ทำไมฟินอะ? ดูวิดีโอประเภทนี้แล้วทำไมถึงรู้สึกแบบนี้ กับความรู้สึก Oddly Satisfying หรือในภาษาไทยแปลตรงตัวว่า “ความพึงพอใจที่แปลกประหลาด” ถึงคำจะอ่านแล้วดูแปลก ๆ แต่นี่คือคำอธิบายที่ใกล้เคียงที่สุดแล้ว
Oddly Satisfying ความฟินที่ชวนพิศวง
คำว่า Oddly Satisfying หรือที่จะแปลเป็นภาษาบ้าน ๆ ว่า “ฟินแบบประหลาด ๆ” เป็นกระแสมาแรงในโลกออนไลน์ ถึงขั้นแยกหมวดหมู่กลายเป็นความฟินรูปแบบใหม่ ที่รวมทุกอย่างตั้งแต่การเขียนตัวหนังสือสวย ๆ การนวดหัว การโยนน้ำแข็งลงสระน้ำ ไปยันคลิปเครื่องจักรในโรงงานทำไอศกรีม ที่เรียงชั้นออกมาแบบเป๊ะจนใจเจ็บ คือดูแล้วฟินจนขนลุก

วิดีโอแนวนี้กลายเป็นกระแสแมสในสังคม แค่ใน YouTube อย่างเดียวก็มีมากกว่า 1.2 ล้านคลิป แล้วและผู้คนก็ดูมันซ้ำ ๆ แบบไม่มีเบื่อเลยทีเดียว นี่ยังไม่รวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มอื่นอีกมากมาย
ไอเดียหลัก ๆ ของมันก็คือการจับความรู้สึก “ฟิน” ที่มาจากการได้เห็นกิจกรรมธรรมดา ๆ ที่ถูกทำอย่างเป๊ะเว่อร์
ดอกเตอร์ Balanzategui ได้ทำการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้โดยใช้ข้อมูลจาก Youtube หลายร้อยคลิปและพบว่า “ถึงแม้วิดีโอพวกนี้จะหลากหลายแค่ไหน แต่จริง ๆ แล้วมันมีรูปแบบที่ชัดเจนอยู่ ผู้คนมักจะเชื่อมโยงความชอบของตัวเองเข้ากับความรู้สึกสบาย ๆ สมัยที่เคยนึกถึงตอนเด็ก ซึ่งน่าสนใจมากเพราะเด็กจริง ๆ ก็ชอบคอนเทนต์แบบนี้เหมือนกัน”

เราพบว่าความนิยมของวิดีโอแนวนี้ในหมู่วัยรุ่นและเด็ก ๆ มักเกี่ยวข้องกับการที่มันเลียนแบบการเล่นของเด็ก อย่างเช่นการเล่นทรายวิทยาศาสตร์ สไลม์ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยจากตอนอยู่เนิร์สเซอรี่หรืออนุบาล
พูดง่าย ๆ คือ มันมีความสุขลึก ๆ ที่ทำให้เราฟินผ่านหน้าจอ มันก็เลยดูเพลินแบบไม่รู้ตัว ดูจบคลิปนึง เงยหน้าอีกที…เอ้าตีสามแล้ว
เทรนด์นี้มีความคล้าย ASMR อยู่เยอะพอสมควร ซึ่งในปัจจุบันก็มี Oddly Satisfying ASMR ด้วย เช่น พวกวิดีโอที่เน้นเสียงกระซิบ เสียงขีดเขียน เสียงขูด ๆ ก๊อก ๆ ที่หลายคนดูเพื่อผ่อนคลายหรือช่วยเรื่องสุขภาพจิต เปรียบเสมือนเป็นยาด่วนคลายเครียดแบบไม่ต้องสั่งจากหมอได้เลย
ดอกเตอร์กล่าวอีกว่า “วิดีโอ Oddly Satisfying พวกนี้มันไม่มีโครงเรื่อง ไม่มีดราม่า ไม่ต้องคิดเยอะ จุดขายของมันอยู่ที่ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสล้วน ๆ สมองเราโดนหลอกให้รู้สึกเหมือนได้สัมผัสหรือเล่นกับอะไรบางอย่างจริง ๆ แถมมันยังให้ความรู้สึกแปลก ๆ แต่ดันฟินเฉยเลย
ความฟินมีผลกับการตลาดอย่างไร?
เทรนด์ “Oddly Satisfying” ไม่ได้แค่เอาไว้ดูเพลิน ๆ เท่านั้นนะ แต่มันส่งพลังต่อ “การตลาด” อย่างมาก เป็นอีกกลยุทธ์ที่แบรนด์สามารถใช้งานได้
1. สร้างความจดจำแบรนด์แบบแนบเนียน
แบรนด์ที่หยิบเทรนด์นี้มาใช้ มีโอกาสเจาะเข้าไปในใจคนดูแบบแนบเนียน โดยไม่ต้องยัดเยียดการขายแบบโต้ง ๆ ลองนึกภาพวิดีโอที่เทน้ำยาทำความสะอาดลงพื้น แล้วขัดจนเงาวับสะท้อนแสง แล้ววางโลโก้แบรนด์อยู่มุมจอเบา ๆ ความฟินที่เกิดขึ้นตอนดู จะค่อย ๆ ทำให้สมองเราผูกชื่อแบรนด์เข้ากับความรู้สึกดี ๆ โดยอัตโนมัติ แบบไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ
2. กระตุ้นการมีส่วนร่วม (Engagement) สูงมาก
วิดีโอแนวนี้คือตัวหยุดเลื่อนฟีดของจริง คนเลื่อน ๆ ฟีดมาเจออะไรที่ดูแปลกตาแต่เพลินก็จะหยุดดูแล้วแชร์ต่อ หรือคอมเมนต์แบบ “โอ้โห ฟินจังเลย” แบรนด์ไหนใช้เทคนิคนี้ดี มีสิทธิ์ไวรัลไม่รู้ตัว
3. เชื่อมโยงกับอารมณ์ผู้บริโภค
มันคือการตลาดแบบ “เอาใจคนดู” มากกว่า “ยัดข้อมูล” เพราะวิดีโอพวกนี้ช่วยให้คนรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ ถ้าแบรนด์สามารถเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาที่คนรู้สึกดีได้ มันจะเกิดความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่แข็งแรง เช่น แบรนด์สบู่ ถ้าโชว์ฟองนุ่ม ๆ กลิ้งไปกลิ้งมาแบบสโลว์โมชั่น ก็ให้ความรู้สึกฟิน ๆ คลีน ๆ ที่คนอยากลองใช้ตาม เป็นค้น
4. เจาะกลุ่มผู้ชมยุคใหม่ที่เสพคอนเทนต์สั้น
TikTok, Instagram Reels, YouTube Shorts คือพื้นที่หลักของวิดีโอแนวนี้ คนยุคใหม่ไม่มีเวลานั่งดูอะไรยาว ๆ อีกแล้ว แต่ถ้ามีคลิปฟิน ๆ แบบนี้นั่งดูเป็นชั่วโมงก็ทำได้
5. ใช้ต้นทุนไม่สูง แต่ผลลัพธ์ว้าว
บางคลิปดังระเบิดโดยใช้อุปกรณ์แค่กล้องมือถือกับวัตถุดิบง่าย ๆ เช่น สไลม์ ก้อนน้ำแข็ง หรือแม้แต่แค่การหั่นสบู่ ถ้าแบรนด์ไหนคิดคอนเทนต์เจ๋ง ๆ ได้ ก็ไม่ต้องเปลืองงบมาก แต่ปังชัวร์
ถ้าคุณเป็นสายชอบทำการตลาดและอยากให้ลูกค้าดูอะไรเพลิน ๆ ที่ดูแล้วรู้สึกฟินแปลก ๆ แบบบอกไม่ถูก ต้องไม่พลาดวิดีโอสไตล์ Oddly Satisfying ที่เรารวมไว้ใน Shutterstock ที่ https://shutterstock.7eer.net/551a9b