ที่มาของภาพสต็อกที่ยอดเยี่ยมล้วนเกิดขึ้นจากองค์ประกอบของภาพที่สวยงาม เพราะพลังแห่งการจัดวางองค์ประกอบคือพลังที่นักออกแบบและช่างภาพทุกคนควรมีไว้ติดตัว
ถ้าคุณละสายตาจากภาพ ๆ หนึ่งไม่ได้ เป็นไปได้ว่าคุณกำลังโดนองค์ประกอบภาพสะกดจิตอยู่ ที่สามารถเปลี่ยนภาพที่ธรรมดาให้เป็นกลายเป็นภาพที่ดึงดูดใจได้
เรียนรู้เทคนิคและเคล็ดลับเบื้องหลังภาพถ่ายอันยอดเยี่ยม ที่จะทำให้ผู้ชมต้องอึ้งและดึงดูดความสนใจจากพวกเขาได้ จากนั้นเราจะแบ่งปันเทรนด์และสไตล์การใช้ภาพในแคมเปญการตลาดและโฆษณา ให้ทุกคนได้รับรู้
องค์ประกอบภาพคืออะไร?
ถ้าจะให้อธิบายองค์ประกอบภาพแบบง่าย ๆ ก็คือการที่องค์ประกอบภาพถูกจัดเรียงและประกอบเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบ ทำให้ภาพมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
การจัดองค์ประกอบยังทำให้ภาพสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อยชวนมอง
ช่างภาพมืออาชีพหลายคนล้วนมีทักษะการจัดองค์ประกอบติดตัวทุกคน ซึ่งผลงานของพวกเขายังเป็นต้นแบบและแนวทางที่ช่วยให้ช่างภาพมือใหม่เข้าใจเรื่ององค์ประกอบภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพ หรือการแต่งภาพ
กฎของการวางองค์ประกอบภาพ ได้แก่ การใช้เส้นนำสายตา ความชัดตื้น ความสมดุล และกฎสามส่วน ทั้งหมดนี้ทำให้ภาพเกิดรูปแบบที่แตกต่าง สร้างการดึงดูดของสายตาและทำให้คนสนใจนานขึ้น
ในบทความเราจะพูดถึงเรื่ององค์ประกอบภาพดังต่อไปนี้
1.เส้นนำสายตา
2.ความชัดตื้น
3.มุมภาพ
4.ความสมดุล
5.กฎสามส่วน
6.พื้นหลัง
7.กรอบภาพ
เมื่อคุณเชี่ยวชาญการจัดองค์ประกอบภาพแล้ว คุณจะพบว่าการแต่งภาพและการถ่ายภาพสต็อกทำได้ง่ายขึ้น ความหมายในภาพของคุณก็จะยิ่งทรงพลังขึ้นเช่นกัน
1.เส้นนำสายตา (Leading Lines)
เส้นนำสายตา คือการจัดวางองค์ประกอบที่ดึงดูดสายตาผู้ชมไปยังจุดโฟกัสของภาพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงที่เห็นเด่นชัดเสมอไป อาจจะเป็น ถนน เทือกเขา หรือแค่มือที่ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นต้น
เคยสงสัยไหมว่าภาพสไตล์ Follow Me (จูงมือจากด้านหลัง) ถึงเป็นไวรัลยอดนิยม? เพราะภาพนี้ถูกคนที่อยู่ข้างหน้าเป็นจุดนำสายตา โดยใช้แขนสร้างเส้นนำทางไปยังเป้าหมายข้างหน้านั่นเอง
ในแง่ของการจัดวางองค์ประกอบ เส้นนำสายตามีประโยชน์ในการสร้างความชัดตื้น สร้างพื้นที่ และบ่งบอกการเคลื่อนไหว อีกทั้งยังสามารถสื่อสารความนัยบางอย่างว่าใกล้ถึงเป้าหมายแล้วด้วย
คุณสามารถมองเห็นการจัดวางองค์ประกอบลักษณะนี้ในงานจริงหลายประเภท ซึ่งจะเห็นบ่อยมากในงานถ่ายภาพสต็อก เพียงจินตนาการถึงเส้นที่ทอดจากอีกจุดหนึ่งไปยังอีกจุด จากจุดที่ใกล้ที่สุดไปยังจุดที่ไกลที่สุด คุณจะเห็นว่าเทคนิคนี้ช่วยเพิ่มมิติให้ภาพได้อย่างดี
2.ความชัดตื้น
การถ่ายภาพสามารถบีบอัดทุกสิ่งที่เป็น 3D ให้กลายเป็นภาพ 2D ได้ ทำให้ภาพถ่ายที่ดีต้องสื่อสารความมีมิติในภาพด้วยความชัดตื้น
ซึ่งวิธีก็คือคุณต้องเล่นกับความเล็กใหญ่ในภาพ สร้างคอนทราสต์ระหว่างฉากหน้าและฉากหลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สไตล์การจัดวางองค์ประกอบนี้นิยมใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ และภาพโปสเตอร์ที่เน้นสมจริง ความชัดตื้นทำให้คนดูรู้สึกเหมือนกับดูภาพยนต์ คุณจะเห็นเทคนิคนี้ใช้กับโปสเตอร์หนังชื่อดังมากมาย และยิ่งใช้เยอะเข้าไปอีกในหนังที่เน้นสไตล์ 3D หรือ VR
3.มุมภาพ
เพียงแค่เปลี่ยนมุมการถ่ายภาพ ก็สามารถสร้างความแตกต่างได้ง่าย ๆ
ลองจินตนาการว่าคุณมองออกไปที่ทุ่งหญ้าสะวันนาแล้วเห็นฝูงวิลเดอร์บีส จากมุมนี้คุณจะมองเห็นได้แต่ฝูงสัตว์บริเวณด้านหน้าเท่านั้น
ถ้าอยากได้ภาพที่แสดงปริมาณของสัตว์ในฝูงมากขึ้น คุณก็ควรเลือกมุมถ่ายภาพที่อยู่สูงขึ้น 45 องศา หรือมุมถ่ายภาพกลางอากาศไปเลย
การเปลี่ยนมุมมองในการจัดองค์ประกอบภาพ ช่วยให้วัตถุเดียวกันแต่มองเห็นไม่เหมือนกันได้
แค่เปลี่ยนมุมภาพคุณก็สามารถมองเห็นบางสิ่งที่หลายคนมองไม่เห็นได้
ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณดูภาพที่หลายหน้าขึ้นไปยังจุดโฟกัสมุมสูง เราจะรู้สึกหวาดกลัวและตัวเล็ก หรืออาการกลัวที่แคบจากภาพที่มีพื้นที่น้อย หรือภาพจากมุมบนที่มองลงมาเบื้องล่าง เราจะรู้สึกผ่อนคลายและมองเห็นภาพกว้างใหญ่มากขึ้น
เหมาะอย่างยิ่งในการถ่ายภาพทิวทัศน์หรือสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่
4.ความสมดุล
นี่คือองค์ประกอบภาพที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของศิลปะ เกิดขึ้นในยุคเรอเรซองค์ของประเทศอิตาลี เมื่อศิลปินอย่าง เลโอนาร์โด ดาวินชี และไมเคิลแองเจลโล ต้องการหามุมเชิงเส้นและองค์ประกอบรูปสามเหลี่ยมที่สมบูรณ์แบบ (ซึ่งรวมถึงรูปสามเหลี่ยมพีระมิด)
กฎการจัดองค์ประกอบภาพเรื่องความสมดุลมีมานานแล้ว ซึ่งศิลปินและช่างภาพยุคปัจจุบันก็ยังคงใช้ถึงตอนนี้
ซึ่งกฎความสมดุลในการถ่ายภาพมีอยู่ 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ สมมาตร ไม่สมมาตร รัศมี และผลึกศาสตร์ (หรืออีกชื่อคือสมดุลแบบโมเสก)
สมมาตร
ความสมมาตรมักถูกใช้ในภาพสต็อกบ่อยครั้ง ซึ่งสามารถสร้างความสงบและน่ามองให้กับภาพ ความสมดุลประเภทนี้ช่วยให้ภาพมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยแปลกตา คล้าย ๆ กับสไตล์ภาพของ Accidentally Wes Anderson.
ไม่สมมาตร
ภาพที่ไม่สมมาตรมีความน่าสนใจ และสร้างความรู้สึกบางอย่างได้มากกว่าภาพสมมาตร เพราะช่างภาพสามารถเล่นสนุกกับการถ่ายภาพ และรักษาสมดุลน้ำหนักของภาพได้มากกว่า
“น้ำหนัก” ในที่นี้หมายถึงการรักษาสมดุลระหว่างความสูง ความใหญ่ และขนาดพื้นที่ในภาพ ทำให้ภาพแนวนี้เกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจมีชีวิตชีวามากกว่า
รัศมี
สมดุลแนวรัศมีเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์ประกอบที่พบตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น เปลือกหอย ระลอกคลื่น และน้ำวน เป็นต้น
ภาพถ่ายที่ใช้การจัดองค์ประกอบแนวรัศมี จะสร้างความน่าหลงใหลโดยค่อย ๆ ลากสายตาไปรอบ ๆ เป็นเกลียวก่อนเข้าหาศูนย์กลางภาพ
ผลึกศาสตร์
นี่คือเทคนิคในการสร้างความสมดุลให้แก่ภาพที่มีวัตถุจำนวนมาก ความสมดุลแบบผลึกศาสตร์มีเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจความหมายภาพโดยรวม ผ่านการเรียงสี รูปแบบ ลักษณะ หรือลวดล้ายที่คล้ายกัน
ความสมดุลแบบผลึกศาสตร์ กำลังได้รับความนิยมในการถ่ายภาพสต็อก เนื่องจากสามารถใช้สร้างพื้นหลังที่มีความหลากสีสัน เหมาะกับใช้บนเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย
5.กฎสามส่วน
อีกหนึ่งในองค์ประกอบภาพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก็คือ “กฎสามส่วน” ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยจิตรกรชาวอังกฤษ John Thomas Smith ในปี 1797
เมื่อคุณต้องเลือกภาพมาใช้ทำงาน ให้คำนึงถึงกฎสามส่วนไว้ให้ดี เพราะนี่คือวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการทำให้ผลงานมีความน่าสนใจมากขึ้น
ให้ลองจินตนาการว่ารูปภาพถูกแบ่งออกไปเก้าส่วนเท่า ๆ กัน หน้าที่ของคุณคือวางองค์ประกอบสำคัญไว้บริเวณเส้นจุดตัดของตารางเหล่านี้
6.พื้นหลัง
เคล็ดลับในการผลิตภาพที่ดีนั้นง่ายกว่าที่คุณคิด เพราะพื้นหลังที่ยุ่งเหยิงเกินไปทำให้วัตถุหลักถูกดึงความสนใจ เพียงแค่ตัดพื้นหลังออกไปภาพก็ดีขึ้นทันตาเห็น
พยายามองหาภาพที่วัตถุอยู่บนพื้นหลังเรียบ ๆ เพราะคุณสามารถนำวัตถุหลักมาใส่พื้นหลังทีหลังได้ง่าย โดยเฉพาะภาพบุคคล
7.กรอบภาพ
เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบอันสุดท้ายก็คือการวางกรอบรูปภาพ เพียงแค่คุณวางกรอบรูปภาพโดยการครอป ก็สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมหาศาล
ทำได้โดยการครอปภาพให้อยู่ใกล้เป็นพิเศษ หรือตัดส่วนเกินออกเพื่อทำให้เกิดมุมมองที่ดีขึ้น
คุณยังเสริมความสมมาตร หรือกำหนดทิศทางการโฟกัสไปยังส่วนที่แตกต่างจากเดิมได้ด้วย
สรุป: คุณต้องพึ่งพาการวางองค์ประกอบภาพ
แม้ว่าการจัดแสง การแสดง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จะดีแค่ไหนก็ตาม แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะแย่ลงทันทีถ้าไม่มีการวางองค์ประกอบภาพที่ดี
กฎการจัดองค์ประกอบภาพมีหลากหลายมากมาย คุณต้องเรียนรู้วิธีหยิบองค์ประกอบไหนมาใช้ตอนไหนให้เชี่ยวชาญ แล้วภาพถ่ายของคุณจะสวยงามยิ่งกว่าใคร ๆ
บทความโดย : The Ultimate Guide to Finding Great Photo Composition
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24