LinkedIn

ธุรกิจ

เลือกรูปโปรไฟล์ใน LinkedIn อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?

คุณสามารถใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายของคุณใน LinkedIn เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ ให้ดูมีความเป็นมืออาชีพได้ จะทำได้อย่างไรมาหาคำตอบไปด้วยกัน

การสร้างโปรไฟล์ของคุณใน LinkedIn หรือเพจใด ๆ คือหัวใจสำคัญของการมีตัวตนแบบมืออาชีพในโลกออนไลน์ แต่ในทุก ๆ วันมีข่าวสาร บทความ และการอัปเดตเทรนด์ต่าง ๆ มากมายหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องในหน้าฟีด แล้วคุณจะโดดเด่นได้อย่างไร?

คุณจะต้องหาวิธีหยุดคนที่เลื่อนผ่านหน้าโปรไฟล์คุณให้ได้ โดยการใช้ความเป็นศิลปะจากภาพสต็อกเพื่อสร้างความประทับใจให้กับทุกคนไม่ให้ลืมโปรไฟล์คุณ

ในครั้งนี้เราจะมาสำรวจแพลตฟอร์ม LinkedIn ว่าภาพสต็อกจะมามีบทบาทช่วยเหลือคุณอย่างไร เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับโปรไฟล์และตัวตนของคุณ

LinkedIn.
ภาพโดย Ikon Images.

ทำความเข้าใจเรื่องการใช้ภาพสต็อกบน LinkedIn และผลกระทบที่จะตามมา

การสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะใช้งานส่วนตัวหรือสำหรับองค์กรบริษัท คือเรื่องที่ท้าทายเพราะคุณต้องผสมผสานโปรไฟล์ส่วนตัวและความเป็นองค์กรไปด้วยกัน ภาพสต็อกเป็นวิธีเพิ่มความน่าสนใจให้กับโปรไฟล์และโพสต์ของคุณ โดยไม่ต้องใช้ภาพถ่ายของคุณเองหรือไปจ้างช่างภาพที่มีค่าใช้จ่ายราคาแพง

คลังภาพสต็อกมีตัวเลือกให้คุณใช้ภาพหลากหลาย คุณสามารถหาภาพที่เหมาะสมกับคุณได้เพียงไม่กี่คลิก ภาพเหล่านั้นจะช่วยยกระดับโปรไฟล์ของคุณและเติมเต็มรายละเอียดในส่วนที่สำคัญได้

โปรไฟล์ระดับองค์กรบริษัทที่สมบูรณ์ จะถูกเพิ่มการมองเห็นหน้าเพจขึ้น 30% และในทุก ๆ โพสต์ภาพจะมีส่วนช่วยสร้างจุดสนใจพร้อมยอดการมีส่วนร่วมได้ง่าย ซึ่งโพสต์ที่มีภาพจะได้รับการสนใจมากกว่าโพสต์ที่มีแต่ข้อความถึง 2 เท่า

เมื่อคุณใช้ภาพสต็อกร่วมกับภาพถ่ายใน LinkedIn คุณสามารถขยายการเข้าถึงได้โดยที่ไม่สูญเสียทรัพยากรบริษัทมากจนเกินไป แต่หัวใจหลักก็คือคุณต้องมีสมดุลระหว่างความเป็นมืออาชีพและความสมจริงในทุก ๆ โพสต์ ไม่เล่นหรือหลอกลวงจนเกินไป

LinkedIn. 1 1
ภาพโดย Ikon Images

ใช้ภาพสต็อกใน LinkedIn ได้ด้วยเหรอ?

ได้! คุณสามารถใช้ภาพสต็อกวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้ด้วย ตราบใดที่คุณได้รับมอบหมายให้ทำ หลังจากที่คุณซื้อสิทธิ์การใช้งานภาพสต็อกเรียบร้อยแล้ว คุณก็จะได้รับสิทธิ์ให้ใช้งานในที่ต่าง ๆ เช่น แพลตฟอร์ม LinkedIn

โดยภาพที่คุณซื้อสิทธิ์มานั้นถูกเรียกว่า Royalty-free หมายความว่าคุณมีสิทธิ์อย่างชอบธรรมในการใช้ภาพแบบเชิงพาณิชย์ตามข้อตกลงที่กำหนด ซึ่งมีผลบังคับใช้ตราบใดที่คุณไม่ได้ละเมิดใช้สิ่งเหล่านั้นในลักษณะใดก็ตามที่ขัดแย้งกับข้อตกลงในแพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

ตัวอย่างเช่น ใน ข้อตกลงการใช้งาน LinkedIn User Agreement กล่าวว่า “เราต้องการให้โพสต์ของสมาชิกทุกท่านมีความถูกต้องและไม่ละเมิดสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิ์อื่น ๆ ของบุคคลที่สาม” นั่นหมายความว่าคุณต้องเข้าใจสิทธิ์การใช้งานของคุณก่อนจะโพสต์ และหลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพในลักษณะที่อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อื่นนั่นเอง

LinkedIn. 1 2
ภาพโดย stefano pietramala.

วิธีเลือกภาพสต็อกสำหรับใช้ใน LinkedIn

เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าจะใช้ภาพสต็อกใน LinkedIn มาดูกันว่าเราสามารถใช้กับวิธีการใดได้บ้าง

Profile Photo

ภาพถ่ายคือการนำเสนอตัวตนของคุณ และควรเป็นภาพที่ไม่ผ่านการตกแต่งมากมาย ต้องมีคุณภาพสูง ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะถ่ายบริเวณครึ่งบน (Headshot) แต่ถ้าคุณไม่มีภาพมุมนี้ ให้ลองเลือกภาพจากสต็อกมาทำเป็นฉากหลังแทน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

LinkedIn
LinkedIn

Cover Photo

ภาพแบนเนอร์ประจำโปรไฟล์ของคุณจะทอดยาวผ่านหน้าจอทุกคน เป็นเหมือนหน้าต่างบานแรกที่คนเข้ามาเยี่ยมชมโปรไฟล์จะต้องเห็น แสดงความเป็นตัวตนของคุณหรือความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ คุณสามารถใช้ภาพสต็อกพร้อมข้อความหรือกราฟิก ผสมผสานกันในส่วนนี้ได้

Summary

คุณสามารถบอกเล่าเรื่องราวในสายอาชีพของคุณได้ที่นี่ เป็นเหมือนจุดขายของคุณให้ทุกคนรู้ว่าคุณมีที่มาอย่างไรและให้บริการอะไรบ้าง รูปภาพที่วางไว้ส่วนนี้จึงต้องมีความหมายส่งเสริมประเด็นที่คุณเขียน เพื่อดึงดูดผู้อ่านอย่างรวดเร็ว

Experience

เน้นส่วนสำคัญในเส้นทางสายอาชีพของคุณ ด้วยการอัปโหลดภาพเข้าไปเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ให้น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็น ภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ อีเวนต์ที่ไป หรือความสำเร็จที่เกี่ยวกับตำแหน่ง

Activity

ทุกสิ่งที่คุณโพสในหน้ากิจกรรมจะต้องส่งเสริมโปรไฟล์ของคุณ ภาพที่มีคุณภาพสูงก็สามารถช่วยสร้างความน่าเชื่อถือเช่นกัน กิจกรรมที่คุณโพสต์ควรมีความคมชัดเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจว่าคุณเคยทำอะไรมาบ้าง

ขนาดภาพและสัดส่วนของ LinkedIn

ปรับปรุงแก้ไขภาพของคุณให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม LinkedIn คือสิ่งสำคัญ เพื่อให้ภาพสต็อกของคุณเข้าใจง่าย ไม่อย่างนั้นอาจเกิดภาพแตก ภาพเบลอหรือตกขอบ ทำให้แบรนด์ไม่มีความน่าเชื่อถือ

ณ ปัจจุบันขนาดของภาพที่เหมาะสมกับการใช้ใน LinkedIn มีดังนี้

LinkedIn 1 1
  • Profile photo: 400 x 400 pixels (1:1 aspect ratio)
  • Cover photo: 1584 x 396 pixels (4:1 aspect ratio)
  • Summary: 590 x 296 pixels (2:1 aspect ratio)
  • Experience: 250 x 250 pixels (1:1)
  • Shared images: 1200 x 627 pixels (1.91:1 aspect ratio)
  • Sponsored content: 1200 x 627 pixels (1.91:1 aspect ratio)
  • Carousels: 1080 x 1080 pixels (1:1 aspect ratio)

เลือกภาพให้เหมาะสมกับองค์กร

ถ้าในโปรไฟล์ของคุณมีแต่ภาพธรรมดา ๆ หรือภาพส่วนตัวเยอะเกินไป จะเสี่ยงทำให้ผู้คนที่เห็นเลื่อนผ่านไปได้ง่าย ๆ ให้โฟกัสที่ภาพสต็อกคุณภาพสูงเสียเลยดีกว่า เพื่อความพิเศษในการมองเห็น ลองถามตัวคุณเองว่าภาพแบบไหนถึงจะมีเอกลักษณ์และแสดงถึงตัวตนองค์กรได้ดีที่สุด?

ให้ลองคิดเรื่องราวเกี่ยวกับองค์กรว่าภาพใดที่เหมาะสม เช่น สมมุติคุณอยู่ในบริษัทท่องเที่ยว ให้เลือกภาพที่เกี่ยวกับกิจกรรมการเดินทาง ซึ่งจะส่งผลลัพธ์ได้ดีกว่าภาพเครื่องบินและกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น

การทำแบรนด์ของคุณมีเป้าหมายใด

LinkedIn มีเป้าหมายเพื่อทำให้ภาพลักษณ์ของคุณมีความเป็นมืออาชีพ คุณต้องทำให้คนอื่นรู้ว่าแบรนด์ของคุณคืออะไรและเป็นอย่างไร รูปภาพที่ควรโพสต์มีอะไรบ้าง

สมมุติว่าคุณทำงานให้บริษัทการดูแลสุขภาพสำหรับดูแลผู้ป่วย คุณสามารถเลือกภาพสต็อกที่แสดงให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มีปฏิสัมพันธ์อย่างเห็นอกเห็นใจกับผู้ป่วย วิธีนี้สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม ทำให้พวกเขามองเห็นค่าในแบรนด์ของคุณ

นอกจากนั้นคอนเทนต์จะต้องสอดคล้องกับภาพลักษณ์แบรนด์ เพื่อให้โปรไฟล์และโพสต์ถัดไปจากนี้ได้รับการจดจำ แต่ถ้ายังนึกอะไรไม่ออกเรามี Small Business Brand Kit เพื่อช่วยคุณพัฒนาภาพลักษณ์แบรนด์ให้มีความมืออาชีพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ออกแบบ







    LinkedIn. 1 3
    ภาพโดย Ikon Images

    วิธีสร้างยอดการมีส่วนร่วมด้วยภาพสต็อกใน LinkedIn

    หลังจากที่คุณเลือกภาพสต็อกเรียบร้อยแล้ว คุณจะต้องเสริมประสิทธิภาพให้แก่รูปภาพก่อนอัปโหลดไปยังแพลตฟอร์ม ด้วยเทคนิคต่อไปนี้

    สร้าง Carousels

    ถ้าอยากบอกเล่าเรื่องราวระดับมืออาชีพของคุณด้วยข้อมูลเชิงลึกในลักษณะรูปภาพ ให้ลองใช้ภาพสต็อกกับฟีเจอร์ carousels สิ่งนี้จะช่วยสร้างยอดคลิกได้ดีกว่ารูปแบบอื่น ๆ 

    LinkedIn
    ภาพโดย Bjorn ObergBjorn Oberg, และ Bjorn Oberg.

    ตามเทรนด์

    ถ้าคุณนึกไม่ออกว่าเทรนด์ต่อไปคุณจะต้องโพสต์อะไร ให้ลองตามเทรนด์โดยอ่านจาก LinkedIn News จากนั้นหาภาพสต็อกที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณมาเป็นตัวเล่าเรื่อง

    ครอบคลุมและเกี่ยวข้อง

    อย่าลืมใส่คำอธิบายที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับภาพที่คุณโพสต์ ให้ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันทั้งภาพและข้อความ เพื่อไม่ให้การสื่อสารผิดประเด็นไปจากที่คุณคิด

    ใส่ความคิดสร้างสรรค์

    เติมเต็มงานกราฟิกให้สะดุดตาด้วยฟอนต์และฟิลเตอร์ หรือองค์ประกอบจากแบรนด์ใด ๆ เพื่อให้ภาพใน LinkedIn มีความสวยงาม สิ่งนี้จะทำให้ทุกคอนเทนต์ที่คุณแชร์หรือโพสต์มีเอกลักษณ์ ส่งเสริมความเป็นมืออาชีพให้โปรไฟล์ มีแต่ Win กับ Win

    ใส่ Call-to-Action

    หลังจากที่ทุกคนเข้ามาอ่านโพสต์คุณแล้ว อย่าลืมบอกกับพวกเขาด้วยว่าต้องทำอะไรต่อหลังจากนั้น หรือเชิญชวนให้ทุกคนแชร์คอนเทนต์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโพสต์ เป็นต้น

    บทความโดย : Best Practices: How to Choose LinkedIn Photos

    เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

    Related Blog

     
    เลือกภาพสต็อกที่สมจริงให้ไม่น่าเบื่อ & พร้อมปรับแต่งให้ภาพเป็นสไตล์คุณเอง

    เลือกภาพสต็อกที่สมจริงให้ไม่น่าเบื่อ & พร้อมปรับแต่งให้ภาพเป็นสไตล์คุณเอง

     
     
    อคติ AI

    4 วิธีจัดการอคติที่มีต่อ AI เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     
     
    ZHQLIaHVXpRgfUg2xUo6

    ปลุกความเป็นอีโมในตัวคุณไปกับ 3 วิธีรวมสุนทรียศาสตร์แห่งอีโมให้เข้ากับการออกแบบ

     
     
    การตลาดรูปแบบดั้งเดิม VS การตลาดรูปแบบดิจิตอล

    การตลาดรูปแบบดั้งเดิม VS การตลาดรูปแบบดิจิตอล : แล้วถ้าเราเลือกได้ทั้งสองอย่างจะเป็นอย่างไร

     

    กรุณากรอกข้อมูลสำหรับการติดต่อ





      Type: