2

แรงบันดาลใจ

ทำไมธุรกิจขายสินค้าแบบ D2C ถึงชอบใช้งานออกแบบมินิมอล

ความมินิมอลเข้ามาครองใจแบรนด์สไตล์ D2C อย่างล้นหลาม ทำไมถึงเป็นแบบนั้นและสิ่งนี้จะเชื่อมโยงถึงลูกค้าของเราได้อย่างไร มาหาคำตอบไปด้วยกัน

Shutterstock 2567 12 24 at 11.23.40
ภาพโดย 3DJustincase.

D2C คืออะไร?

D2C หรือ Direct-to-consumer คือ รูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือแบรนด์ขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่ผ่านตัวกลาง เช่น ร้านค้าปลีก หรือผู้จัดจำหน่าย การดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้ช่วยลดต้นทุน เพิ่มการควบคุมแบรนด์ และสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้า

ซึ่งการออกแบบของแบรนด์สไตล์นี้มักใช้ตัวอักษรฟอนต์ Sans-Serif, พื้นหลังสีเรียบ, การจัดวางแบบเลย์เอาต์ใช้เส้นกริด และ Texture ธรรมชาติ ทุกคนอาจเคยเห็นงานออกแบบนี้ในฟีด Instagram หรือ Pinterest ของคุณ หรืออาจเคยซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ใช้แนวทางมินิมอลนี้มาแล้ว

แรงบันดาลใจจากการรีแบรนด์ของ Airbnb ในปี 2014 ที่เรียกว่า “มินิมัลลิสม์แบบสตาร์ทอัพ” ได้กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในแพลตฟอร์มออนไลน์ อุตสาหกรรมหลากหลายประเภทเริ่มปรับลุคให้คล้ายคลึงกัน สไตล์ที่เรียบง่ายแต่ยืดหยุ่นนี้ ทำให้เหมือนจะขายอะไรก็ได้ โดยเฉพาะในวงการ D2C (Direct-to-Consumer) ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด การจัดวางผลิตภัณฑ์และนางแบบบนพื้นหลังสีโทนเรียบ กลายเป็นมาตรฐานสำหรับแบรนด์ D2C จำนวนมาก

Shutterstock 2567 12 24 at 11.23.44
ภาพโดย Lepusinensis.

การเติบโตของโลกออนไลน์

เมื่อแบรนด์จำนวนมากขึ้นหันหน้าเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โซเชียลมีเดียยังคงเติบโตในฐานะเป็นหนึ่งในช่องทางการตลาดที่สำคัญ แพลตฟอร์มอย่าง Instagram และ Pinterest กลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับธุรกิจในการสร้างแบรนด์และเชื่อมโยงกับผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด คอนเทนต์ที่น่าสนใจและการสื่อสารที่ปรับแต่งให้เหมาะกับแต่ละบุคคลช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้โซเชียลมีเดียแตกต่างจากการโฆษณาแบบดั้งเดิม เช่น โทรทัศน์หรือสื่อสิ่งพิมพ์

A,Close up,View,Of,An,Open,Jar,Of,White,Cosmetic
ภาพโดย Addictive Creative

การตลาดผ่านโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น แบรนด์จำนวนมากจึงนำเสนอความสวยงามเฉพาะตัวเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของตน ด้วยรูปภาพที่สดใสพร้อมกับการปรับแต่งโทนสีที่นุ่มนวล ซึ่งเรียกกันว่า “Instagram aesthetic” ได้กลายเป็นแนวทางการออกแบบมาตรฐานสำหรับสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ นอกจากนี้ แพลตฟอร์มดิจิทัลยังมีอิทธิพลต่อรูปลักษณ์ของแบรนด์อีคอมเมิร์ซหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพ โลโก้ หรือการออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกปรับให้เหมาะสมกับสัดส่วนของหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัล

สำหรับดูบนหน้าจอโดยเฉพาะ

การนำเสนอคอนเทนต์บนโลกออนไลน์กลายเป็นสิ่งจำเป็น แบรนด์จำนวนมากจึงออกแบบกราฟิกเพื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลโดยเฉพาะ ด้วยขนาดหน้าจอที่หลากหลายทั้งในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ การออกแบบที่ดูรกเกินไปมักทำให้เว็บไซต์ โพสต์ และรูปภาพมองเห็นได้ยากถ้ามีขนาดเล็ก เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่าน แบรนด์ต่าง ๆ จึงหันมาใช้สไตล์การออกแบบที่เรียบง่าย (มินิมอล) สำหรับทุกแพลตฟอร์ม

Shutterstock 2567 12 24 at 11.19.28
ภาพโดย MagicalKrew และ doleesi.

ไม่ว่าจะเป็นการปรับโลโก้ ตัวอักษร โทนสี หรือ การออกแบบเว็บไซต์ ให้เรียบง่าย ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นสไตล์มินิมอล รายละเอียดที่ดูเกินความจำเป็นจะถูกตัดออกไป แต่ก็ยังมีเส้นบาง ๆ ระหว่าง ความเรียบง่ายอย่างมีศิลปะ กับ ความเรียบง่ายที่ไม่มีศิลปะ

เมื่อสตาร์ทอัพจำนวนมากหันมาใช้สไตล์มินิมัลลิสต์ คำถามที่ตามมาคือ แบรนด์เหล่านี้แค่ทำเอากระแส (blandwagon) หรือสไตล์นี้มันตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้จริง?

สูตรสำเร็จของความมินิมอล

องค์ประกอบหลักของแนวทางการออกแบบนี้ประกอบด้วย พื้นหลังที่เรียบง่าย, ฟอนต์แบบ Sans Serif, พื้นผิว (Texture) และสีตามธรรมชาติ สไตล์มินิมัลลิสต์นี้สามารถพบได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่แบรนด์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไปจนถึงแฟชั่นยั่งยืนระดับไฮเอนด์ มันมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ได้ในหลายรูปแบบ

Shutterstock 2567 12 24 at 11.19.44 1
Shutterstock 2567 12 24 at 11.19.49 1
Shutterstock 2567 12 24 at 11.19.56 1

มีเหตุผลอยู่เบื้องหลังในงานสไตล์นี้ รูปลักษณ์ที่เรียบง่ายช่วยสร้างความรู้สึกที่ไม่รกเกินไปให้กับแบรนด์ เมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการถูกนำเสนอในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน การซื้อสินค้าก็จะง่ายขึ้นตามไปด้วย การจัดแสดงรองเท้าบนพื้นหลังหินอ่อนธรรมชาติ หรือการจัดสไตล์กางเกงยีนส์กับเสื้อยืดขาวบนพื้นหลังเรียบง่าย โดยเน้นที่ตัวผลิตภัณฑ์เป็นหลัก กระตุ้นให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว

Shutterstock 2567 12 24 at 11.20.05
ภาพโดย Prose.

นอกจากภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ดูสมบูรณ์แบบแล้ว แบรนด์ D2C ยังลดจำนวนผลิตภัณฑ์ในสายการผลิตของตนลงด้วย หลักการ “น้อยคือมาก” หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Less is more แทนที่จะมีผลิตภัณฑ์เยอะแยะมากมายจนทำให้ผู้บริโภคสับสน แบรนด์ต่าง ๆ มุ่งเน้นการลดผลิตภัณฑ์ให้เหลือน้อยลงเพื่อให้คุณภาพของสินค้าอยู่ในระดับสูงสุด การเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนจำกัดช่วยให้กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น

Shutterstock 2567 12 24 at 11.20.12
ภาพโดย Care/Of.

แม้ว่าสไตล์มินิมอลจะมาแรงในยุคสมัยนี้ แต่ในอนาคตนั้นไม่แน่ไม่นอนเสมอไป เพราะประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์มาแล้วว่าโลกของศิลปะและการออกแบบมีจุดเปลี่ยนของมัน ซึ่งจะยังคงหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา ไม่ต่างกับเทรนด์อื่น ๆ 

Shutterstock 2567 12 24 at 11.20.17
ภาพโดย Allbirds’s Instagram page.

บทความโดย : Why Direct-to-Consumer Brands Embrace Minimalist Design

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Related Blog

 
1 2

เทคนิคลับ! วิธีใช้ สีโทนกลาง กับงานออกแบบสไตล์มินิมอล

 
 
เฟมินิสต์ 5

ประวัติศาสตร์ของเฟมินิสต์ผ่านภาพถ่าย พวกเขาเคยเป็นอย่างไร?

 
 
1 4

พื้นที่ว่าง (White space) ในงานออกแบบคืออะไร และทำไมถึงสำคัญ?

 
 
1 15

“เทรนด์งานออกแบบ” ประจำปี 2025! จาก Number 24

 

กรุณากรอกข้อมูลสำหรับการติดต่อ





    Type: