เมื่อค่ายหนัง A24 ตัดสินใจทำหนังพาคนทุกคนตะลุยข้ามมัลติเวิร์ส พวกเขาไว้ใจฟุตเทจจาก Pond5 ในการสร้างเอฟเฟคและสไตล์งานอาร์ตต่าง ๆ จนได้คว้ารางวัลออสการ์มาครอบครอง
การเดินทางข้ามผ่านจักรวาลต่าง ๆ พร้อมปั่นประสาทคนดูตลอดเวลา หนังจากค่าย A24 “Everything Everywhere All At Once กระโดดข้ามประเภทของหนังแนวต่าง ๆ ไปมาจนกลายเป็นหนังที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปี 2023 ทำให้หนังเรื่องนี้ชนะเลิศในงานประกวดทั้งสิ้น 7 งานรวมถึงงานออสการ์ในประเภทภาพยอดเยี่ยม กำกับยอดเยี่ยมและ
ตัดต่อยอดเยี่ยม
เอฟเฟกต์ในหนังอันยอดเยี่ยมและเรื่องราวที่ยากจะลืมเลือนถูกสนับสนุนการถ่ายทำโดย Pond5 คลังภาพและวิดีโออันสุดแสนมีเอกลักษณ์ กำกับโดย Daniel Kwan และ Daniel Scheinert รวมถึงนักตัดต่อมืออาชีพที่ใช้ฟุตเทจจาก Pond5 มาเล่าเรื่องจักรวาลคู่ขนานอันกว้างใหญ่
เราได้รับสิทธิพิเศษในการพูดคุยกับบุคคลสำคัญ 3 คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดหาและตัดต่อสต็อกฟุตเทจในเรื่อง Everything Everywhere All At Once:
- คุณ Aashish D’Mello, ผู้ช่วยนักตัดต่อ
- คุณ Zekun Mao, ผู้ช่วยนักตัดต่อ
- คุณ Carey Len Smith, โปรดิวเซอร์ Post-Production
เรามาดูกันว่าวิธีเลือกฟุตเทจจากสต็อกเว็บไซต์ การผสานงานในช่วงกักตัวเพราะ COVID-19 และ Pond5 มาช่วยสร้างสรรค์ไอเดียการเล่าเรื่องได้อย่างไร
เบื้องหลังการเลือกคอนเทนต์สต็อกสำหรับมัลติเวิร์ส
ถ้าคุณยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ เราจะสรุปสั้น ๆให้คุณเข้าใจ: นางเอกที่สุดแสนธรรมดาชื่อว่า “Evelyn” นำแสดงโดยนักแสดงหญิงรางวัลออสการ์ “Michelle Yeoh” ถูกลากเข้าไปพัวพันกับการต่อสู้ระหว่างมิติโดยที่เธอต้องต่อสู้กับแหล่งที่มาของความชั่วร้าย และต้องปกป้องมิติความเป็นจริงทั้งหมด
แนวคิดของภาพยนต์เรื่องนี้ซับซ้อนและเหนือล้ำจินตนาการ ผู้กำกับและทีมงานตัดต่อต้องการให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์และการรับชมภาพเอฟเฟคอันน่าทึ่ง ให้ทุกคนได้รู้สึกเหมือนกับนางเอกว่าทุกคนนั้นเล็กเพียงใด ท่ามกลางจักรวาลอันไร้สิ้นสุด
ฉากบางช่วงที่น่าจดจำล้วนใช้ฟุตเทจจาก Pond5 ทั้งหมด ซึ่งจะอยู่ในช่วง:
- ทุก ๆ อย่างอยู่ในขนมปังเบเกิล (คุณจะเห็น คลิป ในฉากนี้)
- ฉากต่อสู้ที่กระโดดข้ามมัลติเวิร์ส (คลิป ปรากฎออกมาในฉากนี้)
- มุม Close-up หน้านางเอกตัดสลับหลายจักรวาล (คุณหา คลิป นี้เจอไหม?)
คุณ D’Mello กล่าว “ฉากที่บ้าบอที่สุดคือตอนที่ Evelyn เจอกับ Jobu ครั้งแรกแล้วเกิดโกลาหลข้ามมัลติเวิร์ส” ทีมของเขาต้องการภาพและฟุตเทจที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อขยายความสิ่งที่ Jobu พูดในฉากนี้
“เราสามารถหาภาพหมาโบราณที่เข้ากับหนังได้ค่อนข้างดีเลย” เขากล่าว
คุณ Mao กล่าวว่า “เห็นด้วย เราสามารถหาภาพและวิดีโอที่เข้ากับความครีเอทีฟของเราได้ ต้องขอบคุณพี่น้อง Daniels และคลังสต็อกของ Pond5”
เพิ่มศักยภาพการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
จากบทสัมภาษณ์ของคุณ D’Mello ฉากในหนังกว่า 95% ที่ไม่ได้ถ่ายทำเองล้วนมาจาก Pond5
คุณ Mao กล่าว “หลายครั้งเลยที่เราพยายามหาบางอย่างที่มีเอกลักษณ์ เราจึงมองหาเว็บฟุตเทจสต็อกที่มีคลิปให้เลือกมากมายแต่ก็ยังคงมีเอกลักษณ์แตกต่างจากที่อื่น นี่คือสิ่งที่ Pond5 โดดเด่นสะดุดตาเรามาก”
ทีมตัดต่อใช้เวลาไปกับการเลือกภาพและคลิปที่จะนำมาประกอบจำนวนมาก เพื่อให้หนังมีความเข้ากันกับคลิปให้ได้ดีที่สุด เรายังได้รับความช่วยเหลือจาก Pond5 Creative Partners และ Pond5’s research service อีกด้วย
คุณ Len Smith อธิบายว่าการทีมงานทุกคนทำงานร่วมกันอย่างหนักในการค้นหาคลิป ประกอบเข้ากับการตัดต่อ เรื่องปัญหาลิขสิทธิ์ ซึ่งทุกคนทำได้ดีมาก”
ผู้กำกับมีส่วนร่วมกับงานอย่างใกล้ชิด ทั้งพูดคุยและแบ่งปันคลิปต่าง ๆ เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุดกับหนังเรื่องนี้ การทำงานร่วมกันแบบนี้ก่อให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ มากมาย ทำให้คำสั่งของผู้กำกับเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน
แต่โชคดีที่ Pond5 มีคลังคอนเทนต์มหาศาล จนทำให้ทีมงานสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่นตลอดขั้นตอนผลิตผลงาน
“เวลาพี่น้อง Daniels ชอบอะไรเขาก็แค่ส่งลิ้งก์มาให้เรา ทำให้การนำไปวางทดลองกับงานง่ายมาก” คุณ Len Smith กล่าว
ความสะดวกสบายในการทำงานร่วมกันคือสิ่งสำคัญในการสร้างภาพยนต์เรื่องนี้ เนื่องจากทีมงานจะต้องทำงานแยกกันในช่วงกักตัว
จาก Pond5 สู่โรงภาพยนตร์
เพราะเรื่องนี้สร้างขึ้นในช่วง COVID-19 ระบาดพอดี หนังเรื่อง Everything Everywhere All At Once สำเร็จขึ้นได้ต้องขอบคุณเทคโนโลยีและการร่วมมือกันอย่างยอดเยี่ยมของทีมงาน รวมถึงทีมงานตัดต่อที่ปรับตัวการทำงานในช่วงกักตัวได้อย่างดีเยี่ยม
คุณ Mao กล่าวว่า “เราต้องทำงานทางไกล เราเลยคิดวิธีที่ทำให้งาน Post-production ดำเนินไปได้ด้วย”
โชคไม่ดีที่ทีมถ่ายทำไม่สามารถถ่ายฉากที่วางแผนไว้แต่แรกไว้ได้ ต้องขอบคุณฟุตเทจจากเว็บสต็อกที่คอยเติมเต็มสิ่งที่ขาดนั้นได้
คุณ Len Smith กล่าว “เราใช้สต็อกเว็บไซต์กันจนกลายเป็นแฟชั่นในการทำงานไปเลย เวลาที่ต้องมาเลือกคอนเทนต์ให้เข้ากับงาน”
ทีมงานทำงานอย่างหนักจนกระทั่งพวกเขาเห็นหนังตัวเองได้รับรางวัล Academy Award สาขาการตัดต่อหนังยอดเยี่ยม นับเป็นเป้าหมายที่เกินคาดไปมาก แต่เราก็ตื้นตันที่รับรางวัลนี้จากการทำงานมาอย่างหนักหน่วง
หนังที่เล่าเรื่องอย่างซับซ้อน โกลาหลและมีการเคลื่อนไหวไปมาที่มากมายแบบนี้ การตัดต่อจึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและมีทักษะยอดเยี่ยม เพราะแค่การเล่าเรื่องไม่ให้สับสนก็ยากพออยู่แล้ว แต่เพราะแบบนี้จึงทำให้ Everything Everywhere All At Once ได้รับรางวัลมากมายและผู้ชมต่างชื่นชอบมากมายทั่วโลก
“เราแค่อยากให้หนังมันเสร็จและตรงตามสิ่งที่เราต้องการ…เราคิดเพียงแค่นั้นแหละ”
บทความโดย : How the Creators of ‘Everything Everywhere All at Once’ Pushed Visual Boundaries with Pond5 Stock Footage
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24