ช่างภาพชาวแอฟริกาใต้ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพขาว-ดำ คุณ Andiswa Mkosi ผู้ที่เชื่อว่ายิ่งเป็นคนที่เงียบเท่าใด ความยิ่งสังเกตยิ่งสูงเท่านั้น โดยผลงานแรกของเธอคือภาพถ่ายครอบครัวด้วยกล้องตัวแรก และได้พัฒนาตนเองเรื่อยมาด้วยกล้องตัวนั้น
ถ้าถามว่าทำไมต้องเป็นภาพขาว-ดำ เธอตอบว่าเพราะมันสามารถแสดงสิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็นได้ วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องราวของเธอกันว่า เทคนิคและสไตล์ของเธอเป็นอย่างไร
Shutterstock: ฉันชอบสไตล์รูปภาพของเธอมาก พอเห็นแล้วอยากสัมภาษณ์เลย ช่วยบอกหน่อยว่าทำไมคุณถึงชอบการถ่ายรูป
Andy Mkosi: ฉันรู้สึกว่าการถ่ายรูปเป็นสิ่งสำคัญ ในประเทศของฉันพึ่งจะผ่านการเลือกตั้งมาสด ๆ ร้อน ๆ แต่ไม่ค่อยมีใครถ่ายรูปเก็บไว้ ฉันจึงอยากถ่ายทุกเหตุการณ์เก็บไว้เพราะนี่คือฉากสำคัญในการเปลี่ยนผ่านการปกครองสู่ระบบประชาธิปไตย
SSTK: สิ่งที่คุณชอบถ่ายที่สุดโดยที่ไม่เบื่อคืออะไร?
Mkosi: “ชีวิตที่หมุนเวียนไป” ทุกสิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง เหมือนกับการนั่งเล่นอยู่กับครอบครัวแล้วสังเกตทุกอย่างที่เกิดขึ้น ถ่ายรูปเก็บไว้โดยไม่มีใครได้ทันสังเกต ถ้าให้ตอบก็คือครอบครัวนี่แหละที่ฉันถ่ายไม่เคยเบื่อเลย
แรงบันดาลใจในการถ่ายภาพ ขาว-ดำ
SSTK: เราเห็นว่าคุณถ่ายรูปขาว-ดำ เยอะมาก ทำไมถึงชื่นชอบสไตล์นี้ขนาดนั้น?
Mkosi: ตอนแรกฉันไม่รู้หรอกว่าชอบอะไร ฉันรู้แค่ว่านี่คือกล้องที่ใช้ถ่ายรูป ตอนแรกที่ซื้อกล้องตัวแรกมาฉันไม่ได้ขอคำแนะนำจากคนขายด้วยซ้ำ ก็แค่ซื้อไว้เท่าที่เงินในกระเป๋าจะมี ตอนที่ถ่ายรูปแรกฉันรู้ตัวเองว่าไม่ได้ชอบรูปสีเลย
ฉันมองว่าภาพสีที่ออกมาจากกล้องนี้ไม่สวยเอาเสียเลย อาจเป็นเพราะกล้องมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ ก็เลยหาทางทำให้ภาพสวยขึ้นโดยการถ่ายภาพขาว-ดำ ฉันถึงสัมผัสกับบางสิ่งได้ว่านี่คือสไตล์ที่ฉันชอบและไม่รู้จะอธิบายอย่างไร มันมีบางสิ่งที่พิเศษอยู่ในนั้น ภาพที่เป็นขาว-ดำ มองกี่ครั้งก็ไม่เคยเก่า
SSTK: นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญมาก การยอมรับในสิ่งที่ขาดแล้วหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อขยายความคิดสร้างสรรค์ให้ไปต่อ ยอดเยี่ยมมาก
Mkosi: ใช่เลย
SSTK: เมื่อครู่คุณพูดถึงภาพขาว-ดำ ไม่เคยดูเก่า คุณคิดว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้นเหรอ?
Mkosi: เพราะคุณไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์ในภาพถ่ายตอนกลางวันหรือกลางคืน มันทำให้รู้สึกว่าเกิดอะไรขึ้นในภาพกันแน่ ทำให้ผู้ชมตั้งใจโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ในนั้นมากกว่า ว่าภาพนี้ต้องการบอกอะไรกับคุณหรือทำไมถูกถ่ายขึ้นมา ทำให้สมองของเราเลิกคิดว่าถ่ายเมื่อไหร่หรือตอนไหน แค่สนใจว่าเกิดอะไรขึ้นในภาพก็พอ
SSTK: คุณคิดว่าการนำสีออกไปจากภาพมันส่งผลอะไรกับภาพและคนที่ดูภาพนั้นบ้าง?
Mkosi: มันภาพทำให้รูปภาพสื่อสารออกไปได้มากกว่าแค่ความสวยงาม ซึ่งขึ้นอยู่วัตถุในภาพว่าสามารถสื่อสารได้มากแค่ไหน ฉันชอบภาพสีนะไม่ได้มีอคติอะไรด้วย แต่ฉันคิดว่าขาว-ดำ สื่อสารเรื่องราวที่อยู่ในภาพได้มากกว่า
ในอดีตคุณจะเห็นว่าภาพที่ยังสวยอยู่จนถึงปัจจุบันคือภาพขาว-ดำ ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์สำคัญที่อยากให้ทุกคนโฟกัสที่เหตุการณ์ในภาพ เช่น การเลือกตั้ง การประท้วง เหตุการสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ
SSTK: การใช้ Grayscale ทำให้รูปภาพทรงพลังขึ้น คุณคิดแบบนั้นไหม?
Mkosi: ใช่! ในบางรูปภาพจะเป็นแบบนั้น เพราะคุณต้องทำให้จุดโฟกัสในภาพเด่นที่สุด การนำมาแต่งเติมให้สิ่งนั้นดูเด่นที่สุดเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้ทุกอย่างในภาพดูเงียบและให้วัตถุหลักเปล่งเสียงดังที่สุด
ถ้าฉันต้องถ่ายคนในผับบาร์ การถ่ายภาพสีจะสื่อสารได้ดีที่สุด โดยเฉพาะกับกลุ่มคน LGBTQ+ ฉันถึงขั้นสร้างโปรเจ็คขึ้นมาชื่อว่า Mid Groove เพื่อถ่ายรูปคนในงานปาร์ตี้หรือผับโดยเฉพาะ คอยหาจังหวะโมเมนต์ที่ไม่มีใครสังเกตเห็น
ทำไมถึงอยากเข้าร่วมกับ Shutterstock
SSTK: ฉันชอบไอเดียนั้นจัง ในอีเมลล์คุณเขียนว่า “Shutterstock ยังไม่ได้นำเสนอความหลากหลายที่แท้จริงอย่าง 100% นี่มันปี 2024 แล้วนะ” ทำไมคุณถึงคิดแบบนั้น
Mkosi: คำถามนี้ดี เพราะฉันคิดว่าธุรกิจในสังคมต่างต้องทำงานเพื่อสนองลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นบรีฟ ประเภทของนาย/นางแบบ หรือสถานที่ถ่าย รวมถึงเรื่องราวที่ลูกค้าต้องการจะสื่อสาร
ทำให้ปัญหาของความหลากหลายไม่ถูกแก้ไข เหมือนกับรอให้พวกนักการเมืองลงมาแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนนั่นแหละ มันไม่ใช่ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ทันที เราจึงต้องช่วยตัวเองผ่าน The Create Fund เพื่อมอบความหลากหลายลงไปในคลังภาพให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มให้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ผิวสี และเพศสภาพ
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่น้อยแค่ไหน พวกเขาก็สมควรได้รับการนำเสนอสู่สายตาชาวโลก
SSTK: ขอจบการสัมภาษณ์ด้วยคำถามคลาสสิก สิ่งสำคัญที่สุดในการเล่าเรื่องในยุคนี้คืออะไร? เพราะทุกคนก็สามารถถ่ายรูปและเล่าเรื่องกันได้กันหมด
Mkosi: พวกเราไม่ได้เห็นทุกสิ่งเหมือนกัน การควบคุมกล้องและการใช้งานกล้องก็เช่นกัน การถ่ายภาพขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งที่เจอในชีวิตประจำวัน ไม่มีรูปไหนที่ได้เหมือนกันอย่างแน่นอน
ประสบการณ์เหล่านั้นคือตัวที่ทำให้เรากลายเป็นนักเล่าเรื่องในแบบที่เราเป็นจริง ๆ
บทความโดย : The Create Fund: An Interview with Andiswa Mkosi
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24The Create Fund: ช่างภาพผิวสีที่ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านสี “ขาว-ดำ”