เหล่าเฟมินิสต์ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศกว่า 200 ปีมาแล้ว มาเรียนรู้เรื่องของพวกเขาเหล่านี้ผ่านภาพถ่ายสุดโด่งดังไปพร้อมกับเรากันเถอะ
เฟมินิสต์คือหนึ่งในกลุ่มผู้ขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่อเป้าหมายหนึ่งเดียวกัน การต่อสู้ครั้งแรกเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ครั้งที่สองเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ครั้งที่สามเกิดขึ้นเพื่อต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำ ทัศนคติทางเพศ และอื่น ๆ
และครั้งที่สี่นี้ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่จนถึงปัจจุบันผ่านแฮชแท็ก #MeToo และช่วงเดือน Women’s March
ถึงแม้การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะดูไม่วุ่นวายและโกลาหล แต่กว่าสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นความสนใจจากสังคมได้ก็ยากเช่นกัน เพราะกลุ่มเฟมินิสต์ก็มีกลุ่มแยกย่อยที่แตกต่างกันออกไปเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งมีปรัชญาประจำกลุ่มที่แตกต่างกันและแข่งขันเรื่องความเชื่อกันตลอดมา ทำให้แนวคิดตั้งแต่ครั้งอดีตถูกลืมเลือนและเกิดขึ้นใหม่ในอีกยุคสมัยหนึ่ง
แต่หลักการเดิมที่ยังคงอยู่ก็คือยุติการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานทางเพศ
มาดูกันว่ากระแสการประท้วงของเหล่าเฟมินิสต์เหล่านี้ผ่านภาพถ่ายเป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่การเดินประท้วงเรียกร้องสิทธิการเลือกตั้ง ไปจนถึงการประท้วงเรื่องศาลฎีกาในปัจจุบัน
การประท้วงระลอกแรก
แม้ว่าการประท้วงครั้งแรกนี้เปิดฉากขึ้นด้วยการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี แต่ในช่วงนั้นเหตุการณ์นี้ไม่ได้ถูกเรียกว่าการประท้วงครั้งแรก นักข่าวของ New York Times เป็นคนบัญญัติคำนี้ไว้เมื่อปี 1968 ซึ่งใช้กับการประท้วงในครั้งต่อ ๆ ไป กลายเป็นคำที่ใช้ติดปากในอีก 50 ปีถัดมา
ในสหรัฐอเมริกา การรวมตัวประท้วงครั้งแรกเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 เกี่ยวกับประเด็นที่ผู้หญิงโดนกีดกันไม่ให้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง นี่คือหนึ่งในการเคลื่อนไหวที่เป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังแห่งยุค จนทำให้เกิดการประชุม Seneca Falls Convention เมื่อปี 1848 ซึ่งมีคุณ Elizabeth Cady Stanton และ Lucretia Mott เป็นประธานในการหารือเกี่ยวกับพื้นที่ของผู้หญิงในสังคม
ในท้ายที่สุด ผู้เข้าร่วมการประชุมบางส่วนได้ทำการลงนามและปฏิญญาสุดโด่งดังร่วมกัน โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมายของพวกเขาในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ปรากฎความเห็นพ้องต้องกันที่ชัดเจนกับสิ่งที่พวกเขาพยายามต่อสู้ว่าเพื่ออะไรกันแน่
มีผู้ร่วมลงนามมีเพียงแค่ 100 คนจาก 300 คนเท่านั้น เพราะว่ามีการถกเถียงประเด็นเรื่องสิทธิ์การออกเสียงเลือกตั้งไม่ลงตัว คุณ Mott กล่าวไว้ว่าสิ่งนั้นไม่ควรรวมอยู่ในสิทธิสตรี แต่คุณ Frederick Douglass ผู้เลิกทาสได้สนับสนุนให้ผู้ชุมนุมรวมคำขอนั้นไว้
การปรากฎตัวของคุณ Douglass ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะขบวนสิทธิสตรีในยุคแรกเติบโตขึ้นมาพร้อมกับขบวนเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร แต่ความขัดแย้งก็ยังคงมีอยู่เพราะผู้สนับสนุนการเลิกทาสจำนวนหนึ่งที่อยู่เคียงข้างสิทธิสตรีไม่อยากให้คนผิวสีมีสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหลังสงคราม Civil War
คุณ Staton ได้กล่าวคำปราศรัยเชิงเหยียดหยามเชื้อชาติอย่างชัดเจนว่า “ระหว่างผู้หญิงที่มีการศึกษาและสุภาพเรียบร้อย และ “ไอ้พวกระดับล่าง โดยเฉพาะพวกที่มาจากทางใต้”
การเคลื่อนไหวในครั้งนั้นทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ในที่สุด ว่าด้วยให้ผู้หญิงอเมริกันมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในปี 1920 ต้องขอบคุณนักเคลื่อนไหวในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อีกมากมายที่ทำให้เกิดขึ้นจริง
แต่ชัยชนะนี้ก็ยังเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับผู้หญิงอีกหลายล้านคน เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังขัดขวางไม่ให้ผู้หญิงผิวสีมีสิทธิลงเสียงเลือกตั้งอยู่ดี เนื่องจากผลสำรวจสมัยนั้นพบว่าผู้หญิงผิวสีไม่ผ่านการทดสอบทักษะอ่านเขียน และข้อจำกัดอื่น ๆ อีกมากมายที่บ่งบอกถึงคุณภาพการศึกษา
การประท้วงระลอกที่สอง
เนื่องจากสิทธิในการลงคะแนนเสียงสำหรับผู้หญิงเกิดขึ้นแล้ว (สำหรับผู้หญิงบางกลุ่ม) เฟมินิสต์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จึงหันเหประเด็นไปยังเรื่องต่าง ๆ มากมาย เช่น สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ความรุนแรงในครอบครัว ความไม่เท่าเทียมทางกฎหมาย การแบ่งแยกชนชั้นแรงงาน และอีกมากมาย
โดยทั่วไปแล้วการเคลื่อนไหวนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเหล่าผู้หญิงที่ทำงานในช่วงสงครามโลก ต้องกลับบ้านเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวหลังสงครามจบลง
จุดเปลี่ยนสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือในช่วงปี 1961 เมื่อยาคุมเริ่มมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย หลังผ่านการอนุมัติจาก FDA แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนจะได้สิทธิ์การเข้าถึงยาเหล่านี้ ผู้ที่เข้าถึงได้ง่ายจะมีสิทธิ์คุมทิศทางชีวิตของตนง่ายขึ้น
เฟมินิสต์ในยุคนี้จะต้องสู้เพื่อให้การทำแท้งถูกกฎหมาย ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังผิดกฎหมายอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วสหรัฐ ในปี 1973 คำตัดสินของศาลฎีกากำหนดให้สิทธิ์การทำแท้งถูกกฎหมาย เป็นชัยชนะครั้งใหญ่สำหรับนักเคลื่อนไหวยุคนั้น แต่รัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็ยังไม่ครอบคลุมถึงชาวอเมริกันทุกคน
ชัยชนะในระลอกที่สองก็คือ ห้ามเลือกปฏิบัติทางเพศในโรงเรียน และโครงการสนับสนุนการวางแผนครอบครัวจากรัฐบาล
ในขณะเดียวกันก็เกิดสิ่งที่เรียกว่าทัศนคติของเฟมินิสต์ที่เกลียดชังเพศชายขึ้นมา โดยแสดงเป็นเชิงสัญลักษณ์ด้วยการเผาชุดชั้นใน (เกิดขึ้นในการประกวดนางแบบ Miss America ในปี 1968 โดยโยนเสื้อชั้นใน ตามด้วยผลิตภัณฑ์เสริมความงาม นิตยสาร Playboy หม้อ และกระทะ ลงในถังขยะที่เขียนว่า “ถังขยะแห่งอิสรภาพ”) แต่ตำรวจเข้ามาหยุดก่อนจะเกิดการเผาจริง
เช่นเดียวกับการประท้วงระลอกแรก กิจกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้หญิงผิวขาว มากกว่ากลุ่มผิวสีและ LGBTQ+
องค์กรต่าง ๆ เช่น Combahee River Collective กล่าวโต้แย้งกลุ่มเฟมินิสต์ ว่าเพิกเฉยต่อความต้องการของผู้หญิงผิวสีและชาว LGBTQ+ ทำให้เกิดการผลักดันและการเคลื่อนไหวให้เข้าใจความต้องการของกลุ่มคนต่าง ๆ มากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ในปี 1971 เกิดการประชุม National Chicana Conference ที่รัฐเท็กซัส เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการเหยียดเชื้อชาติ และการกีดกันทางเพศที่ผู้หญิงชาวลาตินต้องเผชิญในสหรัฐอเมริกา
การประท้วงระลอกที่สาม
ครั้งที่สามเริ่มมีความต้องการที่ชัดเจนมากกว่าระลอกที่หนึ่งและสอง ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปลายปี 1990 และมีสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นก็คือเรื่องมีนักดนตรีพังก์ร็อกร่วมเป็นแกนนำ
การประท้วงระลอกที่สามมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของขบวนการก่อจลาจล Riot grrrl ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ เมืองโอลิมเปีย รัฐวอชิงตัน ซึ่งนำโดยเหล่าวงดนตรีที่ชื่อว่า Bikini Kill และ Bratmobile โดยออกมาประท้วงเรื่องการใช้รูปผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในสื่อ และความรุนแรงที่กระทำเฉพาะเพศ
อัลบั้มแรกของ Bikini Kill ในเชื่อ Revolution Girl Style Now ปรากฎในปีเดียวกันกับที่คุณ Anita Hill กล่าวหาคุณ Clarence Thomas ซึ่งตอนนั้นเป็นเพียงแค่ผู้ถูกเสนอชื่อให้ชิงตำแหน่งในศาลฏีกา ว่าได้ล่วงละเมิดทางเพศเธอในที่ทำงาน แม้ท้ายที่สุดแล้วคุณ Thomas จะได้ทำงานในศาลฏีกาภายหลัง แต่คำให้การของ Hill กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงนับไม่ถ้วนออกมาเล่าเรื่องการถูกล่วงละเมิดที่พวกเขาต้องเผชิญ
หนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สภาคองเกรสได้ให้ผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้เหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศ สามารถเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าจ้างที่ค้างชำระเป็นระยะเวลา 1 ปีย้อนหลัง และคืนตำแหน่งงานให้ “ กฎหมายนี้ทำให้โอกาสจ้างงานที่เท่าเทียมเพิ่มขึ้น 50% กล่าวโดยองค์กรของรัฐที่ชื่อว่า Equal Employment Opportunity Commission ”
ระลอกที่สามในครั้งต่อมาเกิดขึ้นเมื่อมีการฉายหนังเรื่อง The Vinyl Monologues ของคุณ Eve Ensler ในปี 1996 ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง V-Day องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อยุติความรุนแรงต่อเพศหญิง แม้ว่าหนังเรื่องนี้จะได้รับผลวิจารณ์เรื่องการกีดกันคนข้ามเพศแบบสุดโต่ง แต่หนังเรื่องนี้กลับเป็นหนึ่งในผลงานที่แหวกแนวที่สุดในวงการหนังยุคนั้น
เฟมินิสต์บางกลุ่มมีความพยายามจะแก้ไขข้อผิดพลาดของการประท้วงระลอก 1-2 ด้วยการนำผู้หญิงชาวผิวสีและกลุ่ม LGBTQ+ เข้าร่วมด้วย
สามปีก่อนคำให้การของ Hill มีนักวิชาการด้านกฎหมายชื่อว่าคุณ Kimberlé Williams Crenshaw บัญญัติศัพท์คำหนึ่งขึ้นมาว่า “Intersectionality” หรือ “อัตลักษณ์ทับซ้อน” ที่หมายถึงบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางสังคมที่แตกต่างกับบุคคลทั่วไปรวมกันในตัวมากกว่าหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่แตกต่างกัน คำนี้กลายเป็นรากฐานสำคัญของความคิดสตรีนิยมอย่างรวดเร็ว (คำนี่ปรากฎขึ้นอีกครั้งในปี 2021 ท่ามกลางกระแสอนุรักษ์นิยมที่เกี่ยวกับการวิจารณ์เชื้อชาติ)
การประท้วงระลอกที่สี่
สิ่งนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2010 โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นความเหลื่อมล้ำและความยุติธรรม เช่น ผู้รอดจากการถูกทำร้าย ผู้ลี้ภัยเพราะสภาพอากาศ บุคคลข้ามเพศ และอื่น ๆ อีกมากมาย
วันแห่งผู้หญิงเดือนมีนาคม Women’s March เกิดขึ้นหลังจากพิธีสาบานตนของคุณ Donald Trump ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สุดทรงพลังในหน้าประวัติศาสตร์ ที่ผู้หญิงลุกขึ้นประท้วงในวันเดียวทั่วสหรัฐอเมริการาว ๆ 3-5 ล้านคน
หลังจากนั้นก็เกิด #MeToo เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในโซเชียลมีเดีย ผู้คนจำนวนมากออกมากล่าวหาเรื่องทางเพศต่อ Harvey Weinstein โปรดิวเซอร์ชื่อดังระดับฮอลลีวูด
ไม่เพียงเท่านั้น ก่อนปี 2017 มีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในการประท้วงระลอกที่สี่
ในเดือนกันยายน 2014 คุณ Emma Sulkowicz นักศึกษามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เริ่มมีการนำเสื่อและที่นอนมานอนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยเพื่อทำเป็นวิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษา โดยโปรเจคนี้จะสิ้นสุดเมื่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนผู้อื่นในมหาวิทยาลัยถูกขับไล่ออกจากโรงเรียนหรือลาออก งานนี้ถูกเรียกว่า Mattress Performance ทำให้เกิดประเด็นพูดคุยทั่วประเทศเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัย และความรับผิดชอบของโรงเรียนในการปกป้องนักเรียนของพวกเขา
การประท้วงระลอกที่สี่มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สังคมยอมรับในร่างกายทุกภาคส่วน เช่น รูปร่าง เชื้อชาติ ความสามารถ และเพศ
รวมถึงความพยายามยุติวัฒนธรรมข่มขืนในหนัง ด้วยการประท้วงโดยกลุ่ม SlutWalk และ Right to Be (ชื่อเดิมคือ Hollaback!)
SlutWalk คือกลุ่มที่สวมเสื้อที่ปักคำว่า “slutty” เดินขบวนในประเทศแคนาดาช่วงปี 2011 หลังจากที่ตำรวจเมืองโตรอนโต ไปเตือนผู้หญิงคนหนึ่งว่าไม่ควรแต่งตัวเหมือน “sluts” ซึ่งแปลเป็นไทยหยาบ ๆ ว่าอย่าแต่งตัวร่านถ้าไม่อยากโดนข่มขืน
และกลุ่ม Right to Be ที่ออกมาต่อสู้เพื่อยุติการคุกคามบนท้องถนน
ในสหรัฐอเมริกาปี 2022 จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมยังไม่สิ้นสุด หลังจากที่ศาลฏีกาต้องการออกคำพิพากษาใหม่ ไม่ให้คนในประเทศทำแท้ง ทำให้เกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศ เพื่อตอบโต้เหตุการณ์นี้ทันที
และปีนี้ในช่วงฤดูร้อนอาจจะเป็นที่ยุติของการประท้วงระลอกที่สี่ และมีแนวโน้มว่าคลื่นลูกที่ 5 จะคงเกิดขึ้นต่อไป
บทความโดย : What Feminism Looks Like: A History in Photographs
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24