ปก

Business

สร้างสไตล์ให้กับแบรนด์ด้วยคู่มือสุดสร้างสรรค์ (พร้อมตัวอย่างทั้ง 10 รูปแบบ)

คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับการสร้างสไตล์ให้กับแบรนด์ พร้อมตัวอย่างที่จะมอบแรงบันดาลใจให้กับคุณ เพื่อนำไปใช้งานแบบเต็มประสิทธิภาพ

การสร้างสรรค์สไตล์และวิสัยทัศน์ให้กับแบรนด์ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโต เพื่อรักษาความสม่ำเสมอให้กับแบรนด์ คู่มือนี้จะช่วยให้ทุกคนทำความเข้าใจเรื่องการนำสไตล์มาผสมกับแบรนด์ได้ดีขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานประจำ หัวหน้า ที่ปรึกษา หรือฟรีแลนซ์ก็สามารถใช้ได้ พร้อมตัวอย่างที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณทั้ง 10 รูปแบบ 

แบรนด์
ภาพโดย Andrew Sotnikow

คู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์คืออะไร?

สิ่งนี้คือเอกสารไฟล์ดิจิทัลหรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีข้อมูลวิธีการใช้องค์ประกอบในการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อใช้สื่อสารให้กับธุรกิจของคุณ ซึ่งมีโลโก้ ไอคอน จานสี และฟอนต์ รวมไปถึงคำแนะนำในการใช้ภาพถ่าย ภาพวาด และการนำไปใช้ตีพิมพ์

คู่มือการสร้างสไตล์ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเอกสารแนวางปฏิบัติสำหรับการสร้างแบรนด์ หรือหนังสือแบรนด์ ซึ่งมีข้อมูลที่เกี่ยวกับค่านิยมขององค์กร นโยบาย คำแถลงการณ์ ไปจนถึงสไตล์การเขียนและการใช้ระดับภาษา

หลังจากที่คุณอ่านคู่มือเหล่านี้เสร็จ คุณจะสามารถสร้างงานออกแบบและสื่อสารกับทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นงานดิจิทัล สิ่งพิมพ์ หรือผลิตภัณฑ์สินค้า โดยไม่หลุดจากความเป็นแบรนด์ มีความสอดคล้องที่ต่อเนื่องกัน

แบรนด์

ทำไมคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ถึงสำคัญ

เพราะสิ่งนี้ทำหน้านี่เป็นกฎเกณฑ์ในการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ในสื่อและงานออกแบบทุกอย่าง ซึ่งมีเป้าหมายหลักก็คือส่งเสริมความสม่ำเสมอ (Consistency) แม้คนที่ไม่คุ้นเคยกับตัวแบรนด์ก็สามารถสร้างงานออกแบบที่สอดคล้องกับตัวแบรนด์ได้ 

หลายองค์กรมักจะเริ่มสร้างคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ ก็ต่อเมื่อมีพนักงานหรือบุคคลที่ต้องติดต่อจำนวนมากแล้วเท่านั้น แต่ความจริงควรสร้างไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องสร้างงานได้ตรงกับเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่สุด ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับองค์กรมีความสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ความสำคัญของคู่มือนี้ก็คือการมอบรายละเอียดการใช้งานเอกลักษณ์ของแบรนด์ ให้กับผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อน ให้เข้าถึงองค์ประกอบทั้งหมดของแบรนด์

แบรนด์ 1 1

ทำไมความสม่ำเสมอถึงสำคัญสำหรับการสร้างแบรนด์

ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างการจดจำต่อตัวแบรนด์และความไว้วางใจ หากมีการใช้โทนสีในสื่อการตลาดและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้

“แบรนด์ที่คงความสม่ำเสมอคือแบรนด์ที่แข็งแกร่ง”

วิธีสร้างอัตลักษณ์ให้ Visual อันแข็งแกร่ง

การสร้างอัตลักษณ์ให้กับ visual ของแบรนด์ต้องมีส่วนประกอบหลัก ส่วนรอง และส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้แต่ถ้ามีก็จะทำให้งานดูดียิ่งขึ้น รวมถึงสิ่งที่ไม่ควรมีพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพขึ้น เช่น ห้ามใช้พื้นหลังมีลวดลาย หรือภาพถ่ายที่มีบุคคลในภาพ เป็นต้น

ถ้าเราสามารถยกตัวอย่างที่ดีและไม่ดีในการสร้างแบรนด์ให้กับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ สิ่งนี้จะเป็นเกณฑ์มาตรฐานไว้ควบคุมคุณภาพของแบรนด์ได้ในอนาคต

วิธีเพิ่มการรับรู้และการจดจำให้แบรนด์

ทำไมถึงต้องจริงจังและกังวลกับคู่มือสร้างสไตล์ให้แบรนด์? นั่นก็เพราะนอกจากจะช่วยให้เพื่อนร่วมงานสร้างสรรค์งานได้สะดวกแล้ว ยังช่วยเพิ่มการจดจำให้กับแบรนด์อีกด้วย

ให้ลองนึกถึงภาพวาดของหมีจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละตัวจะมีความต่างกันเล็กน้อย แต่ถ้ามองเร็ว ๆ ก็จะพบว่าพวกมันแทบจะเป็นหมีตัวเดียวกัน แต่สมองของมนุษย์สามารถแยกออกได้ว่ามันคือหมีคนละตัว เพียงแต่ใช้เวลาในการจำแนกนานขึ้น

ยิ่งสมองของเราทำงานหนักขึ้น เราก็จะลืมรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งนั้นไปมากขึ้นเท่านั้น ถ้าหมีตัวนี้มีรูปทรงที่สม่ำเสมอ ก็จะยิ่งถูกจดจำได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

วิธีการนี้ไม่ใช่เพียงแค่รูปทรงของภาพเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงสี โลโก้ และข้อความด้วย

ยิ่งองค์ประกอบของแบรนด์มีความสอดคล้องกันมากเท่าไร และยิ่งใช้งานสิ่งเหล่านี้สม่ำเสมอมากเพียงไร การจดจำต่อตัวแบรนด์ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น มีแต่ได้กับได้

แบรนด์

อะไรคือองค์ประกอบสำคัญของคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์

1.ระดับภาษา

ระดับการใช้ภาษาคงไม่ใช่สิ่งแรกที่คุณคิดถึง เพราะเมื่อพูดถึงองค์ประกอบการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ สิ่งที่ปรากฎขึ้นมาในหัวของคุณก็คือ โลโก้ ฟอนต์ และสี อย่างไรก็ตามระดับการใช้ภาษาคือสิ่งที่สำคัญที่หลายแบรนด์สุดโด่งดังให้ความสำคัญ

แพลตฟอร์มอีเมลการตลาดชื่อดังอย่าง Mailchimp มีระบบแนะนำการใช้ระดับภาษาให้ทุกคนใช้งาน โดยเน้นที่ความจริงใจ ตรงไปตรงมา และชัดเจน รวมถึงสามารถเปลี่ยนอารมณ์ภาษาที่ใช้เขียนได้โดยง่ายเพียงกดปุ่ม

เพื่อให้เกิดมาตรฐานการใช้ระดับภาษาในบริษัท Mailchim จึงให้ความสำคัญกับพนักงาน โดยการฝึกฝนให้พนักงานทุกคนมีระดับการใช้ภาษาเดียวกัน รวมถึงทัศนคติในการสื่อสารที่เฉพาะเจาะจงไม่อ้อมค้อม เพื่อสร้างความประทับใจอย่างสม่ำเสมอและชัดเจนให้ลูกค้า

Mailchip แนะนำให้พนักงานทุกคนใช้น้ำเสียงที่สดใสและกระตือรือร้น  ซึ่งสามารถทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงพลังบวก ซึ่งธุรกิจอื่น ๆ สามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ได้ เช่น ระดับภาษาและน้ำเสียงเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ หรือจะไปทางตลกขบขันสนุกสนานเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน

แบรนด์ 1 1 1

2.ชุดสี

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในคู่มือ ซึ่งควรมีรหัสสีทั้ง RGB และ HEX สำหรับใช้งานออนไลน์และโซเชียลมีเดีย และค่า CMYK สำหรับการทำสื่อสิงพิมพ์ รวมถึง Pantone สำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้บางแบรนด์ยังแบ่งชุดสีออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ซึ่งมีสีหลักและสีรองสลับกันไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายแต่ยังคงอัตลักษณ์ของแบรนด์ไว้ได้ (สำหรับใช้ตามฤดูกาลหรือผลิตภัณฑ์ใหม่)

นอกจากสีคุณจะต้องแสดงวิธีใช้งานบนผลิตภัณฑ์ พื้นหลัง โลโก้ กราฟิก ภาพถ่ายและภาพวาดลงไปในคู่มือด้วย

แบรนด์ 1 1 2

ข้อผิดพลาดทั่วไปสำหรับคู่มือสร้างสไตล์ให้แบรนด์

เมื่อคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นคุณควรตัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพื่อให้เกิดความชัดเจน

  • ขั้นแรก หลีกเลี่ยงการสร้างกฎเกณฑ์ที่กว้างจนหาจุดชัดเจนไม่เจอ รวมถึงข้อมูลและข้อความที่ยาวจนเกินไป ความยาวของคู่มือไม่ควรเกิน 20-30 หน้า หากยาวกว่านั้นอาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนได้
  • ขั้นสอง พยายามให้ตัวอย่างงานที่ชัดเจน ปฏิบัติตามได้โดยง่าย ทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง เช่น ขนาดของโลโก้และมุมการจัดวาง ถ้าให้ดีควรมีข้อความกำกับให้ชัดเจน
  • ขั้นสาม พยาพยามอย่าสร้างคู่มือที่น่าเบื่อ ให้ใส่ความสนุกสนานเข้าไปในตามสไตล์ของคุณเอง เพราะถ้าคู่มือของคุณน่าเบื่อ ผู้ที่อ่านก็จะสัมผัสได้ถึงความน่าเบื่อตามไปด้วย ผลงานที่ออกมาก็จะไม่เป็นไปตามที่คุณคาดคิด แต่ก็ไม่ควรเข้มงวดจนเกินไปเช่นกัน ควรทำให้คู่มือคือเครื่องมือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ พยายามรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ทุกอย่างใส่ลงไป ทำเป็นสไตล์และแนวทางที่เป็นบุคลิกภาพที่แท้จริงของธุรกิจ
แบรนด์ 1 1 3

10 ตัวอย่างสไตล์การสร้างแบรนด์

ตอนนี้คุณก็พอทราบแล้วว่าอะไรควรอยู่ในคู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์ หลังจากนี้จะเป็น 10 ตัวอย่างที่คุณสามารถใช้เป็นเทมเพลตเพื่อทำตามได้

1.Netflix

แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ Netflix มีคู่มือแบบออนไลน์ให้คุณดาวน์โหลดไปใช้ได้ง่าย ๆ รวมถึงเฉดสีแดงของโลโก้กำกับไว้ให้ สามารถนำไปใช้ประกอบโซเชียลคอนเทนต์และการตลาดได้เลยทันที

เนื่องจาก Netflix เป็นผู้ให้บริการอุตสาหกรรมวิดีโอออนไลน์ จึงต้องทำคู่มือสำหรับใช้งานสื่อบนออนไลน์ พร้อมยกตัวอย่างวิธีการใช้งานบนวิดีโอ แอนิเมชั่น และเสียง

แบรนด์ 1 1 4
แบรนด์ 1 1 5

2.MIT Museum

เอกลักษณ์แบบใหม่ของแบรนด์ Pentagram ซึ่งเป็นทีมเอเจนซี่นักออกแบบประจำพิพิธภัณฑ์ MIT (Massachusetts Institute of Technology) ทำให้คู่มือของแบรนด์นี้มีความเรียบง่ายสูง มีการทิ้งพื้นที่ว่างไว้เยอะเพื่อให้ภาพมีความเข้าใจง่ายที่สุด แต่ก็ให้ความรู้สึกสนุกสนานได้ด้วย

แบรนด์ 1 2

3.NASA

เอกลักษณ์ของ NASA (National Aeronautics and Space Administration) เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักเยอะที่สุด เพราะองค์ประกอบหลายอย่างยังเหมือนเดิมตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงพื้นฐานการออกแบบที่แข็งแกร่ง ยิ่งเห็นยิ่งคิดถึง

คุณสามารถดูคู่มือของแบรนด์ทั้ง 60 หน้าของ NASA เวอร์ชั่นปี 1976 ที่ถูกออกแบบโดย Danne & Blackburn ได้ที่นี่ 

ปัจจุบัน NASA ยังคงใช้โลโก้ในปี 1959 กับงานออกแบบ (หรือเรียกอีกอย่างว่า Meatball) ควบคู่กับโลโก้รอง (ที่เป็นเหมือนรูหนอน) ในการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ในคู่มือยังสอนวิธีการใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ไปจนถึงวัสดุในการห่อหุ้มยานพาหนะอย่าง จรวด เป็นต้น

แบรนด์ 2
แบรนด์ 3
แบรนด์ 4

4.The Guardian

ระดับมาสเตอร์คลาสในการสื่อสารวิธีออกแบบงานดิจิทัลอย่าง The Guardian ได้สร้างคู่มือที่สนุกสนาน ให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับสไตล์อินโฟกราฟิกที่ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ของแบรนด์ควรจัดวางอย่างไรคล้ายหนังสือพิมพ์

แบรนด์ 5
แบรนด์ 6
แบรนด์ 7

5.Sonos

ถ้าคุณคือแบรนด์ที่ต้องการความมินิมอลและเรียบง่าย คู่มือจาก Sonos คืออีกตัวเลือกที่ต้องการความมินิมอลแต่หรูหรา

คู่มือมีสไตล์ที่เรียบง่ายโดยได้รับแรงบันดาลใจเรื่องชุดสีมาจากธรรมชาติ ประกอบลายเส้นที่ดูสบายตา และพื้นที่ว่างมากมาย ทำให้สไตล์ของแบรนด์โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง

แบรนด์ 8
แบรนด์ 9
แบรนด์ 10
แบรนด์ 11

6.Hinge

แอปพลิเคชั่นหาคู่ที่อยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่เขาก็สามารถหาจุดเด่น 2 จุดเจอ ช่วยให้พวกเขาสร้างกลุ่มสำหรับลูกค้าเฉพาะทางเจอ

  • เขาได้รับความช่วยเหลือจากเอเจนซี่ Red Antler เพื่อสร้างจุดยืนของ Hinge โดยแอปถูกออกแบบมาให้ถูกลบทิ้งทันทีหลังจากผู้ใช้งานเจอรักแท้แล้ว ถ้าอกหักหรือเลิกกันไอคอนแอปจะพังทลายลงทุกครั้ง จุดเด่นนี้เลยถูกนำมาโปรโมตโฆษณาแอปพลิเคชั่น กลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์
  • Hinge ทำการศึกษาและเจาะลึกแบรนด์ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นคู่มือเอกสาร 114 หน้า เพื่อใช้สื่อสารกับลูกค้าและสิ่งที่องค์กรต้องการเป็นจริง ๆ 
แบรนด์ 12
แบรนด์ 13
แบรนด์ 14

7.Fuller

คุณ Sea Kane นักออกแบบชื่อดังได้สร้างคู่มือสุดโดดเด่นและเรียบง่าย ให้แก่เอเจนซี่ Fuller โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากกราฟิกสไตล์ Swiss มีความสะอาดตา พร้อมเลย์เอาต์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน พร้อมด้วยชุดสีม่วง สีดำ และสีขาว ไม่ซับซ้อนและสวยงาม

แบรนด์ 15
แบรนด์ 16
แบรนด์ 17

8.Young V&A

อีกแบรนด์ที่ใช้บริการเอเจนซี่ Pentagram เพื่อสร้างคู่มือที่แปลกตามีสีสัน ให้ความรู้สึกสดชื่นและสนุกสนาน 

พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียแอนด์อัลเบิร์ตเปิดพิพิธภัณฑ์ในเครือ ณ เมืองเบธนัลกรีน ลอนดอนในปี 1974 แต่เดิมมีชื่อว่าพิพิธภัณฑ์ V&A Museum of Childhood เพื่อดึงดูดเด็กหรือกลุ่มคนอายุน้อยให้เข้ามาเยอะขึ้น สนุกสนานขึ้น และมีชีวิตชีวา

เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ ๆ กว้างขวาง ทำให้มีป้ายจัดงานสินค้า และการจัดแสดงวิดีโอมากมาย คู่มือของ Pentagram จึงรวมการจำลอง Mock-up มากมาย เช่น เสื้อผ้า การจัดแสดงนิทรรศการ และศิลปะ

แบรนด์ 18
แบรนด์ 19
แบรนด์ 20

9.Whisker

แบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงที่ผสมผสานสไตล์แบบย้อนยุค Whisker คู่มือถูกสร้างสรรค์โดย Shuttledot Studio โดยนำความมีสีสันมาสู่แบรนด์

โดยการใช้ชุดสีไล่ระดับให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญของแต่ละหัวข้อ โชว์ตัวอย่างภาพของแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งาน โปสเตอร์ และแคมเปญการตลาดอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าภาพที่ใช้ การตีพิมพ์ สี และโลโก้ จะต้องถูกนำไปใช้ได้อย่างไรให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน

แบรนด์ a 1
แบรนด์ b 2
แบรนด์ c 2

10.Uber

บริษัทขนส่ง Uber ออกแบบคู่มือสไตล์สุดเรียบหรู ซึ่งจัดทำโดยเอเจนซี่ Wolf Ollins และ Frontify โดยการนำเสนอทุกแง่มุมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ Uber ที่กำลังขับเคลื่อนไปสู่อนาคต

เพื่อให้สอดคล้องกับโลโก้รูปแบบใหม่ของ Uber Move ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากป้ายถนน แม้คู่มือที่ปรับปรุงใหม่นี้จะมีความยาวมาก แต่ก็น่าสนใจในคราวเดียวกัน มีการยกตัวอย่างการใช้ฟอนต์ ชุดสีโมโนโครม การใช้โลโก้บนตัวรถ และ UX/UI ของแอปพลิเคชั่น

นับได้ว่า Uber เป็นหนึ่งในคู่มือระดับมาสเตอร์คลาสตัวจริง

แบรนด์ d
แบรนด์ e
แบรนด์ f

คู่มือการสร้างสไตล์ให้แบรนด์เป็นเพียงแนวทางในการนำเอกลักษณ์ไปใช้งานจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสร้างสรรค์ผลงานโดยที่ยังคงความเป็นแบรนด์อยู่ในนั้น แม้ว่าความสม่ำเสมอคือสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้สิ่งนั้นน่าเบื่อเสียทีเดียว

เริ่มออกแบบคู่มือการสร้างสไตล์ให้กับแบรนด์ได้แล้ววันนี้ ในไม่ช้าคุณจะเห็นผลลัพธ์ผ่านการกระทำนี้ในไม่ช้า เมื่อลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของคุณได้เป็นอย่างดี

บทความโดย : How to Create a Brand Style Guide (Plus 10 Inspirational Style Guide Examples)

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Related Blog

 
ปก

การออกแบบแบรนด์สไตล์ Sustainable: 10 ชุดสีเพื่อหยุดการฟอกเขียว (Greenwashing)

 
 
ปกโลโก้

9 ประเภทการออกแบบโลโก้ที่นักออกแบบควรทราบ สำหรับการสร้างแบรนด์

 
 
Sustainability 2

กลยุทธ์สุดยอด! สร้างแบรนด์ด้วย Sustainability ด้วยการใช้ข้อมูลอ้างอิง

 
 
1

ห้ามพลาด สร้างแบรนด์รูปแบบใหม่ ด้วยเทรนด์ภาพสต็อกในปี 2024

 

Tell us about yourself





    Type: