Xi8F2apHC9uPo3zOMpsI

Contributor

ทริคการถ่ายภาพในช่วงเวลาที่ต่างกันของวัน ถ่ายตอนไหนภาพถึงสวยกว่าใคร

ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพในชั่วโมงสนธยา(Blue Hour) ช่วงโมงแสงทอง(Golden Hour) หรือช่วงกลางวัน ล้วนแต่ต้องเลือกสถานที่และเทคนิคที่แตกต่างกัน

ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพในชั่วโมงสนธยา(Blue Hour) ช่วงโมงแสงทอง(Golden Hour) หรือช่วงกลางวัน ล้วนแต่ต้องเลือกสถานที่และเทคนิคที่แตกต่างกัน 

ความชำนาญเรื่องแสงธรรมชาติเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการถ่ายภาพ แสงในแต่ละช่วงเวลาระหว่างวันนั้นจำเป็นต้องอาศัยการตั้งค่าและการใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ช่วงเวลาต่างๆของวันเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้เข้าใจว่าแสงที่ถูกถ่ายออกมาในแต่ละเวลานั้นจะออกมาเป็นอย่างไร ในหนึ่งวันลักษณะของแสงจึงถูกแบ่งออกมาเป็นช่วงต่างๆ รวมไปถึงชั่วโมงสนธยา(Blue Hour) ชั่วโมงแสงทอง(Golden Hour) และช่วงเวลากลางวัน

อุณหภูมิของสี ซึ่งเกี่ยวโยงกับแสงโทนเย็นและโทนอุ่นนั้นจะเปลี่ยนไปในช่วงเวลาต่างๆของวัน นอกจากนี้ยังเกี่ยวโยงกับเวลาและจำนวนของเมฆบนท้องฟ้าในขณะนั้น

เช่น ช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หรือหลังพระอาทิตย์ตกท้องฟ้ามักจะเป็นสีฟ้าไล่จนถึงสีน้ำเงิน และในช่วงพระอาทิตย์ขึ้น หรือพระอาทิตย์ตกท้องฟ้ามักจะเป็นสีส้ม หรือสีทอง

แนวทางนี้จะช่วยได้คุณได้ลองเรียนรู้จากการฝึกถ่ายภาพของแสงในช่วงเวลาต่างๆที่เราได้รวบรวมมา เพื่อสร้างทักษะ ความเชี่ยวชาญ และพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพของคุณ

daylight nighttime timelapse concept
ภาพโดย Mike Pellinni
blue hour norway
ภาพโดย Telly

Blue Hour 

Blue Hour หรือ ชั่วโมงสนธยานั้นจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หรือหลังจากพระอาทิตย์ตกโดยดวงอาทิตย์จะทำมุม 4 ถึง 8 องศาใต้เส้นขอบฟ้า ทำให้เราเห็นบรรยากาศท้องฟ้าเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินเข้ม 

มีข้อได้เปรียบมากมายในการถ่ายภาพในช่วงเวลานี้ ถึงแม้ช่างภาพจะนิยมถ่ายภาพในช่วงเวลานี้น้อยกว่าช่วง Golden Hour ถือว่าเป็นการฝึกด้านความคิดสร้างสรรค์

สีฟ้า เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดบางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี เช่น ความรู้สึกสงบ เศร้า สันติ และอีกมากมาย

อย่างไรก็ตามการที่จะดึงจุดเด่นและข้อได้เปรียบของการถ่ายภาพในช่วงเวลานี้ออกมาได้นั้น คุณจำเป็นต้องรู้การเตรียมกล้องและองค์ประกอบภาพเป็นอย่างดีเพื่อสร้างผลงานที่อันไร้ที่ติ

Screen Shot 2022 07 21 at 9.25.17 AM
ภาพโดย DasyaDasyaJNixMartina Klichova, และ P.V.R.Murty.

การเตรียมกล้องสำหรับ Blue Hour

การเตรียมกล้องในการถ่ายภาพช่วงเวลา Blue Hour นั้นไม่ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญคือ ช่วงของเวลาที่สอดคล้องกับแสงที่มีน้อย หมายถึงคุณต้องตั้งความไวชัดเตอร์ (Shutter Speed) ให้มีความยาวเพื่อให้กล้องรชสามารถรับแสงได้ดี

โดยทั่วไปแล้วควรจะปรับขนาดของรูรับแสงให้แคบลงเพื่อให้สามารถเก็บภาพทิวทัศน์ได้อย่างชัดเจน และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือโหมดถ่ายภาพ(Camera Mode) ที่จะช่วยในการควบคุมการรับแสงเมื่อแสงมีการเปลี่ยนแปลง

จุดเริ่มต้นที่ดีในการตั้งค่ากล้องนั้น คือตั้งค่า ISOที่ 100 และปรับรูรับแสงให้ขนาดเล็กลงที่ประมาณ f/7 ถึง f/11 จากจุดนี้คุณสามารถปรับค่า f และ ค่าความไวชัตเตอร์ตามต้องการ

blue hour over himalayan town
ภาพโดย Mubarak_Khan.
golden hour seaside town
ภาพโดย FootageTheWorld

Golden Hour

Golden Hour หรือช่วงแสงสีทอง บางคนเรียกช่วงเวลานี้ว่า “ช่วงเวลาแห่งเวตมนต์” ปรากฏขึ้นไม่นานหลังจาก Blue Hourในตอนเช้า และก่อนBlue Hourในตอนพลบค่ำ เป็นช่วงที่พระอาทิตย์ทอดแสงสีทอง เป็นรัศมีเมื่อใกล้จะลับขอบฟ้า สร้างภาพถ่ายที่สวยงามเกินบรรยาย

ด้วยเหตุนี้ Golden Hour จึงถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่เหมาะแก่การถ่ายรูปมากที่สุด

Screen Shot 2022 07 21 at 9.25.25 AM
ภาพโดย Nadezhda AkimovaJuliusRSSmileus, และ Stephen Bridger

การเตรียมกล้องสำหรับ Golden Hour 

หนึ่งในความท้าทายของช่างภาพเมื่อต้องถ่ายภาพในช่วงเวลนี้คือแสงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้คุณต้องปรับการตั้งค่ากล้องตามแสงที่ค่อยๆเปลี่ยนไป ไม่ต่างกับการถ่ายภาพในเวลาอื่นที่ต้องใช้การพิจารณาองค์ประกอบภาพและแสงเวลาถ่ายรูป

วิธีที่ง่ายที่สุดในการถ่ายภาพในช่วงเวลานี้คือการใช้โหลดการตั้งค่าภาพกึ่งอัตโนมัติ (A Mode หรือ Aperture Priority Mode) โดยโหมดการใช้งานนี้จะให้คุณสามารถปรับขนาดรูรับแสงที่เหมาะสม โดยซัดเตอร์สปีดจะถูกปรับโดยอัตโนมัดเพื่อให้รับกับแสงสว่างหรือมืดในขณะนั้น

ตัวอย่างเช่นการถ่ายภาพวิวนั้นต้องปรับรูรับแสงให้แคบ(ค่า f-stop สูง) เช่น f/16 เพื่อเพิ่มจุดโฟกัสในภาพ

golden hour milan
photographer working during golden hour
ภาพโดย Daniel Waschnig Photography / Westend61 และ Sarath maroli.

เมื่อถ่ายภาพบุคคลรูรับแสงต้องปรับให้กว้างขึ้น(ค่า f-stop ลดลง) แบบนี้จะเป็นกรเบลอพื้นหลังภาพ และทำให้ภาพโฟกัสที่บุคคลชัดเจน

สำหรับการถ่ายภาพวิวและบุคคลนั้นสามารถตั้งค่า ISO ให้อยู่ที่100ได้เลย

เมื่อพระอาทิตย์เริ่มที่จะลับหายไปคุณอาจจะต้องปรับค่า ISO ให้สูงขึ้นตามความเหมาะสมเพื่อให้แสงสามารถผ่านเข้าสู่เลนส์กล้องได้มากขึ้น

sensojiji temple afternoon
ภาพโดย IM_photo

Midday Photography

ช่วงกลางวันคือ เวลาที่ดวงอาทิตย์เลื่อนขึ้นไปอยู่จุดสูงสุดของฟ้า ทำให้เป็นช่วงเวลาที่แสงสว่างที่สุดและความเข้มแสงมากที่สุดด้วยเช่นกัน ยิ่งเมื่อพระอาทิตย์อยู่บนหัวของเราพอดีจะสังเกตุได้ว่าความสว่างกับเงาที่เกิดขึ้นมีความต่างกัน(contrast)อย่างชัดเจน

ในขณะที่สถาณการณ์นี้เหมาะกับการการถ่ายภาพทิวทัศน์ แต่กับการถ่ายภาพบุคคลนั้นอาจจะเป็นอะไรที่ไม่ง่ายนัก

โหนกคิ้วและหน้าผากนั้นเป็นจุดที่ทำให้ใบหน้าเกิดเป็นเงาบริเวณเบ้าตา แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีวิธีจัดการกับการถ่ายภาพที่มีความเข้มแสงมาก

Screen Shot 2022 07 21 at 9.25.33 AM
ภาพโดย peacefooAlex SegreGaudiLab, และ Ekaterina Pokrovsky

ถ่ายภาพในเวลากลางวัน

อย่างแรกที่ต้องทำคือการปิดรูรับแสง เมื่อต้องถ่ายภาพในสถาณการณ์ที่มีแสงมากสิ่งที่จำเป็นคือการลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่เลนส์ ดังนั้นปรับขนาดของรูรับแสงไว้ที่ f/11

เมื่อเริ่มถ่ายภาพในบางครั้งค่าความสว่างที่วัดได้อาจจะเปลี่ยนไปมาซ้าย-ขวา จากการที่กล้องพยายามคำนวนแสงที่เหมาะสม ซึ่งเป็นไปได้ว่ากล้องของคุณนั้นถูกตั้งโหมดอัตโนมัติไว(Auto mode)

ด้วยสาเหตุนี้ที่กล้องของคุณในโหมดอัตโนมัติจึงปรับแสงเงา และจุดไฮไลต์ให้สมดุลตลอดเวลา ทางที่ดีจึงควรตั้งค่ากล้องให้อยู่ในโหมดที่คุณสามารถปรับตั้งค่าเหล่านี้ได้เอง(manual mode)

boy in red hoodie walks near blue wall
ภาพโดย Heather Chang

ถ่ายภาพบุคคลในเวลากลางวัน โปรดจำคำแนะนำเหล่านี้ไว้…

การถ่ายภาพบุคคล ถือได้ว่าเป็นความท้าทายหนึ่งของช่างภาพเลยที่เดียว นี่คือคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการถ่ายภาพบุคคลในสถานการณ์ที่มีแดดจัด

ถ้าเป็นไปได้ลองจัดองค์ประกอบให้ตัวบุคคลหันหลังให้กับพระอาทิตย์เมื่อแสงเริ่มลดองศาลง เทคนิคนี้จะทำให้ได้ภาพบุคคลเป็นเงาดำ สีและแสงจากฉากเด่นขึ้นมาก(backlighting)

ด้วยเทคนิคนี้จะช่วยตัดปัญหาเรื่องแสง สี และเงาที่เกิดบนใบหน้าของบุคคลในภาพ สิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือการจัดท่าทางของคนที่คุณถ่ายภาพ

backlit portrait of couple kissing
ภาพโดย TONL

ถ้าคุณเลือกที่จะถ่ายภาพบุคคลโดยการปรับแสงบริเวณใบหน้า วิธีนี้จะทำให้แสงบริเวณด้านหลังสว่างขึ้นมามากจนบางองค์ประกอบอาจหายไป

แต่ถ้าหากคุณชอบผลลัพธ์จากการถ่ายภาพแนวนี้ คุณสามารถทำให้องค์ประกอบที่หายไปกลับมาด้วยการใช้อุปกรณ์หรือแผ่นสะท้อนแสงมาลดทอนความเข้มแสงด้วยการให้แสงสะท้อนกลับสู่องค์ประกอบนั้นๆ

outdoor portrait of woman in hijab
ภาพโดย Jose Carlos Ichiro / Westend61

อีกทางเลือกหนึ่งคือการเล่นกับเงาโดยการจัดตำแหน่งให้บุคคลอยู่บริเวณที่เกิดเงา เช่นใต้ต้นไม้ เทคนิคนี้จะช่วยให้แสงดูนุ่มนวลขึ้นแต่เงาไม่เข้มจนเกินไป

ด้วยเทคนิคนี้แนะนำให้ดูเงาให้ดี ถ้าเป็นเงาที่ไม่ต่อกันหรือไม่ชัดอาจทำให้เกิดเงาด่างบนใบหน้าของบุคคลที่ถ่าย และทำให้แสงบนใบหน้าหรือร่างกายไม่สม่ำเสมออีกด้วย

portrait of girl in tree shade
ภาพโดย voronaman

สุดท้ายนี้อุปกรณ์กระจายแสง(diffuser) จะช่วยให้แสงมีความสม่ำเสมอมากขึ้น และปรับให้แสงและเงาบนใบหน้าดูนุ่มนวลขึ้น

อุปกรณ์กระจายแสง(diffuser) ยังช่วยลดความเข้มของแสงอาทิตย์ ปรับให้แสงดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น และยังช่วยให้แสงไม่เข้าตาอีกด้วย

บทความโดย: Photography Tips for Shooting at Different Times of the Day

บทความนี้เรียบเรียงโดย ชุติภา ตรีพรชัยศักดิ์ (ว่าน น้องฝึกงาน)

Tell us about yourself





    Type: