พิกเซล

ธุรกิจ

พิกเซลคืออะไร? ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ

พิกเซลคืออะไร? สิ่งนี้ไม่ใช่ศัพท์ทางเทคนิคนี้เข้าใจยาก! เพราะพิกเซลมีผลกระทบต่อการทำงานทั้งการถ่ายภาพและการสร้างแบรนด์ ทุกคนควรรู้จักไว้เพราะเดี๋ยวเราจะบอกเหตุผลว่าทำไม!

ทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า “พิกเซล” ว่าเป็นที่เก็บองค์ประกอบรูปภาพต่าง ๆ ไว้ข้างใน แต่คุณรู้จักสิ่งนี้ดีแค่ไหน? พิกเซลคืออะไรกันแน่?

ในโลกดิจิทัล พิกเซลถือเป็นรากฐานของชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง เพราะมีผลต่อระบบทุกสิ่งในการแสดงผลตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลที่เราโพสภาพ ไปจนถึงแบรนด์คอนเทนต์ที่เราใช้ในธุรกิจ 

สิ่งนี้มีอยู่ทุกที่!

คุณจึงต้องรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับพิกเซล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้ภาพสต็อกสร้างแบรนด์ และแสดงผลบนจอดิจิทัล

พิกเซลคืออะไร?

พิกเซล (px) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดและเป็นพื้นฐานของภายในภาพดิจิทัล มีตั้งแต่หลักหน่วยไปจนถึงหลายร้อยล้าน (หรือมากกว่านั้น) รวมตัวกันเพื่อสร้างภาพทุกภาพที่คุณเห็นบนจอดิจิทัล เช่น ทีวี แท็บเล็ต หรือจอคอมพิวเตอร์

อธิบายง่าย ๆ ก็คือพิกเซลเปรียบเสมือนส่วนประกอบที่คล้ายเลโก้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบขนาดเล็กที่แยกจากกันได้ สามารถวางซ้อนกันในแนวนอนหรือแนวตั้งได้ไม่มีที่สิ้นสุด ต่างจากเลโก้ตรงที่เลโก้ที่มีรูปทรงหลายแบบ แต่พิกเซลจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสเสมอ (นับแค่ยุคปัจจุบัน)

เมื่อคุณเห็นเลโก้เวลาอยู่ใกล้ ๆ คุณจะเห็นเพียงแค่บล็อกเดียว แต่ถ้าคุณถอยออกมาดูเลโก้หลาย ๆ อันพร้อมกัน คุณจะเห็นภาพรวมที่ใหญ่ขึ้นทันที เช่นเดียวกับพิกเซลในภาพถ่ายและภาพดิจิทัลอื่น ๆ 

วิธีที่ดีที่สุดในการตอบคำถามว่า “พิกเซลในการถ่ายภาพคืออะไร?” ก็คือการมองให้ใกล้และละเอียดยิ่งขึ้น

อย่างแรกให้ดาวน์โหลดภาพดิจิทัลจาก Shutterstock ไปส่องดู

พิกเซล
ภาพโดย Addictive Creative

จากนั้นซูมดู

พิกเซล

จากนั้นซูมอีกครั้ง อีกครั้ง แล้วก็อีกครั้งจนกว่าภาพจะกลายเป็นบล็อก ๆ (อาจจะต้องซูมหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับมิติของภาพและความใหญ่)

พิกเซล

แต่ละบล็อกที่คุณเห็นก็คือพิกเซล

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับพิกเซลและการถ่ายภาพ

เพื่อให้เข้าใจเรื่องพิกเซลว่าทำไมถึงสำคัญในเชิงปฏิบัติ มาดูความจริงทั้ง 6 ข้อต่อไปนี้

1.พิกเซลใช้ได้กับภาพราสเตอร์เท่านั้น

ต้องรู้กันก่อนว่าพิกเซลเกี่ยวข้องกับภาพราสเตอร์เท่านั้น ไม่รวมภาพเวกเตอร์ และพิกเซลใช้กับบริบทจอแสดงผลดิจิทัลเท่านั้น

ถ้าไม่เข้าใจว่าราสเตอร์ vs. เวกเตอร์คืออะไร ลองคลิกเข้าไปอ่านดูก่อน

  • ภาพราสเตอร์ สร้างขึ้นจาก Pixel ถ้าคุณซูมเข้าไปใกล้พอคุณจะเห็นพิกเซลแยกออกมาเป็นเม็ด ๆ ติดกันจนกลายเป็นภาพใหญ่
  • ภาพเวกเตอร์ สร้างขึ้นจากเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์ และสามารถขยายได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าคุณจะซูมเข้าไปใกล้แค่ไหนก็ไม่มีวันเห็นเม็ดพิกเซล เพราะมันไม่เคยมีอยู่ในภาพเวกเตอร์
พิกเซล
ภาพดัดแปลงจาก Ugo Calabria

เคล็ดลับ: ถ้าคุณถ่ายรูปหรือใช้ภาพจากเว็บสต็อก (ที่ไม่ใช่ไฟล์เวกเตอร์) จะต้องเจอไฟล์ประเภทราสเตอร์ที่มีพิกเซลอยู่เสมอ

2.ขนาดของภาพจะแสดงออกมาเป็นพิกเซล

คุณมักจะเคยได้ยินว่าพิกเซลคือรูปแบบขนาดของภาพ เช่น ภาพขนาด 1000 x 750 พิกเซล ซึ่งจะมีความกว้าง 1000 พิกเซล และมีความสูง 750 พิกเซล เป็นต้น

ถ้าคุณดาวน์โหลดภาพจาก Shutterstock คุณจะเห็นข้อมูลขนาดของรูปภาพพิกเซลต่อพิกเซล

พิกเซล

สิ่งสำคัญที่คุณต้องเข้าใจเกี่ยวกับพิเซลก็คือ ขนาดที่คุณเห็นในปัจจุบันคือขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่ภาพจะชัดได้แล้ว ถ้าอยู่ดี ๆ คุณไปขยายออกอาจทำให้ภาพแตกได้ เช่น คุณมีภาพขนาด 1000 x 750 แต่เอาไปขยายเป็น 2000 x 1500 พิกเซล อาจทำให้ภาพเบลอหรือพิกเซลแตกได้

เคล็ดลับ: อย่านำภาพประเภทราสเตอร์ไปขยายให้ใหญ่กว่าภาพต้นฉบับเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นคุณจะสูญเสียคุณภาพไฟล์ไปได้ แต่ถ้าจำเป็นเราแนะนำให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้: วิธีปรับขนาดไฟล์ภาพแบบไม่สูญเสียคุณภาพ

3.พิกเซลไม่มีขนาดไซส์ตายตัว

คำถามที่พบบ่อยก็คือ “แล้วพิกเซลมีขนาดเท่าไหร่?” คำตอบที่ได้ค่อนข้างกำกวม…

เพราะพิกเซลไม่มีขนาดทางกายภาพที่แท้จริง ขนาดของพิกเซลขึ้นอยู่กับความละเอียดของหน้าจอที่ใช้ดูภาพ

เช่ส ภาพถ่ายขนาด 1200 x 600 พิกเซล บนหน้าจอมาตรฐานอาจมีขนาด 6 x 3 นิ้ว (ขนาดสมมุติ) แต่ในหน้าจอขนาดใหญ่ ภาพนี้อาจปรากฎออกมาในขนาดแค่ 3 x 1.5 นิ้ว ก็เป็นได้

แต่ในทั้งสองกรณี ค่าสัมบูรณ์ของพิกเซลขนาดความกว้างและสูงจะเท่ากันเสมอ

สิ่งที่แตกต่างก็คือความหนาแน่นของพิกเซล ซึ่งจะวัดจากจำนวนพิกเซลของขนาดจอดิจิทัล ยิ่งจอความละเอียดสูงเท่าไหร่ รูปภาพก็จะยิ่งเล็กลงเท่านั้น เนื่องจากจำนวนพิกเซลเท่ากันแต่ถูกบรรจุในพื้นเล็กลงนั่นเอง

แต่ว่ามันมีขนาดบ่งบอกอยู่ไม่ใช่เหรอ?

แน่นอนว่าคุณจะเห็นรายละเอียดของขนาดหน้าจอมากมายที่ระบุไว้ เช่น 19 x 14 นิ้ว แต่ขนาดเหล่านี้หมายถึงสำหรับงานตีพิมพ์ ไม่ใช่สำหรับแสดงผลบนจอดิจิทัล

ถ้าคุณต้องการโหลดภาพนำมาตีพิมพ์ที่ขนาด 19 x 14 นิ้ว ด้วยความละเอียด 300 DPI (หน่วยวัดความละเอียดการพิมพ์ และ 300 DPI คือค่ามาตรฐานอุตสาหกรรม สำหรับตีพิมพ์ภาพถ่ายคุณภาพสูง)

อย่างไรก็ตามถ้าคุณมองภาพเดียวกันบนจอดิจิทัล ขนาดจะที่ภาพถูกเรนเดอร์จะขึ้นอยู่กับความละเอียดหน้าจอของคุณ ไม่เกี่ยวอะไรกับขนาด 19 x 14 ที่แสดงไว้แต่แรก

เคล็ดลับ: เมื่อดูบนหน้าจอเดียวกัน ภาพที่มีขนาดพิกเซลมากกว่าจะปรากฎเป็นภาพขนาดใหญ่กว่าเสมอ แต่กรณีนี้อาจไม่เสมอไปเพราะอุปกรณ์รับชมต่าง ๆ มีขนาดแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นคุณต้องทดสอบภาพของคุณที่ปรากฎบนหน้าจอต่าง ๆ อย่างสม้ำเสมอเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมา เช่น Retina OLED 4K หรือ 8K

4.ประเภทของไฟล์มีผลต่อข้อมูลพิกเซล

ทุกภาพล้วนมีข้อมูลพิกเซล แต่พิกเซลเหล่านั้นจะมีแสดงข้อมูลได้ดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับประเภทไฟล์ที่บันทึกไว้ 

ในโลกนี้มีประเภทของไฟล์อยู่มากมาย แต่ที่รู้จักกันดีสุดในวงการถ่ายภาพก็คือ PNG และ JPG:

  • JPG นี่คือไฟล์เหมาะกับการใช้บนเว็บไซต์ เนื่องจากไฟล์ประเภทนี้ถูกบีบข้อมูลในภาพมาแล้ว (พิกเซลนั่นเอง) เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง แต่ทุกครั้งที่ไฟล์ถูกบีบอัด คุณภาพก็จะลดลงทุกครั้ง เนื่องจากพิกเซลบางส่วนสูญหาย หรือที่ถูกเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “lossy”
  • PNG ไฟล์ประเภทนี้ไม่เคย “สูญเสียคุณภาพ” เนื่องจากภาพประเภทนี้จะไม่โดนลดคุณภาพ แถมยังรองรับภาพพื้นหลังโปร่งใส ที่ไฟล์ JPG ไม่สามารถทำได้ ข้อดีคือสามารถรักษาพิกเซลไว้ได้ทั้งหมด แต่ข้อเสียคือขนาดไฟล์ใหญ่กว่ามาก

เคล็ดลับ: เพื่อให้ได้ความคมของภาพสูงสุด คุณจะต้องให้ความสำคัญกับไฟล์ภาพ ถ้าคุณรู้สึกว่าไฟล์ภาพแตกอยู่แล้ว ก็ควรโอนย้ายด้วยไฟล์อื่น ๆ ที่สามารถเก็บคุณภาพพิกเซลไว้ได้

เรียนรู้ความแตกต่างระหว่าง PNG vs. JPG ได้ที่นี่

5.ยิ่งพิกเซลเยอะยิ่งไฟล์ใหญ่

ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ประเภทใด ยิ่งพิกเซลมากเท่าไหร่ขนาดไฟล์ก็จะใหญ่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น JPG ที่มีขนาด 1000 x 500 พิกเซล จะมีขนาดใหญ่กว่า 250 x 250 อย่างแน่นอน และยิ่งไฟล์บนเว็บใหญ่เท่าใด เว็บไซต์จะยิ่งโหลดช้าลงเท่านั้น ผู้ใช้งานก็จะยิ่งหงุดหงิดตามไปด้วย

ถ้าคุณใช้ภาพสต็อกสำหรับเว็บไซต์ กฎเหล็กที่ต้องจำไว้ก็คือคุณต้องปรับขนาดภาพให้มีขนาดพิกเซลเล็กที่สุดเท่าที่จะเล็กได้ (แต่อย่าเล็กจนแตกนะ)

หากคุณต้องการภาพพื้นหลังขนาดใหญ่ คุณสามารถขยายพิกเซลไปจนเกิน 2000 ได้ แต่ถ้าคุณแค่ต้องการทำภาพปกคลิปก็ควรใช้พิกเซลเล็ก ๆ แทน เพื่อความเร็วบนหน้าเว็บไซต์

เคล็ดลับ: จากกฎ Goldilocks สำหรับภาพสต็อกที่ใช้บนเว็บไซต์ก็คือ ภาพต้องไม่เล็ก ไม่ใหญ่เกินไป หากจำเป็นภาพต้องมีความสมดุลระหว่าง ความละเอียด คุณภาพ และความเร็วในการปรากฎบนเว็บไซต์

6.พิกเซลแตกก็ถือเป็นเรื่องดี

ถ้าคุณทำพิกเซลแตกเยอะเกินโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจสร้างความไม่ไว้วางใจแก่ลูกค้าได้ แถมยังทำให้คุณดูไม่เป็นมืออาชีพด้วย แต่พิกเซลแตกก็อาจเป็นข้อดีเหมือนกัน

สำหรับบริษัทที่มองหาความแปลกใหม่ ต้องการคอนเทนต์ที่เป็นสไตล์พิกเซลเพื่อเพิ่มเอกลักษณ์ให้แบรนด์ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความเนิร์ด และความสนุกสนาน ภาพสไตล์พิกเซลแตกก็อาจเป็นคำตอบก็ได้ เพราะสิ่งนี้จะให้ความรู้สึกเก่า ๆ เรโทร ย้อนยุค มีพิกเซลน้อยกว่าสไตล์ปัจจุบัน

10 ภาพสต็อกสไตล์พิกเซล สำหรับใช้โปรโมทแบรนด์ ทำคอนเทนต์โซเชียล และอื่น ๆ อีกมากมาย

1.Old School Gamer

พิกเซล
ภาพโดย N.Ptashka

2.Classic Art

พิกเซล
ภาพโดย NLD Illustration

3.3D Pixel Typography

พิกเซล
ภาพโดย Aratehortua

4.Retro Computer

พิกเซล
ภาพโดย cybermagician

5.Hacker Vibes

พิกเซล
ภาพโดย SkillUp

6.Pixel Composite

พิกเซล
ภาพโดย helloabc

7.Meme-ish

พิกเซล
ภาพโดย Unknown man

8.Abstract Backgrounds

พิกเซล
ภาพโดย Klavdiya Krinichnaya

9.Glitch Aesthetic

พิกเซล
ภาพโดย ded pixto

10.Sale Banner

พิกเซล
ภาพโดย MarySan

บทความโดย : What Is a Pixel and Why Is It Important?

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Related Blog

 
ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ภาพขั้นพื้นฐานที่ควรรู้ : ทำไมลิขสิทธิ์ภาพสต็อกถึงสำคัญ?

 
 
เลือกภาพสต็อกที่สมจริงให้ไม่น่าเบื่อ & พร้อมปรับแต่งให้ภาพเป็นสไตล์คุณเอง

เลือกภาพสต็อกที่สมจริงให้ไม่น่าเบื่อ & พร้อมปรับแต่งให้ภาพเป็นสไตล์คุณเอง

 
 
กลยุทธ์การตลาด

12 ไอเดียยกระดับการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

 
 
Small Business Owners Checklist Ideas Get Organized in Minutes

จัดระเบียบงานของคุณภายในไม่กี่นาทีโดยใช้เช็คลิสต์สำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก

 

กรุณากรอกข้อมูลสำหรับการติดต่อ





    Type: