การสร้างความสนใจหรือ “Emphasis” เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้รูปภาพมีจุดเด่นสะดุดตา เป็นจุดที่ทำให้ภาพน่าสนใจและน่ามองได้นานยิ่งขึ้น เป็นอีกเทคนิคที่งานศิลปะใช้กันมานานหลายยุคสมัยเพียงแต่พอในมาใช้ในการถ่ายภาพ หลาย ๆ คนอาจไม่รู้จัก มาดูกันดีกว่าว่าเทคนิคนี้สามารถใช้งานได้อย่างไรบ้าง?
การสร้างความสนใจคือการนำสายตาผู้ชมไปยังจุดที่ต้องการในรูป เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีอะไรที่สำคัญปรากฎอยู่บนภาพ ทำให้ภาพมีความน่าสนใจแม้จะไม่ได้ตั้งใจสังเกตเห็นก็ตาม
การสร้างความสนใจได้นั้นสามารถทำได้ภายในกล้องดิจิทัล จากการตั้งค่าหรือการเลือกโหมดถ่ายภาพ และก็สามารถทำได้หลังกล้องในโปรแกรม เช่น Photoshop
ก่อนการมาถึงของกล้องดิจิทัล ช่างภาพหลายคนมักใช้ห้องมืดล้างฟิลม์ในการตัดแต่งรูปภาพให้สวยงาม เช่น ตัดขอบส่วนเกิน ทำให้ภาพมืดหรือสว่างขึ้นตามใจชอบ แต่ถ้าพูดถึงในขั้นตอนถ่ายภาพ สามารถใช้เทคนิคใช้การจัดองค์ประกอบเข้าช่วยได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ความสนใจเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายรูปภาพ
“ความสนใจทำให้ภาพน่าจดจำ” เป็นเครื่องมือบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วม ภาพในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างใช้วิธีนี้ในการถ่ายทอดเรื่องราวทั้งสิ้น เช่น ภาพ “Migrant Mother” หนึ่งในภาพสุด Iconic ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของการใช้เทคนิคความสนใจ
การจัดองค์ประกอบที่ให้ผู้ชมมองไปยังหน้าของผู้หญิงตรงกลางเฟรม ที่แสดงสีหน้าอันเจ็บปวด โดยมีเด็กทั้งสามคนเป็นเหมือนกรอบภาพ โดยศรีษะของผู้หญิงคนนี้เอียงไปยังมือของตน ทำหน้าที่เป็นจุดนำสายตาอีกจุด และมีบริเวณมือบางส่วนไม่ปรากฎบนรูปภาพ อาจถูกนำออกหรือ Crop ทิ้งเพื่อให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อีกภาพหนึ่งก็คือผู้หญิงและลูก ๆ ของเธอ อาศัยอยู่ในเต็นท์ท่ามกลางพื้นดิน เสริมองค์ประกอบของเรื่องราวผ่านฉากหลังไปพร้อมกับองค์ประกอบหลัก แต่ความสนใจไม่เด่นเท่าภาพแรกเพราะมีพื้นที่เหลือรอบ ๆ เยอะเกินไป สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกฝนได้จากการดูและปฏิบัติซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน
เทคนิคการสร้างความสนใจให้ภาพ
ให้มองว่าการสร้างความสนใจคือสิ่งที่ต้องมี ซึ่งสามารถขัดเกลาได้ผ่านการฝึกฝน โดยองค์ประกอบที่จะใช้ฝึกฝนมีดังนี้
แสง/เงา
หนึ่งในเบสิคที่ทุกคนต้องมีก็คือการใช้แสงและเงาอย่างเชี่ยวชาญ ช่างภาพสมัยก่อนมีการใช้เทคนิคนี้ในการปรับแสงและเงาในห้องล้างฟิล์ม แต่ถ้าเป็นกล้องดิจิทัลสามารถสังเกตที่ Histogram ในการปรับภาพได้ เช่นกัน
พื้นผิว (Texture)
การถ่ายภาพที่แสดงให้เห็นถึงพื้นผิวเป็นอีกวิธีที่ช่างภาพหลายคนชอบใช้เวลาหาจุดสนใจของภาพไม่เจอ
มุมกล้อง
การนำเสนอมุมกล้องผิดปกติจากภาพทั่วไป สามารถสร้างความสนใจได้ง่าย ๆ เพียงแค่ตั้งกล้องเอียวเล็กน้อยไปยังวัตถุที่ต้องการนำเสนอ สร้างความรู้สึกที่เหมือนเหตุการณ์ในภาพนั้นถูกสั่นสะเทือน
ความชัดตื้นและชัดลึก
เทคนิคที่ต้องพึ่งความสามาถของกล้องเป็นหลัก เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับภาพ เพียงแค่ใช้เลนส์ที่มีค่า F ต่ำและโฟกัสไปยังวัตถุที่ต้องการ ก็จะทำให้ฉากหลังหรือฉากหน้าละลายอย่างง่ายดาย
โฟกัส
ระยะชัดลึกจะเกิดขึ้นได้เกี่ยวข้องกับการโฟกัสเช่นกัน ว่าเราต้องการให้สายตาผู้ชมไปอยู่บริเวณตำแหน่งใดของภาพ
กฎสามส่วน
พื้นฐานการจัดวางเฟรมรูปภาพที่ศิลปินทุกคนต้องรู้จัก เพียงแค่วางองค์ประกอบไปยังจุดตัดทั้ง 9 ช่องก็จะทำให้ภาพมีความน่าสนใจขึ้นทันที ปัจจุบันกล้องดิจิทัลมีระบบสร้างจุดตัดเก้าช่องขึ้นมาให้ใช้ระหว่างถ่ายภาพได้ด้วย
ระยะห่าง
การทิ้งระยะห่างในทีนี้ไม่ได้เหมือนถึงวัตถุในภาพ แต่หมายถึงช่างภาพและตัวแบบ การสร้างระยะห่างแล้วซูมถ่ายจะทำให้ตัวแบบผ่อนคลายและแสดงความเป็นธรรมชาติออกมา
พื้นที่ว่าง (White space)
หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ Negative space เป็นพื้นที่ ๆ ไว้พักสายตา ช่วยทำให้จุดความสนใจเด่นขึ้น
การ Cropping
เป็นขั้นตอนหลังการถ่ายภาพเสร็จแล้ว นำมาตัดส่วนเกินออกเพื่อเน้นความสนใจ
การเล่นสี
เล่นกับสีคอนทราสต์ให้รูปภาพเกิดการจดจำ
วางเฟรมหรือสร้างกรอบ
ให้ลองมองหากรอบภาพในธรรมชาติ เช่น ถ่ายทะลุแผ่นไม้ หน้าต่าง หรือรั้ว เป็นต้น
เส้นนำสายตา
เส้นแนวตั้งหรือแนวนอนสามารถนำสายตาคนดูได้ทั้งสิ้น เป็นอีกหนึ่งวิธียอดนิยมที่นำสายตาคนให้จดจ่อกับวัตถุในภาพ
รูปทรง
การสร้างรูปทรงให้เกิดในภาพช่วยสร้างความสนใจได้ เช่น รูปทรงสามเหลี่ยม วงกลม หรือสี่เหลี่ยม
น้ำหนักของภาพ
สิ่งนี้ก็คือการวางวัตถุจากใหญ่ไปเล็กหรือเล็กไปใหญ่ วางลำดับของภาพให้สวยงาม
ซึ่งวิธีการฝึกฝนที่เราแนะนำก็คือการดูภาพในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง แล้วคุณจะรู้ว่าภาพเหล่านั้นสามารถสร้างความรู้สึกบางอย่างให้เกิดขึ้นในใจคุณได้ ทั้งการจัดวางทุกองค์ประกอบลงตัวอย่างเหลือเชื่อ อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กับงานถ่ายรูปภาพของคุณ ไม่แน่ว่าภาพของคุณอาจกลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ก็ได้ในสักวัน
บทความโดย : Emphasis in Photography: What It Is and How to Master It
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24