีให้กับเว็บไซต์ (พร้อมตัวอย่างชุดสี 20 รูปแบบ)

 
 
rgb vs cmyk ปก

RGB vs. CMYK ใช้สีแบบไหนดีในงานของคุณ?

 

กรุณากรอกข้อมูลสำหรับการติดต่อ





    Type: