คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับการสร้างสไตล์ให้กับแบรนด์ พร้อมตัวอย่างที่จะมอบแรงบันดาลใจให้กับคุณ เพื่อนำไปใช้งานแบบเต็มประสิทธิภาพ
การสร้างสรรค์สไตล์และวิสัยทัศน์ให้กับแบรนด์ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโต เพื่อรักษาความสม่ำเสมอให้กับแบรนด์ คู่มือนี้จะช่วยให้ทุกคนทำความเข้าใจเรื่องการนำสไตล์มาผสมกับแบรนด์ได้ดีขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานประจำ หัวหน้า ที่ปรึกษา หรือฟรีแลนซ์ก็สามารถใช้ได้ พร้อมตัวอย่างที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณทั้ง 10 รูปแบบ
คู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์คืออะไร?
สิ่งนี้คือเอกสารไฟล์ดิจิทัลหรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีข้อมูลวิธีการใช้องค์ประกอบในการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อใช้สื่อสารให้กับธุรกิจของคุณ ซึ่งมีโลโก้ ไอคอน จานสี และฟอนต์ รวมไปถึงคำแนะนำในการใช้ภาพถ่าย ภาพวาด และการนำไปใช้ตีพิมพ์
คู่มือการสร้างสไตล์ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเอกสารแนวางปฏิบัติสำหรับการสร้างแบรนด์ หรือหนังสือแบรนด์ ซึ่งมีข้อมูลที่เกี่ยวกับค่านิยมขององค์กร นโยบาย คำแถลงการณ์ ไปจนถึงสไตล์การเขียนและการใช้ระดับภาษา
หลังจากที่คุณอ่านคู่มือเหล่านี้เสร็จ คุณจะสามารถสร้างงานออกแบบและสื่อสารกับทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นงานดิจิทัล สิ่งพิมพ์ หรือผลิตภัณฑ์สินค้า โดยไม่หลุดจากความเป็นแบรนด์ มีความสอดคล้องที่ต่อเนื่องกัน
ทำไมคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ถึงสำคัญ
เพราะสิ่งนี้ทำหน้านี่เป็นกฎเกณฑ์ในการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ในสื่อและงานออกแบบทุกอย่าง ซึ่งมีเป้าหมายหลักก็คือส่งเสริมความสม่ำเสมอ (Consistency) แม้คนที่ไม่คุ้นเคยกับตัวแบรนด์ก็สามารถสร้างงานออกแบบที่สอดคล้องกับตัวแบรนด์ได้
หลายองค์กรมักจะเริ่มสร้างคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ ก็ต่อเมื่อมีพนักงานหรือบุคคลที่ต้องติดต่อจำนวนมากแล้วเท่านั้น แต่ความจริงควรสร้างไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องสร้างงานได้ตรงกับเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่สุด ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับองค์กรมีความสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ความสำคัญของคู่มือนี้ก็คือการมอบรายละเอียดการใช้งานเอกลักษณ์ของแบรนด์ ให้กับผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อน ให้เข้าถึงองค์ประกอบทั้งหมดของแบรนด์
ทำไมความสม่ำเสมอถึงสำคัญสำหรับการสร้างแบรนด์
ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างการจดจำต่อตัวแบรนด์และความไว้วางใจ หากมีการใช้โทนสีในสื่อการตลาดและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้
“แบรนด์ที่คงความสม่ำเสมอคือแบรนด์ที่แข็งแกร่ง”
วิธีสร้างอัตลักษณ์ให้ Visual อันแข็งแกร่ง
การสร้างอัตลักษณ์ให้กับ visual ของแบรนด์ต้องมีส่วนประกอบหลัก ส่วนรอง และส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้แต่ถ้ามีก็จะทำให้งานดูดียิ่งขึ้น รวมถึงสิ่งที่ไม่ควรมีพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพขึ้น เช่น ห้ามใช้พื้นหลังมีลวดลาย หรือภาพถ่ายที่มีบุคคลในภาพ เป็นต้น
ถ้าเราสามารถยกตัวอย่างที่ดีและไม่ดีในการสร้างแบรนด์ให้กับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ สิ่งนี้จะเป็นเกณฑ์มาตรฐานไว้ควบคุมคุณภาพของแบรนด์ได้ในอนาคต
วิธีเพิ่มการรับรู้และการจดจำให้แบรนด์
ทำไมถึงต้องจริงจังและกังวลกับคู่มือสร้างสไตล์ให้แบรนด์? นั่นก็เพราะนอกจากจะช่วยให้เพื่อนร่วมงานสร้างสรรค์งานได้สะดวกแล้ว ยังช่วยเพิ่มการจดจำให้กับแบรนด์อีกด้วย
ให้ลองนึกถึงภาพวาดของหมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละตัวจะมีความต่างกันเล็กน้อย แต่ถ้ามองเร็ว ๆ ก็จะพบว่าพวกมันแทบจะเป็นหมีตัวเดียวกัน แต่สมองของมนุษย์สามารถแยกออกได้ว่ามันคือหมีคนละตัว เพียงแต่ใช้เวลาในการจำแนกนานขึ้น
ยิ่งสมองของเราทำงานหนักขึ้น เราก็จะลืมรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งนั้นไปมากขึ้นเท่านั้น ถ้าหมีตัวนี้มีรูปทรงที่สม่ำเสมอ ก็จะยิ่งถูกจดจำได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
วิธีการนี้ไม่ใช่เพียงแค่รูปทรงของภาพเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงสี โลโก้ และข้อความด้วย
ยิ่งองค์ประกอบของแบรนด์มีความสอดคล้องกันมากเท่าไร และยิ่งใช้งานสิ่งเหล่านี้สม่ำเสมอมากเพียงไร การจดจำต่อตัวแบรนด์ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น มีแต่ได้กับได้
อะไรคือองค์ประกอบสำคัญของคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์
1.ระดับภาษา
ระดับการใช้ภาษาคงไม่ใช่สิ่งแรกที่คุณคิดถึง เพราะเมื่อพูดถึงองค์ประกอบการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ สิ่งที่ปรากฎขึ้นมาในหัวของคุณก็คือ โลโก้ ฟอนต์ และสี อย่างไรก็ตามระดับการใช้ภาษาคือสิ่งที่สำคัญที่หลายแบรนด์สุดโด่งดังให้ความสำคัญ
แพลตฟอร์มอีเมลการตลาดชื่อดังอย่าง Mailchimp มีระบบแนะนำการใช้ระดับภาษาให้ทุกคนใช้งาน โดยเน้นที่ความจริงใจ ตรงไปตรงมา และชัดเจน รวมถึงสามารถเปลี่ยนอารมณ์ภาษาที่ใช้เขียนได้โดยง่ายเพียงกดปุ่ม
เพื่อให้เกิดมาตรฐานการใช้ระดับภาษาในบริษัท Mailchim จึงให้ความสำคัญกับพนักงาน โดยการฝึกฝนให้พนักงานทุกคนมีระดับการใช้ภาษาเดียวกัน รวมถึงทัศนคติในการสื่อสารที่เฉพาะเจาะจงไม่อ้อมค้อม เพื่อสร้างความประทับใจอย่างสม่ำเสมอและชัดเจนให้ลูกค้า
Mailchip แนะนำให้พนักงานทุกคนใช้น้ำเสียงที่สดใสและกระตือรือร้น ซึ่งสามารถทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงพลังบวก ซึ่งธุรกิจอื่น ๆ สามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ได้ เช่น ระดับภาษาและน้ำเสียงเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ หรือจะไปทางตลกขบขันสนุกสนานเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน
2.ชุดสี
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในคู่มือ ซึ่งควรมีรหัสสีทั้ง RGB และ HEX สำหรับใช้งานออนไลน์และโซเชียลมีเดีย และค่า CMYK สำหรับการทำสื่อสิงพิมพ์ รวมถึง Pantone สำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
นอกจากนี้บางแบรนด์ยังแบ่งชุดสีออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ซึ่งมีสีหลักและสีรองสลับกันไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายแต่ยังคงอัตลักษณ์ของแบรนด์ไว้ได้ (สำหรับใช้ตามฤดูกาลหรือผลิตภัณฑ์ใหม่)
นอกจากสีคุณจะต้องแสดงวิธีใช้งานบนผลิตภัณฑ์ พื้นหลัง โลโก้ กราฟิก ภาพถ่ายและภาพวาดลงไปในคู่มือด้วย
ข้อผิดพลาดทั่วไปสำหรับคู่มือสร้างสไตล์ให้แบรนด์
เมื่อคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นคุณควรตัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพื่อให้เกิดความชัดเจน
- ขั้นแรก หลีกเลี่ยงการสร้างกฎเกณฑ์ที่กว้างจนหาจุดชัดเจนไม่เจอ รวมถึงข้อมูลและข้อความที่ยาวจนเกินไป ความยาวของคู่มือไม่ควรเกิน 20-30 หน้า หากยาวกว่านั้นอาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนได้
- ขั้นสอง พยายามให้ตัวอย่างงานที่ชัดเจน ปฏิบัติตามได้โดยง่าย ทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง เช่น ขนาดของโลโก้และมุมการจัดวาง ถ้าให้ดีควรมีข้อความกำกับให้ชัดเจน
- ขั้นสาม พยาพยามอย่าสร้างคู่มือที่น่าเบื่อ ให้ใส่ความสนุกสนานเข้าไปในตามสไตล์ของคุณเอง เพราะถ้าคู่มือของคุณน่าเบื่อ ผู้ที่อ่านก็จะสัมผัสได้ถึงความน่าเบื่อตามไปด้วย ผลงานที่ออกมาก็จะไม่เป็นไปตามที่คุณคาดคิด แต่ก็ไม่ควรเข้มงวดจนเกินไปเช่นกัน ควรทำให้คู่มือคือเครื่องมือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ พยายามรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ทุกอย่างใส่ลงไป ทำเป็นสไตล์และแนวทางที่เป็นบุคลิกภาพที่แท้จริงของธุรกิจ
10 ตัวอย่างสไตล์การสร้างแบรนด์
ตอนนี้คุณก็พอทราบแล้วว่าอะไรควรอยู่ในคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ หลังจากนี้จะเป็น 10 ตัวอย่างที่คุณสามารถใช้เป็นเทมเพลตเพื่อทำตามได้
1.Netflix
แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ Netflix มีคู่มือแบบออนไลน์ให้คุณดาวน์โหลดไปใช้ได้ง่าย ๆ รวมถึงเฉดสีแดงของโลโก้กำกับไว้ให้ สามารถนำไปใช้ประกอบโซเชียลคอนเทนต์และการตลาดได้เลยทันที
เนื่องจาก Netflix เป็นผู้ให้บริการอุตสาหกรรมวิดีโอออนไลน์ จึงต้องทำคู่มือสำหรับใช้งานสื่อบนออนไลน์ พร้อมยกตัวอย่างวิธีการใช้งานบนวิดีโอ แอนิเมชั่น และเสียง
2.MIT Museum
เอกลักษณ์แบบใหม่ของแบรนด์ Pentagram ซึ่งเป็นทีมเอเจนซี่นักออกแบบประจำพิพิธภัณฑ์ MIT (Massachusetts Institute of Technology) ทำให้คู่มือของแบรนด์นี้มีความเรียบง่ายสูง มีการทิ้งพื้นที่ว่างไว้เยอะเพื่อให้ภาพมีความเข้าใจง่ายที่สุด แต่ก็ให้ความรู้สึกสนุกสนานได้ด้วย
3.NASA
เอกลักษณ์ของ NASA (National Aeronautics and Space Administration) เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักเยอะที่สุด เพราะองค์ประกอบหลายอย่างยังเหมือนเดิมตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงพื้นฐานการออกแบบที่แข็งแกร่ง ยิ่งเห็นยิ่งคิดถึง
คุณสามารถดูคู่มือของแบรนด์ทั้ง 60 หน้าของ NASA เวอร์ชั่นปี 1976 ที่ถูกออกแบบโดย Danne & Blackburn ได้ที่นี่
ปัจจุบัน NASA ยังคงใช้โลโก้ในปี 1959 กับงานออกแบบ (หรือเรียกอีกอย่างว่า Meatball) ควบคู่กับโลโก้รอง (ที่เป็นเหมือนรูหนอน) ในการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ในคู่มือยังสอนวิธีการใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ไปจนถึงวัสดุในการห่อหุ้มยานพาหนะอย่าง จรวด เป็นต้น
4.The Guardian
ระดับมาสเตอร์คลาสในการสื่อสารวิธีออกแบบงานดิจิทัลอย่าง The Guardian ได้สร้างคู่มือที่สนุกสนาน ให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับสไตล์อินโฟกราฟิกที่ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ของแบรนด์ควรจัดวางอย่างไรคล้ายหนังสือพิมพ์
5.Sonos
ถ้าคุณคือแบรนด์ที่ต้องการความมินิมอลและเรียบง่าย คู่มือจาก Sonos คืออีกตัวเลือกที่ต้องการความมินิมอลแต่หรูหรา
คู่มือมีสไตล์ที่เรียบง่ายโดยได้รับแรงบันดาลใจเรื่องชุดสีมาจากธรรมชาติ ประกอบลายเส้นที่ดูสบายตา และพื้นที่ว่างมากมาย ทำให้สไตล์ของแบรนด์โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง
6.Hinge
แอปพลิเคชั่นหาคู่ที่อยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่เขาก็สามารถหาจุดเด่น 2 จุดเจอ ช่วยให้พวกเขาสร้างกลุ่มสำหรับลูกค้าเฉพาะทางเจอ
- เขาได้รับความช่วยเหลือจากเอเจนซี่ Red Antler เพื่อสร้างจุดยืนของ Hinge โดยแอปถูกออกแบบมาให้ถูกลบทิ้งทันทีหลังจากผู้ใช้งานเจอรักแท้แล้ว ถ้าอกหักหรือเลิกกันไอคอนแอปจะพังทลายลงทุกครั้ง จุดเด่นนี้เลยถูกนำมาโปรโมตโฆษณาแอปพลิเคชั่น กลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์
- Hinge ทำการศึกษาและเจาะลึกแบรนด์ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นคู่มือเอกสาร 114 หน้า เพื่อใช้สื่อสารกับลูกค้าและสิ่งที่องค์กรต้องการเป็นจริง ๆ
7.Fuller
คุณ Sea Kane นักออกแบบชื่อดังได้สร้างคู่มือสุดโดดเด่นและเรียบง่าย ให้แก่เอเจนซี่ Fuller โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากกราฟิกสไตล์ Swiss มีความสะอาดตา พร้อมเลย์เอาต์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน พร้อมด้วยชุดสีม่วง สีดำ และสีขาว ไม่ซับซ้อนและสวยงาม
8.Young V&A
อีกแบรนด์ที่ใช้บริการเอเจนซี่ Pentagram เพื่อสร้างคู่มือที่แปลกตามีสีสัน ให้ความรู้สึกสดชื่นและสนุกสนาน
พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียแอนด์อัลเบิร์ตเปิดพิพิธภัณฑ์ในเครือ ณ เมืองเบธนัลกรีน ลอนดอนในปี 1974 แต่เดิมมีชื่อว่าพิพิธภัณฑ์ V&A Museum of Childhood เพื่อดึงดูดเด็กหรือกลุ่มคนอายุน้อยให้เข้ามาเยอะขึ้น สนุกสนานขึ้น และมีชีวิตชีวา
เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ ๆ กว้างขวาง ทำให้มีป้ายจัดงานสินค้า และการจัดแสดงวิดีโอมากมาย คู่มือของ Pentagram จึงรวมการจำลอง Mock-up มากมาย เช่น เสื้อผ้า การจัดแสดงนิทรรศการ และศิลปะ
9.Whisker
แบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงที่ผสมผสานสไตล์แบบย้อนยุค Whisker คู่มือถูกสร้างสรรค์โดย Shuttledot Studio โดยนำความมีสีสันมาสู่แบรนด์
โดยการใช้ชุดสีไล่ระดับให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญของแต่ละหัวข้อ โชว์ตัวอย่างภาพของแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งาน โปสเตอร์ และแคมเปญการตลาดอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าภาพที่ใช้ การตีพิมพ์ สี และโลโก้ จะต้องถูกนำไปใช้ได้อย่างไรให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน
10.Uber
บริษัทขนส่ง Uber ออกแบบคู่มือสไตล์สุดเรียบหรู ซึ่งจัดทำโดยเอเจนซี่ Wolf Ollins และ Frontify โดยการนำเสนอทุกแง่มุมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ Uber ที่กำลังขับเคลื่อนไปสู่อนาคต
เพื่อให้สอดคล้องกับโลโก้รูปแบบใหม่ของ Uber Move ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากป้ายถนน แม้คู่มือที่ปรับปรุงใหม่นี้จะมีความยาวมาก แต่ก็น่าสนใจในคราวเดียวกัน มีการยกตัวอย่างการใช้ฟอนต์ ชุดสีโมโนโครม การใช้โลโก้บนตัวรถ และ UX/UI ของแอปพลิเคชั่น
นับได้ว่า Uber เป็นหนึ่งในคู่มือระดับมาสเตอร์คลาสตัวจริง
คู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์เป็นเพียงแนวทางในการนำเอกลักษณ์ไปใช้งานจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสร้างสรรค์ผลงานโดยที่ยังคงความเป็นแบรนด์อยู่ในนั้น แม้ว่าความสม่ำเสมอคือสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้สิ่งนั้นน่าเบื่อเสียทีเดียว
เริ่มออกแบบคู่มือการสร้างสไตล์ให้กับแบรนด์ได้แล้ววันนี้ ในไม่ช้าคุณจะเห็นผลลัพธ์ผ่านการกระทำนี้ในไม่ช้า เมื่อลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของคุณได้เป็นอย่างดี
บทความโดย : How to Create a Brand Style Guide (Plus 10 Inspirational Style Guide Examples)
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24