อัตราส่วนภาพ Cover

Business

สายกราฟิกห้ามพลาด! คู่มือการใช้อัตราส่วน ขนาดภาพ และขนาดของภาพถ่ายทั่วไป

คำถามสุดคลาสสิกที่ต้องเคยได้ยินกันมาบ่อย ๆ ก็คือ “ฉันไม่รู้เลยว่าขนาดภาพหรือวิดีโอที่ต้องใช้ ขนาดเท่าไหร่ถึงจะดี?” เราจึงเขียนหัวข้อนี้ขึ้นเพื่อเป็นคู่มือการใช้อัตราส่วน ขนาดภาพ และขนาดภาพถ่ายทั่วไป เพื่อที่คุณจะได้ไม่มีปัญหากับการทำงานอีกต่อไป

แล้วอะไรคืออัตราส่วนภาพ (Aspect ratio) มาเริ่มกันเลย

อัตราส่วนภาพคือความสัมพันธ์ตามสัดส่วนระหว่าง ความกว้างและความสูง ซึ่งมักจะเห็นในโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยสัญลักษณ์ Width:Height หรือ W:H ซึ่งจะมีเครื่องหมายทวิภาคเป็นตัวขั้นกลางระหว่าง 2 ตัวเลข

ตัวอย่างเช่น รูปภาพขนาด 6×4 นิ้วจะมีอัตราส่วน 3:2 ในขณะที่รูปภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1000×1000 นิ้ว มีอัตราส่วน 1:1

อัตราส่วนไม่ใช่สิ่งที่คุณจะเห็นได้จากไฟล์ต่าง ๆ แต่เป็นสิ่งที่ใช้เทียบความกว้างกับความสูงให้คุณเห็นภาพชัดเจน ไม่ว่าคุณจะใช้หน่วยเป็นเซนติเมตรหรือนิ้วก็จะมีอัตราส่วนเท่ากันเสมอ แต่จำไว้ว่านี่ไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของรูปภาพ

อัตราส่วนภาพมีความสำคัญในการทำคอนเทนต์ เพราะเราจำเป็นต้องอัปโหลดรูปภาพในอัตราส่วนที่ต่างกันในแต่ละแพลตฟอร์มหรือต่างอุปกรณ์

ถ้าคุณเลือกอัตราส่วนภาพหรือวิดีโอถูกต้อง ผลงานของคุณจะปรากฏในขนาดที่พอดี ไม่ยืด หรือสูญเสียรายละเอียดไป

มาดูอัตราส่วนภาพทั่วไปกันดีกว่าว่ามีแบบใดกันบ้าง จากนั้นเราจะแนะนำเครื่องมือช่วยปรับอัตราส่วนภาพ ให้คุณใช้งานภาพได้ง่ายขึ้น

อัตราส่วนภาพทั่วไป

อัตราส่วนภาพที่แตกต่างมีผลให้เรามองภาพในอารมณ์ที่ต่างกัน ภาพที่มีอัตราส่วน 1:1 vs 5:4 เมื่อเทียบกันแล้วคุณจะได้อารมณ์การดูภาพที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง

ตัวอย่างเช่น รูปภาพด้านล่างถูกทำให้อยู่ในอัตราส่วน 1:1 โดยทั่วไปอัตราส่วนนี้เหมาะกับรูปโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดีย หรือรูปโพสต์ใน Instagram ซึ่งแตกต่างจาก 5:4 แม้จะอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน

ภาพ 5:4 จะมีพื้นที่เหลือเยอะกว่าบริเวณด้านบนตัววัตถุ ทำให้วัตถุถูกผลักให้อยู่บริเวณซ้ายล่าง ก่อนจะใช้งานภาพให้คำนึงถึงองค์โดยรวมก่อนว่าคุณต้องการภาพอัตราส่วนแบบใด

มาดูกันว่าอัตราส่วนใดที่ถูกใช้งานโดยส่วนใหญ่ของโลก

อัตราส่วนภาพ

อัตราส่วน 1:1 

1:1 หมายความว่าภาพนี้มีความกว้างและความสูงเท่ากัน กลายเป็นสี่เหลี่ยม เช่น รูปภาพขนาด 8×8 นิ้ว หรือ 1080×1080 พิกเซล เป็นต้น เป็นขนาดพื้นฐานของโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดีย

อัตราส่วนนี้ปกติใช้กับพิมพ์ภาพถ่าย โทรศัพท์มือถือ และแพลตฟอร์มโซเชียล แต่ไม่เหมาะกับรูปแบบทีวีหรือแพลตฟอร์มดิจิทัล

อัตราส่วน 3:2 

เป็นอัตราส่วนที่มีรากฐานจากการถ่ายภาพฟิล์มขนาด 35 มม. และยังคงใช้แพร่หลายสำหรับงานพิมพ์ที่มีขนาด 1080 x 720 พิกเซล หรือ 6×4 นิ้ว

อัตราส่วน 5:4 

สุดท้ายอัตราส่วนที่มักพบเห็นได้ในภาพถ่ายและงานพิมพ์ ที่ถูกถ่ายด้วยกล้องระดับ Medium Format หรือใหญ่กว่านั้น มีขนาดอยู่ที่ 8×10 นิ้วและ 16×20 นิ้ว

อัตราส่วนวิดีโอทั่วไป

สำหรับวิดีโอก็มีการเลือกอัตราส่วนเช่นกัน คล้าย ๆ กับอัตราส่วนภาพแต่มีผลกระทบมากกว่ามาก

มาตรฐานจะอยู่ที่ 16:9 ซึ่งจะจัดวางอยู่ในแนวนอน มีส่วนกว้างและยาวเห็นได้ชัดเจน แตกต่างกับ 9:16 ค่อนข้างมากเลยทีเดียว

ถ้าจะทำวิดีโอให้คำนึงถึงอัตราส่วนภาพกว้างยาวไว้ให้ดี

อัตราส่วนภาพ

อัตราส่วน 16:9 

นี่คืออัตราส่วนทั่วไปสำหรับการนำเสนอบนจอคอมพิวเตอร์ หรือจอทีวีแบบไวด์สกรีน ซึ่งเข้ามาแทนที่อัตราส่วน 4:3 ของทีวียุคก่อนที่มีทรงสี่เหลี่ยม ทำให้จอที่รองรับ 16:9 มีความยาวกว่าและเพรียวบางกว่า

ความละเอียดทั่วไปในอัตราส่วน 16:9 ก็คือ 1920×1080 พิกเซล และ 1280×720 พิกเซล

อัตราส่วน 9:16 

อัตราส่วนตรงข้ามกับ 16:9 ซึ่งก็คือ 9:16 ได้รับความนิยมอย่างมากใน Stories แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Instagram, Facebook หรือ Snapchat

ขนาดที่พบบ่อยที่สุดในอัตราส่วนนี้ก็คือ 1080×1920 พิกเซล หรือขนาดเท่าแนวตั้งของสมาร์ทโฟน

วิธีการวัดขนาดภาพ

แตกต่างจากอัตราส่วนภาพก็คือ ขนาดภาพต้องมีจำนวนพิกเซลทั้งความกว้างและความสูง ขนาดของภาพจะเท่ากับมิติภาพ สามารถวัดด้วยหน่วยนับแบบใดก็ได้ แต่โดยทั่วไปมักใช้ “พิกเซล” เป็นหน่วยนับเพราะภาพจะถูกใช้บนเว็บหรือแพลตฟอร์มดิจิทัล ส่วนหน่วย “นิ้ว” มักใช้ในงานพิมพ์เป็นหลัก

จำไว้ว่าอัตราส่วนกับขนาดรูปภาพอาจไม่เท่ากัน เช่น รูปภาพขนาด 1920×1080 พิกเซล มีอัตราส่วน 16:9 แต่รูปขนาด 1280×720 ก็สามารถมีอัตราส่วน 16:9 ได้เช่นกัน

อีกสิ่งที่ควรพิจารณาก็คืออัตราส่วนต่อพิกเซล แม้ว่าขนาดรูปภาพและอัตราส่วนจะเป็นตัวกำหนดขนาดโดยรวมของรูปภาพ แต่อัตราส่วนต่อพิกเซล (PAR) คือตัวกำหนดรูปร่างของแต่ละพิกเซล

ในอุปกรณ์สมัยใหม่ส่วนใหญ่ พิกเซลจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หมายความว่าอัตราส่วนพิกเซลคือ 1:1 แต่อุปกรณ์บางรุ่นพิกเซลจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่งผลให้อัตราส่วนพิกเซลแตกต่างออกไปตามอุปกรณ์ที่ใช้งาน ภาพที่ส่งออกไปก็อาจผิดเพี้ยนไม่ตรงปกได้

ดังนั้นเมื่อคุณต้องทำงานกับรูปภาพ ให้คำนึงถึงอัตราส่วนต่อพิกเซลด้วย โดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานข้ามแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน

ขนาดภาพปกติสำหรับใช้งานบนเว็บไซต์

เมื่อคุณอัปโหลดภาพขึ้นเว็บไซต์ คุณต้องรู้ข้อกำหนดการใช้ขนาดภาพ ถ้าขนาดไม่ถูกต้องภาพอาจยืดหรือบิดเบี้ยวไม่เต็มขนาดพื้นที่

ถ้าคุณสร้างเว็บโดยใช้เครื่องมือ Content Management System (CMS) เช่น WordPress หรือ Squarespace ข้อกำหนดขนาดของรูปภาพและวิดีโอจะแตกต่างกันออกไปตามธีมหรือเทมเพลต บ่อยครั้งที่เว็บเหล่านี้จะปรับขนาดรูปภาพให้อัตโนมัติ เพื่อให้สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้องในรูปแบบที่แตกต่าง

ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่แตกต่างกัน ให้อัปโหลดภาพที่ใหญ่เข้าไปก่อนเพื่อที่เวลาถูกลดขนาด ภาพก็จะไม่สูญเสียรายละเอียด และเล็กพอดีกับความกว้างของหน้าจอมาตรฐาน

ทาง Squarespace แนะนำว่า ให้อัปโหลดภาพขนาด 1500-2500 พิกเซล จะเป็นการดีที่สุด อย่าลืมตรวจสอบ CMS ของคุณว่าเป็นไปตามที่เว็บไซต์นี้แนะนำหรือไม่ คุณจะได้เตรียมความพร้อมด้านรูปภาพไว้ได้ทันเวลา

เช่นเดียวกับโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่มักปรับขนาดภาพให้คุณอัตโนมัติ แต่ก็ยังมีเทคนิคที่ทำให้ภาพของคุณไม่ถูกลดขนาดลงได้ เพียงแค่ปรับภาพให้เป็นไปตามที่เว็บไซต์กำหนดแต่แรก

อัตราส่วนตารางภาพ

1920×1080 พิกเซล

ขนาดภาพมาตรฐานทั่วไปที่ใช้ในพรีเซนเทชัน  ทีวีและปกภาพบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีอัตราส่วน 16:9

1280×720 พิกเซล

ขนาดมาตรฐานของวงการถ่ายภาพและถ่ายหนัง มีอัตราส่วน 16:9 เช่นกัน

1080×1080 พิกเซล

คุณจะเห็นภาพอัตราส่วน 1:1 บ่อย ๆ ในโซเชียลมีเดีย เช่น Instagram และ Facebook 

ขนาดภาพถ่ายทั่วไป

คุณเคยอยากพิมพ์ภาพออกมาเก็บไว้ หรืออยากออกแบบอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้ขนาดใดถึงจะเหมาะสมหรือไม่? ถึงแม้ว่าขนาดงานพิมพ์มีหลากหลายรูปแบบ แต่การทราบขนาดมาตรฐานบางประเภทเอาไว้ก่อน จะช่วยให้คุณทำงานได้รวดเร็วขึ้น

ขนาดที่แตกต่างย่อมใช้งานในที่ ๆ ต่างกัน ภาพพิมพ์ขนาดใหญ่หรือโปสเตอร์เหมาะกับงานอีเวนต์หรือบริการ ส่วนภาพพิมพ์ขนาดเล็กเหมาะกับวางในพื้นที่ปิดหรือบนเคาน์เตอร์

อัตราส่วนภาพ 1 1

เรามักวัดขนาดงานพิมพ์ด้วยหน่วยเป็นนิ้ว แต่ก็จะมีแบบเซนติเมตรในบางประเทศ โดยขนาดที่เหมาะสมมีดังนี้

อัตราส่วนตารางวิดีโอ

4×6 นิ้ว หรือ 5×7 นิ้ว

ขนาดยอดนิยมของการถ่ายภาพ เหมาะกับการแสดงโชว์ภาพถ่ายหรืองานศิลปะขนาดเล็ก

8×10 นิ้ว

ขนาดนี้จะเล็กกว่าขนาดมาตรฐาน เหมาะกับงานถ่ายภาพบุคคลและงานพิมพ์ขนาดใหญ่

8.5×11 นิ้ว

ขนาดมาตรฐานของใบปลิวโฆษณา มีพื้นที่วาดลวดลายจำกัด มองเห็นได้ยากไม่เหมือนโปสเตอร์ขนาดใหญ่ มีเป้าหมายการใช้เพื่อป้อนข้อมูลด้วยรูปแบบที่จำกัดพื้นที่

12×18 นิ้ว หรือ 18×24 นิ้ว

ขนาดใหญ่กว่าใบปลิว เป็นขนาดโปสเตอร์มาตรฐานสำหรับงานอีเวนต์ หรือโฆษณาที่ต้องการกลุ่มผู้ชมขนาดปานกลาง

24×36 นิ้ว

นักการตลาดใช้โปสเตอร์ขนาดนี้เพื่อโปรโมตกิจกรรมที่แจ้ง เหมาะกับใช้ในพื้นที่ ๆ มีคนพลุกพล่าน

กำหนดขนาดภาพด้วยตนเองได้ง่าย ๆ 

การปรับขนาดภาพไม่ควรเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะเครื่องมือ Image Resizer และ Smart Resize ของ Shutterstock จะมาช่วยคุณเอง (เปิดให้ใช้งานในฟีเจอร์ Creative Flow+ premium) และเครื่องมือ Resize Canvas (ใช้ได้ทุกคนในเครื่องมือ Create) ทำให้คุณปรับแต่งภาพได้ง่ายมาก

1.Shutterstock’s Image Resizer

Shutterstock’s Image Resizer เลิกเดาขนาดภาพแล้วปล่อยให้เครื่องมือนี้ปรับขนาดภาพให้คุณเอง เพียงแค่ลากแล้วปล่อยลงไปในช่องที่กำหนด ตัวเลือกการปรับภาพก็จะขึ้นมาให้คุณเอง

อัตราส่วนภาพ 1 2

หลังจากได้ขนาดที่ต้องการแล้วก็กดดาวน์โหลดได้เลย

2.Shutterstock Create

หลังจากปรับขนาดภาพเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาอัปโหลดขึ้นโซเชียลมีเดีย ซึ่งใน Create คุณสามารถเลือกแพลตฟอร์มได้ว่าจะเอาไปลงที่ไหน เช่น Instagram, X หรือ Etsy เพียงแค่คลิกเดียว

อัตราส่วนภาพ

แต่ถ้ายังไม่เจอขนาดที่ถูกใจ คุณก็สามารถปรับเองได้ดังภาพข้างล่าง

อัตราส่วนภาพ 1 1 1
นำภาพที่ต้องการครอปมาใส่
อัตราส่วนภาพ 1 1 2
ครอปให้ได้ขนาดที่ต้องการ
อัตราส่วนภาพ 1 1 3
ปรับขนาดได้ตามใจชอบที่แถบ Width x Height

อย่าปล่อยให้คุณภาพคอนเทนต์ของคุณดรอปลง เพียงแค่ขนาดของผลงานไม่เหมาะกับแพลตฟอร์มที่นำไปใช้ ยกระดับงานของคุณไปอีกระดับด้วยขนาดรูปภาพที่เหมาะสม หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย

บทความโดย : A Guide to Common Aspect Ratios, Image Sizes, and Photograph Sizes

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

content

content

กองโปรดักชั่นเคลื่อนที่ ผู้มีหมูกระทะเป็นแรงขับเคลื่อน ใช้เวลาส่วนใหญ่หวีด BNK48 & CGM48

Share this post

Related Blog

 
ภาพถ่าย 4K

ภาพถ่าย 4K ที่เหมาะกับการตลาดในช่วงปลายปี

 
 
1 4

กฎการถ่ายภาพทั้ง 6 ที่สามารถฉีกกฎได้

 
 
วิธีหาภาพที่ถูกใจบน Shutterstock อย่างมืออาชีพ. 1

วิธีหาภาพที่ถูกใจบน Shutterstock อย่างมืออาชีพ

 
 
ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ภาพขั้นพื้นฐานที่ควรรู้ : ทำไมลิขสิทธิ์ภาพสต็อกถึงสำคัญ?

 

Tell us about yourself





    Type: