กราฟิก

Inspiration

กราฟิกและช่างภาพต้องมี คู่มือการใช้สีในภาพถ่าย​ (ฉบับสมบูรณ์)

กราฟิก
ภาพโดย Shutterstock.AIDenis MoskvinovVictoria Chudinova, และ Natalja Petuhova.

การใช้สีในภาพถ่ายเป็นเทคนิคลับที่ใช้ควบคุมการตอบรับของคนดู ยิ่งใช้สีฉลาดยิ่งทำให้งานของคุณมีความน่าสนใจ เปลี่ยนจากภาพที่ดูน่าเบื่อให้กลายเป็นงานระดับมาสเตอร์พีช คู่มือการใช้สีภาพนี้จะแนะนำการใช้สีรวมถึงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ให้คุณสามารถนำไปใช้ได้ในงานถัดไปของคุณ

กราฟิก
ภาพโดย Master1305Master1305, และ Master1305.

1.การถ่ายภาพสีเกิดขึ้นเมื่อไหร่?

การคิดค้นวิธีถ่ายภาพสีครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1855 โดยนักฟิสิกส์ชาวสกอตแลนด์ James Clerk Maxwell โดยการนำทฤษฎีสีทั้งสามมาผสมกัน ได้แก่ สีแดง สีเขียวและ สีน้ำเงิน มารวมในฟิลเตอร์ถ่ายภาพ ทำให้ภาพขาวดำกลายเป็นภาพสีโดยสมบูรณ์

ในปี 1861 ภาพถ่ายสีครั้งแรกเกิดขึ้นโดยช่างภาพและผู้คิดค้นกล้องถ่ายภาพสีชาวอังกฤษ Thomas Sutton โดยใช้ทฤษฎีของ Maxwell มาต่อยอด

กราฟิก

ในช่วงแรกของการถ่ายภาพสีนั้นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ และเริ่มเปลี่ยนมาเเป็นระบบ Plate screen process ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักฟิสิกส์ John Joly ในปี 1894

Plate screen process ของคุณ Joly ใช้แผ่นกระจกที่มีเส้นสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียวที่มีรายละเอียดมากมาใช้งาน ทำให้เกิดฟิลเตอร์จอที่นำมาแปะไว้บริเวณหน้าเลนส์

แล้วการถ่ายภาพสีเริ่มได้รับความนิยมเมื่อไหร่? ตลอดเวลาหลายสิบปีจนถึงช่วงต้นปี 2000 การถ่ายภาพสีเริ่มมีความก้าวหน้าและได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ 

ช่างภาพที่มีกล้องถ่ายภาพสีมีความต้องการผลิตผลงานขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการค้นคว้า รวมถึงการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ภาพบุคคล ครอบครัวชนชั้นกลา และเหตุการณ์ทางสังคม

การถ่ายภาพสีเกิดขึ้นตามความต้องการต่าง ๆ เพื่อให้สีในงานมีความแม่นยำและครบถ้วนมากขึ้น เช่น ภาพถ่ายสงครามและภาพถ่ายแฟชั่น

พอกล้องดิจิทัลถูกคิดค้นขึ้นมาในปี 1950 และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสมบูรณ์ เป็นบรรทัดฐานให้กับกล้องในปัจจุบันที่ต้องสามารถใช้โอนไฟล์ภาพขึ้นโซเชียลมีเดียได้ทันที ทำให้ภาพสีเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่ายุคใด ๆ ที่ผ่านมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19

กราฟิก
ภาพโดย Gavran333Master1305, และ Master1305

2.การถ่ายภาพสีคืออะไร?

ภาพสีเกิดขึ้นได้อย่างไรและปัจจัยใดทำให้เกิดสีในภาพ? ซึ่งภาพสีในคำอธิบายก็คือเป็นหนึ่งในประเภทของภาพถ่าย ที่สามารถจำลองสีที่เราเห็นในสภาพแวดล้อมได้ ทำให้ภาพที่จำลองรูปลักษณ์ของโลกใบนี้ให้ออกมาสมจริงที่สุด 

3.เทคนิคการถ่ายภาพสีที่ควรรู้

เมื่อเราต้องใช้ภาพสีในการออกแคมเปญการตลาดหรือโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เราสามารถใช้ทฤษฎีสีและองค์ประกอบต่าง ๆ ในการสร้างความประทับใจให้คนดูได้ เช่น ปรับด้านสว่าง-มืด ให้สมดุลขึ้นหรือปรับแม่สีในภาพให้เกิดสีที่สะดุดสายตา เป็นต้น

ต่อไปนี้เราจะพูดถึงการจัดองค์ประกอบของการใช้สีแต่ละสี ให้คุณเห็นภาพมากขึ้นและสามารถนำใช้ผลิตผลงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กราฟิก
ภาพโดย macro.viewpoint

1.การใช้สีใกล้และสีไกล (Advancing Colors)

ไม่ว่าจะเป็นป้ายเตือน เสื้อแจ็คเก็ตเรืองแสง หรือสะพานข้ามแม่น้ำต่าง ๆ ล้วนมีสิ่งหนึ่งเหมือนกันก็คือสีที่โดดเด่นและเป็นโทนอุ่น เช่น สีแดง สีส้ม หรือสีเหลือง เพื่อให้ทุกคนสามารถเห็นได้โดยง่าย

สีโทนอุ่นเข้ม คือสีที่สังเกตเห็นได้ง่ายที่ช่างภาพต่างชอบใช้ยกระดับงานถ่ายของตนเอง เพื่อสร้างความคอนทราสต์กับฉากหลังโทนเย็น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ พระอาทิตย์ยามเย็นกับฉากหลังทะเลสีฟ้าคราม เป็นต้น

สีที่เป็นโทนอุ่นจะให้คามรู้สึกอยู่ใกล้ และสีที่เป็นโทนเย็นจะให้ความรู้สึกอยู่ไกล (Receding colors)

กราฟิก
ภาพโดย H_KoGolubovyKasefoto, และ DimaBerlin

Tips: การใช้สีอยู่ใกล้ (Advancing Colors)

เพื่อดึงดูดความสนใจผู้ชม ให้ใช้องค์ประกอบของวัตถุในภาพด้วยสีที่มีคอนทราสต์สูงหรือสีที่อยู่ใกล้ เพื่อให้สีที่อยู่ไกลเสริมความโดดเด่นในภายหลัง (นำวัตถุสีโทนอุ่นวางลงบนพื้นหลังโทนเย็น)

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการจับคู่สีในวงล้อสีนั่นเอง เช่น สีส้มโทนร้อนกับสีเขียวนกเป็ดน้ำ หรือสีแดงนีออนและสีน้ำเงินกรมท่า เป็นต้น

Tips: การใช้สีอยู่ไกล (Receding Colors)

คำเตือน : อย่าใช้สีอยู่ไกลมากมายในภาพเดียว

แม้ว่าตามธรรมชาติของมนุษย์จะให้ความสนใจกับสีโทนอุ่นเสียมากกว่า ทำให้สีโทนเย็น เช่น สีฟ้า สีเขียว และสีเทาจะถูกดึงดูดความสนใจได้น้อยกว่า แต่ด้วยเหตุนี้ทำให้เฉดสีที่เย็นกว่าจะค่อย ๆ หายไปจากสายตาจนกลมกลืนเป็นพื้นหลังหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

ภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยสีอยู่ไกลและไม่มีสีอยู่ใกล้มาเติมเต็ม จะทำให้ภาพไม่น่าสนใจจนจืดชืด

ตัวอย่างภาพที่สร้างด้วย AI ด้านล่างนี้ แสดงให้เห็นเป็นภาพสตรีทที่เต็มไปด้วยสีโทนเย็น สีเทาที่จืดชืดและสีฟ้าน้ำเงิน หากไม่มีสีที่อยู่ใกล้มาเติมเต็ม สายตาของผู้ชมก็จะไม่มีจุดโฟกัส ดังนั้นภาพรวมจึงดูจืดชืดไร้อารมณ์

กราฟิก
ภาพโดย Shutterstock.AI
กราฟิก
ภาพโดย Master1305Master1305, และ Master1305

2.ความเข้มของสีในภาพถ่าย

ความเข้มของสีคืออะไร? ก็คือสิ่งที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Chroma” เป็นเหมือนดั่งน้ำหนักของสีในภาพ ยิ่งมีสีขาวเป็นองค์ประกอบน้อยเท่าไหร่ สียิ่งเข้มยิ่งอิ่มตัวมากขึ้น ช่วยให้ภาพมีชีวิตชีวา

Tips: หลีกเลี่ยงการใช้สีเข้มเกินไป (Oversaturated)

โลกของโซเชียลมีเดียชอบใช้เทคนิคการทำให้ภาพมีสีที่เข้มเกินกว่าความเป็นจริง เพราะยิ่งภาพสีเข้มยิ่งดึงดูดสายตาผู้ใช้งานโซเชียลนั้น ๆ 

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คืออย่าปรับให้ภาพมีสีที่เข้มเกินไปเพราะมันจะทำให้ภาพไม่น่าดู สิ่งนี้จะสังเกตได้ง่ายถ้าคุณทำภาพที่มีความเข้มของสีมากพออยู่แล้ว เช่น ภาพสไตล์ฤดูร้อนหรือภาพถ่ายแฟชั่น เป็นต้น

ดังนั้นหากคุณลองหรี่ตาดูแล้วพบว่า ภาพที่คุณจะใช้มีสีที่เข้มเกินไป ให้ลดความอิ่มตัวของสีมาเพื่อให้ภาพกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง

กราฟิก
ภาพโดย Shutterstock.AI

Tips: ความพอดีของความเข้มสี

หลีกเลี่ยงการทำให้สายตาของผู้ชมต้องรับภาระหนัก จากการใช้ความเข้มสีที่มากเกินไป แนะนำให้ปรับมาอยู่ในระดับกลางเท่านั้น จะทำให้องค์ประกอบสำคัญในงานออกแบบของคุณเด่นขึ้น CTA (Call-to-action) จะมีประสิทธิภาพขึ้น

กราฟิก
ภาพโดย Yiistocking

3.ความต่างสี (Color Isolation)

ความต่างสีคือสิ่งที่ช่างภาพเลือกใช้โดยเฉพาะเจาะจง ตั้งใจให้มีสีใดสีหนึ่งเด่นกว่าที่เหลือในภาพ ทำให้สายตาแยกสีและเพิ่มจุดโฟกัสให้กับงานได้

Tips: ความสมดุลของความต่างสี

สีเอกรงค์ (Monochromatic color) หรือที่คนทั่วไปชอบเรียกว่าสีโทนเดียว เป็นสิ่งที่ช่างภาพชอบใช้เวลาต้องการแยกวัตถุกับพื้นหลังออกอย่างชัดเจน

ภาพสีโทนเดียวมีผลต่อจิตวิทยา เช่น สีฟ้าทั้งหมดจะทำให้ภาพมีความโศกเศร้าเย็นชา แต่ถ้าคุณไม่ต้องการให้เกิดความรู้สึกเชิงลบ ให้เติมสีลงไปเพิ่มเล็กน้อย เช่น สีม่วง สีเขียว เป็นต้น

กราฟิก
ภาพโดย Shutterstock.AI และ Master1305

Tips: การใช้ความต่างสีกับแบรนด์

สำหรับการออกแบบภาพการตลาดและแคมเปญสำหรับโซเชียลมีเดีย การใช้ความต่างสีมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าใช้ร่วมกับสีที่เป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้ยิ่งดี

ตัวอย่างเช่น ถ้าธุรกิจของคุณใช้สีม่วงและเหลืองเป็นอัตลักษณ์แบรนด์ คุณสามารถนำสีม่งและเหลืองมาใช้กับแคมเปญสไตล์นี้ได้

กราฟิก
ภาพโดย Jaroslav MonchakApirak Wongpunsingsema srinouljanmoomsabuy, และ Bagus Production
กราฟิก
ภาพโดย Natalja Petuhova

4.คอนทราสต์ของสี

สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดจุดแตกต่างในภาพ ทำให้สีของภาพเด่นยิ่งขึ้นและโดดเด่นออกมาจากฉากหลังอย่างมีสไตล์

Tips: ใช้วงล้อสี

การนำทฤษฎีวงล้อสีมาใช้ ช่างภาพจะต้องมีความรู้ว่าสีต่าง ๆ ทำงานอย่างไร เช่น สีส้มคู่กับสีน้ำเงิน สีขาวคู่กับสีดำ เป็นต้น หรือจะเป็นสีอื่น ๆ ที่มาจากธรรมชาติ เช่น สีพาสเทลน้ำเงินอมเหลืองกับสีเหลือง เป็นต้น

ให้ลองใช้สีคู่ตรงข้ามในวงล้อสี เพราะสีคู่ตรงข้ามจะสร้างคอนทราสต์ที่เป็นธรรมชาติโดยอัตโนมัติ

กราฟิก
ภาพโดย Photo_BaitMaster1305Nagoor Ashraf, และ Jacob Lund

Tips: เพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ด้วยคอนทราสต์ของสี

คอนทราสต์สีมีผลต่อความยากและง่ายในการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะในโซเชียลและเว็บไซต์ที่ต้องมีการใช้สีที่สะดุดสายตา เช่น โพสตร์ในโซเชียลมีเดีย ใบปลิว โปสเตอร์ เป็นต้น ยิ่งถ้าใช้ถูกต้องยิ่งทำให้ภาพมีความสว่าง

กราฟิก
ภาพโดย Shutterstock.AI
กราฟิก
ภาพโดย Nils Jacobi

5.จิตวิทยาของสี

นอกจากองค์ประกอบทางเทคนิคอื่น ๆ เช่นการถ่ายภาพ แสง องค์ประกอบ ความคมชัด ก็คืออิทธิพลของสีที่มีต่ออารมณ์และผลกระทบทางจิตวิทยา เพราะมนุษย์จะมีความเชื่อที่เชื่อมโยงสีเข้ากับอารมณ์มาตั้งแต่อดีตกาล

Tips: เข้าถึงจิตวิทยาของสี

เพราะสีเป็นตัวกำหนดอารมณ์ให้กับภาพทุกประเภท ทำให้คุณมีอำนาจในการสั่งการคนดูให้รู้สึกตามที่คุณต้องการ เช่น สีส้มเพื่อความสนุกสนานและเบิกบาน สีม่วงเพื่อความฉลาด จิตวิญญาณ และความลึกลับ สีชมพูสำหรับความนุ่มนวล น่ารัก สนุกสนานและความเห็นอกเห็นใจ

กราฟิก
ภาพโดย Nils JacobiVictoria FoxGatot Adri, และ Ryzhkov Photography

Tips: หลีกเลี่ยงการใช้สีที่ทำให้เกิดความรู้สึกลบ

ถึงแม้จิตวิทยาของสีจะส่งผลดีต่องาน แต่ก็สามารถสร้างผลลบต่องานได้เช่นกัน 

กราฟิก
ภาพโดย Shutterstock.AI

6.ภาพขาว-ดำ

คิดว่าภาพสีจะต้องมีแต่สีสันสดใสใช่หรือไม่? คิดดูอีกครั้ง! การถ่ายภาพขาวดำสามารถสร้างความดราม่าและความลึกของภาพได้ ซึ่งภาพสีไม่สามารถให้ความรู้สึกแบบนี้ได้

Tips: เล่าเรื่องด้วยภาพขาวดำ

โดยการกำจัดสีออกไปจากภาพถ่าย ทำให้สีดำได้รับการโฟกัสมากขึ้น ให้ความรู้สึกมินิมอลและสื่ออารมณ์

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากคุณต้องการให้เรื่องราวในภาพเป็นจุดโฟกัส ให้เลือกใช้ภาพขาวดำเพื่อเน้นวัตถุให้ชัดเจนไปเลย แทนที่จะไปใช้ภาพสีให้รบกวนสายตา

กราฟิก
ภาพโดย Eduard MoldoveanuMatej KastelicHlib Shabashnyi, และ food.kiro

Tips: หลีกเลี่ยงการใช้คอนทราสต์ที่สูงเกินไป

เมื่อคุณทำภาพขาวดำ อย่าพยายามเพิ่มคอนทราสต์ให้สูงเกินไป เพื่อไม่ให้สีเทาในภาพถูกกลืนกิน จะทำให้รายละเอียดบนภาพหายไป

ด้วยความรู้ในคู่มือทั้งหมดเหล่านี้ คุณสามารถควบคุมความรู้สึกของผู้ชมได้อย่างอยู่หมัด ทำให้ทุกผลงานที่คุณจะทำต่อจากนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด

กราฟิก
ภาพโดย Shutterstock.AI

บทความโดย : The Complete Guide to Color Photography

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Related Blog

 
rgb vs cmyk ปก

RGB vs. CMYK ใช้สีแบบไหนดีในงานของคุณ?

 
 
ปก

การออกแบบแบรนด์สไตล์ Sustainable: 10 ชุดสีเพื่อหยุดการฟอกเขียว (Greenwashing)

 
 
ปกชุดสี

คู่มือสร้างชุดสีให้กับเว็บไซต์ (พร้อมตัวอย่างชุดสี 20 รูปแบบ)

 
 
101 100

การผสมสีทั้ง 101 แบบ พร้อมโทนสีที่คุณควรรู้เพื่อเติมแรงบันดาลใจให้กับงานออกแบบ

 

Tell us about yourself





    Type: