ปก

ช่างภาพ

Create Fund: ช่างภาพหูหนวก แต่ฝีมือไม่เบา

“ความเท่าเทียมที่เราผลักดันมาตลอด เราได้ลงลึกไปกับมันหรือยัง หรือแค่ผิวเผินกันแน่?” ช่างภาพหูหนวก นามว่า Neha Balachandran ได้พูดถึงเรื่องประเด็นนี้และอื่น ๆ อีกมากมายให้เราได้รู้กัน มาดูกันดีกว่าว่าเธอสามารถสื่อสารสิ่งเหล่านี้ผ่านรูปภาพได้อย่างไร พบกับ The Create Fund ตอน: ช่างภาพหูหนวก แต่ฝีมือไม่เบา

Create Fund: ช่างภาพหูหนวก แต่ใจเปิดกว้าง

สำหรับพวกเราแล้ว การถ่ายภาพก็คือการสื่อสารอารมณ์ที่ถูกถ่ายทอดออกมาจาก อาชีพช่างภาพ ที่มีทั้ง ช่างภาพอิสระ และ ช่างภาพดังๆ ณ ช่วงเวลานั้น แต่คุณ Neha Balachandran มีมุมมองที่ต่างกว่านั้น เนื่องจากเธออยู่ในกลุ่ม Deaf+ community เธอพบว่าช่างภาพ คุณสมบัติ ที่เป็นแบบเธอนั้น ไม่ค่อยมีพื้นที่ยืนในสังคมหรือมีพื้นที่ไม่มากพอ เธอกล่าวว่า “คุณอาจพลาดผลงานชิ้นเยี่ยมของพวกเรา ถ้าคุณยังมองข้ามความพิการของเราไปไม่ได้” ทำให้พวกเราขบคิดว่าหรือพวกเราใส่ใจไม่มากพอกับกลุ่มคนเหล่านี้กันแน่

บทสนทนาที่น่าสนใจระหว่างพวกเรา และ Neha Balachandran

Shutterstock: สวัสดี Neha! คุณเริ่มเข้าวงการถ่ายรูปได้อย่างไร?

Neha Balachandran: ครอบครัวของฉันปลูกฝังการถ่ายภาพมาทั้งนั้นเลย ทั้งคุณปู่และคุณตาเคยเป็นช่างภาพ คุณลุงของฉันก็ชอบถ่ายรูปดอกไม้ และฉันที่เป็นคนหูหนวกก็ชอบถ่ายรูปบุคคลเรื่อยมา

บ่อยครั้งที่ฉันมักจะขอกล้องในวันคริสต์มาสเป็นประจำ ฉันเคยชอบถ่ายรูปธรรมชาติ ดอกไม้ และพระอาทิตย์ตกดิน ไม่เคยถ่ายภาพบุคคลมาก่อน แต่พอเข้ามหาลัยในช่วงโควิดระบาดพอดี

ฉันเลยหงุดหงิดและหาวิธีแก้ไขสาเหตุนี้ไม่ได้ พ่อของฉันเลยเตือนสติฉันแล้วพากลับไปถ่ายรูป ฉันก็ตอบรับและลองถ่ายเรื่อยมา พี่สาวของฉันคือโมเดลชั้นเยี่ยม เธอแต่งหน้าและฉันก็ถ่ายรูปให้เธอ จากนั้นฉันก็ชื่นชอบการถ่ายรูปเรื่อยมา  โดยเฉพาะการถ่ายภาพแฟชั่นและภาพบุคคล

A,Black,,Deaf,,Transgender,Woman,Using,An,All,Inclusive,,Accessible
ภาพโดย Neha Balachandran.

SSTK: ฉันอยากถามเรื่องการเป็นช่างภาพหูหนวก มันเป็นอย่างไรและมีความท้าทายในชีวิตยังไงบ้าง? 

Balachandran: การเป็นคนหูหนวกอาจโชคดีก็ได้ สิ่งนี้จะผลักดันให้เราดียิ่งขึ้น เพราะช่างภาพที่มีประสาทการได้ยินที่ดีชอบประเมินเราต่ำเกินไปเพียงแค่หูหนวก 

อุปสรรคอีกอย่างก็คือ การเข้าถึงโอกาสและทรัพยากรเดียวกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน เช่น ใน Youtube และโซเชียลมีเดียไม่มีคำบรรยาย หรือ หาช่างภาพ ที่เราเข้าถึงได้  ซึ่งบางคลิปวิดีโออาจอธิบายสิ่งที่เราต้องการ แต่เราไม่เข้าใจเพราะขาดแคปชั่นหรือซับให้อ่าน กลายเป็นว่าเราถูกกีดกันทางความรู้โดยอัตโนมัติ

พวกเรามีทั้งคนหูหนวก คนตาบอด หรือทั้งสองอย่าง แต่พวกเราก็ถูกสอนว่าถึงแม้จะเป็นคนพิการ แต่หัวใจเราไม่ได้พิการ สังคมต่างหากที่ตัดสินให้เราเป็นคนพิการ อคติและการตัดสินของพวกเขาที่มีต่อคนพิการ ทำให้พวกเราไม่สามารถแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่

Deaf,Girl,Making,Cinnamon,Rolls
ภาพโดย Neha Balachandran.

SSTK: ช่วยลงลึกเข้าอีกสักเล็กน้อย คุณว่าสังคมช่างภาพเปิดพื้นที่ให้กับคนพิการหรือช่างภาพหูหนวก มากน้อยเพียงใด?

Balachandran: ความเห็นของฉันจริง ๆ แล้วพวกทรัพยากร คู่มือสอน และคอนเทนต์ในโซเชียมีเดีย มันไม่มีซับหรือแคปชั่นให้อ่านเลย เป็นเหมือนกำแพงทางภาษาสำหรับพวกเราที่ก้าวข้ามไม่ได้  นั่นจึงเป็นสาเหตุที่พวกเราต้องสร้างพื้นที่หรือชุมชนขึ้นมาเป็นของตัวเอง แบ่งปันความรู้กันเอง เพื่อสร้างช่างภาพที่ดีแก่อุตสาหกรรมต่อไป

แม้จะเป็นเส้นทางที่ท้าทาย แต่เราก็ค่อย ๆ ทำลายกำแพงนี้ลง เพื่ออนาคตของช่างภาพหูหนวกรุ่นใหม่ต่อไป ให้พวกเขาได้เข้าถึงทรัพยากรความรู้อันล้ำค่า 

ตอนนี้ฉันกำลังสร้างเส้นทางสายช่างภาพ เส้นสาย และชุมชนขึ้นมาจากศูนย์ เป็นความท้าทายอย่างมาก แต่ฉันก็ชอบที่ได้ก้าวข้าม Comfort zone ที่มีอยู่ออกไป

คติประจำใจของฉันก็คือ : “You never know if you don’t try. What’s the harm in trying?” (ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ แค่ได้ลองจะเสียหายอะไร?)

Screenshot 2024 10 22 at 11.05.58 AM
ภาพ Neha Balachandran x2 x3.

SSTK: สิ่งใดที่คุณหวังให้สาธารณะชนได้รู้ เกี่ยวกับช่างภาพหูหนวกที่หลายคนไม่เข้าใจ?

Balachandran: เราอยากมีส่วนร่วมกับทุกคนแบบไม่โดนแบ่งแยก เราเป็นคนมีความรู้และประสบการณ์ มีทักษะและพรสวรรค์ ถ้าคุณไม่เลิกมองข้ามความหูหนวกของเราแบบนี้ คุณก็จะพลาดสิ่งดี ๆ ที่มาจากเรา

คุณสามารถสื่อสารกับเราด้วยการพิมพ์บนมือถือก็ได้ เหมือนกับที่ทุกคนส่งข้อความหากัน มันไม่ต่างกันเสียเท่าไหร่หรอก หรือถ้าต้องมีการพูดคุยกับพวกเราอย่างจริงจัง การจ้างล่ามภาษามือคือสิ่งที่ควรมีจริง ๆ การพยายามอ่านปากของคนอื่นมันไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นอย่าทำให้เราลำบากใจไปเพราะการไม่เตรียมพร้อมของใครเลย

SSTK: คุณมีมุมมองของการถ่ายภาพแตกต่างจากคนปกติอย่างไร? ความผูกพันธ์ของคุณกับการถ่ายภาพแตกต่างจากคนอื่นยังไง?

Balachandran: ฉันเชื่อว่าคนหูหนวกมีมุมมองไม่เหมือนใคร วิธีที่ถ่ายภาพจังหวะและอารมณ์ก็แตกต่าง การเป็นคนหูหนวกทำให้ฉันมีความไวด้านสายตา และความอ่อนไหวในรายละเอียดที่มากขึ้น ฉันสังเกตเห็นแสง รูปร่าง และพื้นผิวต่าง ๆ เคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ฉันจัดองค์ประกอบภาพได้

นอกจากนี้ การถ่ายภาพยังเป็นสิ่งที่แสดงตัวตนของเราออกมาโดยที่ไม่ต้องใช้ภาษาพูด ฉันเติบโตมากับการถ่ายภาพด้วยการสังเกตพฤติกรรมของทุกสิ่งในบ้าน ท่าทาง ใบหน้า และภาษากายของผู้คน

ทุกภาพถ่ายที่ฉันถ่ายออกมาคือตัวแทนของฉันจากอารมณ์ภายใน ความเชื่อมโยงของคนหูหนวกที่รักการถ่ายภาพ นี่คือฉัน

Screenshot 2024 10 22 at 11.08.26 AM
ภาพโดย Neha Balachandran x2 x3.

SSTK: ภาพประเภทไหนที่คุณรักที่สุด?

Balachandran: ฉันชอบถ่ายภาพชีวิตประจำวัน เพราะสิ่งนี้ทำให้ฉันรู้สึกถึงคุณค่าในทุกช่วงเวลา เก็บไว้ให้ทุกคนชื่นชมตลอดไป

พอฉันโตขึ้นและพึ่งพาตัวเองได้แล้ว ฉันก็สร้างบรรยากาศและชุมชน ที่ทุกคนสามารถทำงานด้วยกันได้อย่างสบายใจ ให้พวกเขารู้สึกว่าอยากก้าวออกจาก Comfort zone มาหาฉันเพื่อทำตามความฝัน สิ่งนี้มีความหมายกับฉันมากมาย รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้กลายเป็นผู้ให้ และมอบประสบการณ์เหล่านั้นให้กับพวกเขาได้

ช่างภาพที่หูหนวกจะไม่ได้รับประสบการณ์เท่ากับช่างภาพที่ได้ยินเสียงตามปกติ แต่พวกเราก็สามารถสื่อสารภาษามือโดยที่คนทั่วไปไม่เข้าใจได้เช่นกัน มันทำให้ฉันพบว่าพวกเราก็เป็นคนพิเศษไม่ต่างกับคนอื่น

SSTK: ทำไมคุณถึงยังชอบถ่ายรูปอยู่ไม่เคยเบื่อ?

Balanchandran: สิ่งนี้ทำให้ฉันมีเป้าหมายในชีวิตใหม่ ๆ ตอนที่เกิดโรคระบาดฉันสูญเสียตัวตนไปสักพักหนึ่งเลย ถึงแม้ว่าฉันจะเรียนอยู่ปริญญาตรีและชอบทำกิจกรรมมากก็ตาม การถ่ายภาพเติมเต็มจิตวิญญาณของฉัน ฉันเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์มาตลอดตั้งแต่เด็ก แค่ฉันไม่รู้ว่าจะใช้มันหาเงินได้อย่างไรเฉย ๆ ดังนั้นมันเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากในชีวิต

SSTK: สุดท้ายแล้ว The Create Fund มีผลอย่างไรกับคุณ?

Balanchandran: The Create Fund มีผลต่อฉันมาก เพราะทำให้ฉันมีงบอัปเกรดอุปกรณ์ถ่ายภาพ การถ่ายภาพของฉันจึงดีขึ้นด้วย ทำให้ฉันเอื้อมถึงสิ่งที่ฉันไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้มา

ไม่เพียงเท่านั้น ฉันยังกลายเป็นตัวแทนจากชุมชนช่างภาพหูหนวก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับฉันมากมาย และฉันก็จะทำมันอย่างเต็มที่ตลอดไป

บทความโดย : The Create Fund: An Interview with Neha Balachandran

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Related Blog

 
รูปภาพ 1

The Create Fund: ช่างภาพผิวสีที่ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านสี “ขาว-ดำ”

 
 
Gabriel Lopes Lima ปก

The Create Fund: บทสัมภาษณ์คุณ Gabriel Lopes Lima ช่างภาพชาว LGBTQ+

 
 
The Create Fund

The Create Fund: ผู้ชนะการประกวดถ่ายภาพหัวข้อ #unexpectedb0nds จากทั่วโลก

 
 
1

The Create Fund: จากวิศวกรไฟฟ้าสู่ผู้ทำ 3D อนิเมชั่น คุณ Kotey “Derek” Annan

 

กรุณากรอกข้อมูลสำหรับการติดต่อ





    Type: