เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับอุณหภูมิสีว่าคืออะไร และจะนำไปปรับใช้กับการงานถ่ายภาพอย่างไร
อุณหภูมิสีคือเครื่องมือวัดอุณหภูมิแสงที่ช่างภาพทุกคนต้องรู้จัก ในบทความนี้คุณจะได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือนี้มีที่มาอย่างไร รวมถึงประโยชน์จากการใช้งานเครื่องมือนี้ในแต่ละอุณหภูมิทำอย่างไร
อุณหภูมิสี (Kevin Scale) คืออะไร?
หนึ่งใน 3 หน่วยของอุณหภูมิหลักระดับสากล ฟาเรนไฮต์ เซลเซียส และเควินซึ่งเป็นหน่วยอุณหภูมิของสีซึ่งคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อว่าคุณ William Thomson หรือรู้จักกันในนาม Lord Kelvin ในปี 1848
สิ่งนี้เราจะใช้บ่อยสุดเมื่อพูดถึงอุณหภูมิของแสง (เบื้องต้น เช่น โทนอุ่นและโทนเย็น) เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ต่อช่างภาพที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิของสีได้อย่างสมบูรณ์
เราจะมาแนะนำการจัดแสงแบบสามจุด คุณสมบัติของอุณหภูมิสีโดยสรุป และอธิบายว่าต้นกำเนิดของแสงเหล่านี้ทำไมถึงเป็นสีแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นโทนร้อนหรือเย็น พร้อมวิธีการวัดอุณหภูมิสีที่ใช้เทียบกับเคลวินสเกล
แน่นอนว่าเมื่อเราได้ยินคำว่า “เคลวิน” เรามักจะนึกถึงการวัดความร้อนเป็นหลัก แต่สิ่งนี้ใช้ได้กับอุณหภูมิสีและแสงได้ด้วย
แนวคิดก็คือการเทียบแหล่งที่มาของแสงกับทฤษฎีการแผ่รังสีของวัตถุดำ (Black body radiation) เมื่อสารได้รับความร้อนมันจะเปล่งแสงออกมา ปริมาณความร้อนของวัตถุเหล่านั้นจะเป็นตัวกำหนดสีของแสง ยิ่งร้อนมากเท่าไหร่สีก็ยิ่งเปลี่ยนเท่านั้น เหมือนกับเปลวไฟสีแดงที่จะไล่สีจนกลายเป็นสีน้ำเงิน
ช่วงของอุณหภูมิสีเคลวินมีความกว้างเท่าไหร่?
ช่วงอุณหภูมิสีเคลวินมีความกว้างตั้งแต่ 1000 – 10,000K ยิ่งตัวเลขต่ำยิ่งอุ่น (สีแดง – สีส้ม) ในขณะที่ยิ่งสูงยิ่งเย็น (สีขาว – สีน้ำเงิน)
- 2000k – 3000k คือสีขาวเหลืองจากไฟหรือหลอดไฟในบ้าน
- 3000k – 4500k แสงจะไฟทังสเตนและท้องฟ้าช่วงเช้าตรู่
- 4600k – 6500k แสงที่ส่องจากพระอาทิตย์ ท้องฟ้ามืดครึ้ม และหลอดไฟ HMI
สามค่านี้ถูกใช้บ่อยที่สุดในการถ่ายภาพ แต่ในโลกนี้ยังมีอุณหภูมิสีให้คุณใช้มากมาย มาค้นหากันดีกว่าว่าอุณหภูมิสีแบบไหนที่เหมาะสมหรับคุณ
เราจะเริ่มจาก:
- Extremely warm light
- Very warm light
- Warm light
- Warm white light
- Relatively warm white light
- White light
- Relatively cool white light
- Cool white light
- Day white light
- Very cool white light
- Blue sky light
ต่อไปคุณจะได้ค้นพบวิธีการใช้แสงข้างต้นในการสร้างบรรยากาศแสนอบอุ่นในร่ม หรือแสงสุดอลังการในพื้นที่กลางแจ้ง โดยใช้อุณหภูมิสีที่หลากหลายในการปรับใช้งาน
ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการถ่ายภาพวัตถุในแสงกลางวันแต่ให้ดูเป็นโทนเย็น คุณต้องตั้งค่าอุณหภูมิบนกล้องให้เหมาะสมกับสภาพแสงที่อยู่ตรงหน้าขณะถ่ายทำ คุณจะได้ทราบว่าควรเพิ่มหรือลดอะไรบ้าง ไม่อย่างนั้นคุณจะเหนื่อยถ้าต้องมาจบงานหลังคอมในภายหลัง
Extremely warm light: 1000k-1900k
สุดขอบสเกลของอุณหภูมิเคลวินก็คือสีดำ ซึ่งเราจะขยับขึ้นมาสักเล็กน้อยบริเวณ 1900k ซึ่งเป็นสีคล้าย ๆ เปลวเทียน สร้างแสงสีส้มและแดง
โปรดใช้สเกลอุณหภูมินี้อย่างระมัดระวังในบริเวณแสงอุ่นจัด เพราะแสงก่อนที่พระอาทิตย์จะตกจะอยู่ที่สเกล 3500k ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อาจจะได้ถึง 3400k หรือ 3700k กล้องบางชนิดสามารถปรับสมดุลอุณหภูมิสีได้อัตโนมัติเป็น 5000k หรือ 5600k
ด้วยเหตุนี้ คุณจึงต้องทดลองปรับการตั้งค่าของกล้องตลอดเวลา ในสภาพที่แสงแตกต่างกันแต่ละช่วงเวลา
แม้ว่ากล้องจะสามารถปรับสมดุลแสงได้อัตโนมัติ แต่ก็อาจไม่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้เสมอไป คุณอาจจะพบว่าการตั้งค่าเองตอบโจทย์ยิ่งกว่าก็ได้
ถ้าคุณใช้ Gray Card (แผ่นกระดาษสีเทากลาง มีไว้เพื่อวัดค่าแสง) จะมองเห็นผ่านกล้องว่ามีเปลวไฟสีส้ม และสีน้ำเงินเกิดขึ้น จนกลายเป็นแสงสีขาวในที่สุด
แน่นอนว่าเทียนไม่สามารถปล่อยแสงสีขาวได้ ดังนั้นคุณควรระวังการถ่ายภาพในสภาพแสงเหล่านี้
Very warm light: 2000k-2500k
ถัดจากความร้อนแรงที่ 1900k เราก็มุ่งสู่ระดับ 2000k-2500k ระดับเควินสเกลสีที่เรามองเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปเป็นแสงขาวอุ่น สบายตา โดยปกติไฟถนนจะตั้งค่าความสว่างไว้ที่ 2000k เนื่องจากช่วยให้สบายตาเวลาขับขี่
ถ้าคุณเป็นคนตื่นเช้าหรือนอนเช้า คุณจะคุ้นเคยกับแสงเหล่านี้เป็นอย่างดี ซึ่งระดับอุณหภูมิสีจะอยู่ที่ 2000k หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า Golden Hour (แสงทองคำ)
Warm light: 2800k-2900k
นี่คืออุณหภูมิแสงที่เราพบในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะโคมไฟ ไฟเพดานหรือแสงไฟในพื้นที่ปิด ในการถ่ายภาพนี่คือแสงที่จะให้ความรู้สึกอบอุ่น เบาสบาย รู้สึกน่าอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมแบบปิด
Warm White Light: 3200k
นี่คือแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพบ่อยที่สุด ซึ่งจะอยู่ที่ 3200k แสงขาวโทนอุ่นที่นวลตา นุ่มนวล และเป็นค่ากลาง ทำให้เป็นแสงที่ช่างภาพหลาย ๆ คนใช้กัน ซึ่งจะอยู่ในหลอดไฟฮาโลเจนและเฟรสเนล
Relatively Warm White Light: 3000k-3500k
แสงที่ช่างภาพทุกคนชอบใช้ในการถ่ายภาพ นั่นก็คือช่วง Golden Hour (แสงทองคำ) ที่อุณหภูมิสี 3000k-3500k เกิดขึ้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและลับขอบฟ้า ทิ้งแสงสีทองไว้ดูต่างหน้ายามเวลาพลบค่ำ
เทคนิคการถ่ายภาพในช่วงเวลานี้ก็คือ ให้คุณหลีกเลี่ยงการปรับค่าอุณหภูมิกล้องเพื่อที่จะได้สัมผัสกับแสงทองโดยตรง ไม่อย่างนั้นแสงทองนั้นจะผิดเพี้ยนไป
White Light: 3500k-4000k
หลังจาก 3000k-3500k เป็นต้นไปจะไม่เหลือแสงโทนอุ่นอีกแล้ว แต่จะเหลือแค่แสงสว่างสีขาว แต่ในบางครั้งอุณหภูมิสีระดับ 4000k ก็ถูกเรียกว่าแสงสีขาวธรรมชาติ
หลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีช่วงอุณหภูมิอยู่ที่ 3500k – 4300k ซึ่งอยู่ค่ากลางของเควินสเกล ไม่รู้สึกถึงความร้อนหรือความเย็น เห็นได้บ่อยในห้องครัวระดับมืออาชีพ ร้านขายของ และออฟฟิศช่วงกลางวัน
ในสถานที่ทำงาน แสงเหล่านี้ดูเป็นธรรมชาติและเป็นค่ากลางที่สบายตา แต่สำหรับการถ่ายภาพคือแสงที่แบนและทำให้ภาพขาดความลึกซึ้งรวมถึงอารมณ์
Relatively Cool White Light: 4100k
ระดับของเคลวินสเกลอาจเกิดความขัดแย้งในตัวเองบางครั้ง (เช่น ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกที่เกิดแสงเย็นมากกว่าแสงอุ่น) และแสงจันทร์ก็เช่นกัน เพราะระดับอุณหภูมิสีของสิ่งนี้คือ 4100k ซึ่งถ้าเทียบระดับสเกลกันจะทำให้แสงจันทร์อุ่นกว่าแสงอาทิตย์ แม้โดยทั่วไปเราจะรับรู้ว่าแสงจันทร์เย็นกว่าก็ตาม
Cool White Light: 4500k-5000k
ในช่วงเช้าและช่วงบ่ายแก่ ๆ พระอาทิตย์จะไม่อยู่ในตำแหน่งสูงที่สุดเหนือหัวเรา แต่ก็ไม่ได้ขนานไปกับเส้นขอบฟ้าเหมือนช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก เราจะคงสัมผัสถึงความอบอุ่นได้ และแสงไม่แรงเท่าช่วงกลางวัน แต่แสงก็ไม่สวยเท่าช่วงเย็นเช่นกัน นี่คือแสงที่อยู่ในช่วงอุณหภูมิ 4500k-5000k
เป็นแสงที่พบได้ง่าย ๆ ในแฟลชกล้องทั่วไป
Day White Light: 5600k
นี่คือแสงในช่วงกลางวันที่ไร้เมฆบดบัง นี่คือแสงที่เมื่อเราเห็นแล้วจะรู้ทันทีว่านี่คือช่วงกลางวัน เพราะจะไม่เหลือสีอุณหภูมิใด ๆ ให้คุณเห็นอีกเลย ช่างภาพและช่างไฟมืออาชีพจะใช้ไฟ LED เพื่อช่วยเติมแสงให้ภาพมีสีสันขึ้น
Very Cool White Light: 6500k-7000k
แสงในช่วงนี้คือแสงสีน้ำเงินที่พบเห็นได้มากที่สุดบนโลก เป็นแสงที่พระอาทิตย์สาดส่องลงมาบนพื้นโลกผ่านกลุ่มเมฆ หรือช่วงฤดูหนาวในวันที่เมฆครึ้มในช่วงบ่าย นี่คือแสงที่ไม่เหมาะในการถ่ายภาพบุคคล แต่นี่คือแสงที่ช่วยให้ภาพ Landscape สวยงามได้
Blue Sky Light: 9000k-10000k
ค่าอุณหภูมิสูงสุดของเควินสเกล ที่มักใช้ในการสร้างความสับสน โดยค่าตั้งแต่ 900k (ไปจนถึง 2000k) คือสีของท้องฟ้าสดใสสีคราม แต่ก็ต้องมีแสงอาทิตย์ด้วย ท้องฟ้าจะสดใสสีครามได้อย่างไรถ้าไม่มีแสงอาทิตย์สาดส่อง
ช่างภาพจะชื่นชอบแสงเหล่านี้มาก เมื่อคุณถ่ายภาพภายใต้ท้องฟ้าเหล่านี้ คุณจะพบว่าภาพของคุณสวยงามแปลกตา ช่วยยกระดับภาพให้ชวนมอง
ตัวอย่าง ภาพถ่ายทะเลสาบการ์ดา (ด้านบน) ใช้อุณหภูมิสี 5600k ถ่ายในฤดูร้อนในวันแดดจ้า ซึ่งไม่มีอะไรผิดปกติในภาพนี้แต่อย่างใด
แต่พอเปลี่ยนอุณหภูมิสีเป็น 9000k (ด้านบน) เป็นการใส่โทนอุ่นแทนโทนเย็น ทำให้ภาพแรกดูเย็นกว่าภาพล่าง ให้ความรู้สึกถึงพระอาทิตย์สาดส่องและน่าเชิญชวน
ปรับค่าอุณหภูมิสีของคุณให้ตรงด้วยเคลวินสเกลก่อนลงมือถ่ายทำเสมอ นี่คือเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับช่างภาพ นักสร้างภาพยนตร์ และนักตัดต่อ เพื่อที่คุณจะรักษาอารมณ์และความสมบูรณ์ของภาพไว้ได้ตั้งแต่เริ่ม ไม่ต้องปวดหัวกับงานช่วง Post-production
บทความโดย : What Is the Kelvin Scale? The Ultimate Guide to Every Color Temperature
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24